จารุวณฺโณภิกฺขุ

จารุวณฺโณภิกฺขุ
สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

ประมวลความรู้ธรรมศึกษาชั้นโท

สำนักเรียนศาสนศึกษาวัดท่าสว่าง
บ้านหนองผือ โนนค้อ  ตำบลหนองผือ 
อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด 
(พระมหาหนูพร    จารุวณฺโณ)
.. เอก ป.. ๓ ปริญญาตรี  ศศ..
เลขานุการเจ้าคณะอำเภอเมืองสรวง
ครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม
จัดพิมพ์/ตรวจทาน
ประมวลความรู้แผนกธรรมศึกษาชั้น  โท
สำนักเรียนวัดท่าสว่าง  บ้านหนองผือ – โนนค้อ
ตำบลหนองผือ  อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด

โดย  พระมหาหนูพร  จารุวณฺโณ น.. เอก  ..   ปริญญาตรี (ศศ..)
เลขานุการเจ้าคณะอำเภอเมืองสรวง
สาระสำคัญที่ควรรู้
.  คำว่า พุทธะแปลว่า  ผู้รู้  มี   ประเภท  คือ สัมมาพุทธะ,ปัจเจกพุทธะ,และสาวกพุทธะ
.  อนุพุทธบุคคล  หมายถึง  พระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ได้ตรัสรู้ตาม
.  อนุพุทธ มีทั้งหมด  ๘๐  องค์  ที่ได้รับเอตทัคคะ  คือได้รับเลิศ  มี  ๔๑  องค์
.  วัดแห่งแรกในพุทธศาสนาชื่อว่า  วัดเวฬุวัน  (ป่าไผ่ ที่พระเจ้าพิมพิสาร  ผู้สร้างถวาย)
.  วัดบุพพาราม  ที่นางวิสาขามหาอุบาสิกา  เป็นผู้สร้างถวาย
.  พระสงฆ์องค์แรกชื่อว่า  พระอัญญาโกณทัญญะ  ผู้เลิศทางรัตตัญญู  คือ  รู้ราตรีนาน
.  ภิกษุณีองค์แรกชื่อว่า  พระนางมหาปชาบดีโคตมี  โดยที่พระอานนท์ทูลขอบวชให้
.  ผู้ถวายหญ้าคา  แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  คือ  โสตถิยพราหมณ์
.  ผู้ถวายข้าวมธุปายาส  แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  คือ  นางสุชาดา  (จำนวน  ๔๙  ก้อน)
๑๐.  ผู้ถวายข้าวสัตตุก้อน -  สัตตุผง  คือ  พาณิชย์  สองพี่น้อง  ชื่อว่า  ตปุสสะ  และ  ภัลลิกะ
๑๑.  อุบาสกผู้ถึงสรณะ  สอง  (คนแรกชื่อว่า  ตปุสสะ  และ  ภัลลิกะ)
๑๒.  อุบาสกผู้ถึงสรณะสาม  (คนแรก  คือ  บิดาของพระยสะกุลบุตร)
๑๓.  อุบาสิกาผู้ถึงสรณะสอง  (คนแรก  คือ  นางสุชาดา  ผู้ถวายข้าวมธุปายาส)
๑๔.  อุบาสิกาผู้ถึงสรณะสาม  (คนแรก  คือ  มารดาและภรรยาเก่าของพระยสะกุลบุตร)
๑๕.  พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมครั้งแรกชื่อว่า  ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
๑๖.  พระปัญจวัคคีย์  ได้ฟังธัมมจักกัปปวัตนสูตร  ได้ดวงตาเห็นธรรม  คือ ได้บรรลุโสดาบัน
๑๗.  ปัญจวัคคีย์พอได้ฟังธรรมที่ชื่อว่า  อนัตตลักขณสูตร จิตหลุดพ้น จึงได้บรรลุพระอรหันต์
๑๘.  พระอัญญาโกณทัญญะ  ได้ปุณณมันตานีบุตร  ผู้เป็นหลานของตนเป็นลูกศิษย์
๑๙.  พระอัสสชิ    ในปัญจวัคคีย์   ได้  อุปติสสะมาณพ  คือ  พระสารีบุตร  เป็นศิษย์
๒๐.  ใครก็ตามที่บวชกับพระพุทธเจ้า  เรียกว่า  เอหิภิกขุอุปสัมปทา  (พระอัญญาโกณฑัญญะ)
๒๑.  บวชกับพระสาวกของพระพุทธเจ้า  เรียกว่า  ติสรณคมนูอุปสัมปทา” (ปุณณมันตานีบุตร)
๒๒.  บวชกับพระสงฆ์  เรียกว่า  ญัตติจตุตถกรรมวาจา  (คือ พระราธะ  ผู้ได้บวชเป็นรูปแรก)
๒๓.  การบวชของ พระยสะ กับ  พระอัญญาโกณทัญญะ  ต่างกัน  คือ  ของยสะไม่มีคำว่ากระทำเพื่อสุดทุกข์โดยชอบเถิด  เพราะท่านได้บรรลุอรหันต์ก่อนจึงทูลขออุปสมบท
๒๔.  พระอนุพุทธะ  องค์แรกชื่อว่า  พระอัญญาโกทัญญะ องค์สุดท้าย คือ พระสุภัททะปริพาชก
๒๕.  พระอัญญาโกทัญญะ  รู้เห็นว่า  สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา
๒๖.  พระสารีบุตร  รู้เห็นว่า  ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ  ธรรมเหล่าย่อมดับเพราะเหตุ
๒๗.  พระสารีบุตร  เลิศทางมีปัญญามาก  ท่านเปรียบเหมือน  มารดาผู้ให้กำเนิดบุตร  และเป็นธรรมเสนาบดี  เป็นอัครสาวกเบื้อง  ขวา  และ เป็นผู้มีความ  กตัญญูกตเวที  ต่อ ราธะพราหมณ์
๒๘.  พระพุทธเจ้าทรงตรัส ธัมมจักกัปปวัตนสูตร  ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน   แก่ปัญจวัคคีย์
๒๙.  พระพุทธเจ้าทรงตรัส อนุปุพพิกถาแก่พระยสะกุลบุตร และบิดา ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
๓๐.  พระพุทธเจ้าทรงตรัสอาทิตตปริยายสูตร  แก่ชฎิล สามพี่น้อง คือ อุรุเวลกัสสปะ,นทีกัสสปะ และ  คยากัสสปะ  ที่ตำบลคยาสีสะ  แคว้นมคธ ฯ พร้อมด้วยบริวาร  ๑๐๐๐  คน =(๑๐๐๓  คน)
๓๑.  พระอุรุเวลกัสสปะ  เลิศทางมีบริวารมากมีบริวาร  ๕๐๐  คน  ด้วยการสงเคราะห์บริษัท
๓๒.  อุปติสสะ   และ  โกลิตะ  ออกแสวงหาโมกขธรรมในสำนักของสัญชัยเวลัฏฐบุตร
๓๓.  และทั้งสองได้ทำกติกากันว่า ใครได้ดวงตาเห็นธรรมก่อนให้บอกกัน  คือ สารีบุตรเห็นก่อน
๓๔.  พระอานนท์ ได้ฟังธรรมจาก พระปุณณมันตานีบุตรได้บรรลุดวงตาเห็นธรรม คือ โสดาบัน
๓๕.  บิดาของพระสารีบุตร  ชื่อว่า  วังคันตพราหมณ์  มารดาชื่อว่า นางสารีพราหมณี
๓๖.  พระโกณทัญญะ  เดิมอยู่บ้านชื่อว่า  โทณวัตถุ  ส่วน  พระสารีบุตร  อยู่บ้านชื่อว่า  นาลันทา
๓๗.  พระสารีบุตร เปรียบเหมือน มารดาผู้ให้กำเนิดบุตร  ธรรมเสนาบดี มีความกตัญญูกตเวทีพระโมคคัลลานะ  อัครสาวกเบื้อง ซ้าย  มีฤทธิ์มาก  และ  เปรียบเหมือน  แม่นมผู้เลี้ยงทารก
๓๘.  เจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้     วันขนานพระนาม    วันมารดาทิวงคต  ๑๖  ปี  อภิเษกกับพระนางพิมพ  หรือ  ยโสธรา  และขุดสระ    สระ 
๓๙  ออกบวชเมื่ออายุ  ๒๙  ปี  ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา  อยู่    ปี  ทรงได้ตรัสรู้เมื่ออายุ  ๓๕  ปี  ทรงโปรดพุทธบริษัท  อยู่  ๔๕  ปี  และทรงเสด็จปรินิพพาน  เมื่อพระชนมายุได้  ๘๐  ปี 
๔๐.  พระสารีบุตร  ได้ปรินิพพานที่บ้านเกิดของตน  เพื่อหวังไปโปรดพระมารดาของตน  แล้วเกิดเป็นโรคปักขันทิกาพาธ  คือโรคท้องร่วง  จึงนิพพานที่บ้านเกิดของตน
๔๑.  พระโมคคัลลานะ  ปรินิพพานที่  บ้านกาฬศิลา  แขวงมคธ  เพราะถูกโจรประทุษร้าย
๔๒.  พระมหากัสสปะ  อยู่บ้านชื่อว่ามหาติฏฐะ  เมืองมคธ ได้พบพระพุทธเจ้าที่ต้นไทร
๔๓.  พระมหากัสสปะ  เลิศทางธุดงค์    ข้อ  คือ  ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร,เที่ยวบิณฑบาตร
เป็นวัตร,อยู่ป่าเป็นวัตรและท่านเป็นประธานในการทำสังคายนา ครั้งแรก มีพระอรหันต์  ๕๐๐  องค์
๔๔.  พระสารีบุตร  บวชได้  ๑๕  วันจึงได้บรรลุอรหันต์  พระโมคคัลลานะ  บวชได้    วัน
๔๕.  พระยสะ  ออกบวชเพราะมีความเบื่อหน่าย ที่เห็นบริวารเปรียบเสมือนซากศพในป่าช้า
๔๖.  อนุปุพพิกถา  หมายถึง  การแสดงธรรมไปตามลำดับไม่ตัดลัดตอน  มี    ประการ
๔๗.  ที่นี่วุ่นวายหนอ  ที่นี่ขัดข้องหนอ  เป็นคำอุทานของ  พระยสะกุลบุตร
๔๘.  ที่นี่ไม่วุ่นวายหนอ  ที่ไม่ขัดข้องหนอ  เป็นคำอุทานของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
๔๙.  เพื่อนของพระยสะมี  ๕๔  คน  ที่ระบุชื่อมี    คน  คือ  วิมล, สุพาหุ, ปุณณชิ, ควัมปติ
๕๐.  พวกชฎิลสามพี่น้อง  คือ  อุรุเวลกัสสปะ/๕๐๐  นที/๓๐๐  คยา/๒๐๐  ถือการบูชาไฟมาก่อน
๕๑.  สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน  สิ่งทั้งปวงหมายเอา  ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ร้อนเพราะไฟภายใน  คือ  ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ 
๕๒.  พระสารีบุตรมีน้องชาย    ชื่อว่า  จุนทะ ,อุปเสนะ ,และเรวตะ และมีน้องสาว    คน     คือ  จาลา ,อุปจาลา และ สีสุปจาลา
๕๓.  อุปติสสะ และ โกลิตะ ได้ทำกติกากันว่าใครได้บรรลุธรรมก่อนให้บอกกัน  พระสารีบุตรได้ดวงตาเห็นธรรมก่อนแล้วนำไปบอกแก่  โกลิตะ จึงได้ดวงตาเห็นธรรม แล้วทั้ง  สอง  ได้ไปเฝ้าพระพุทะเจ้าที่  วัดเวฬุวัน  ป่าไผ่
๕๔.  คัมภีร์ศาสนาพรามหณ์  ชื่อว่า ไตรเพท  คัมภีร์  ศาสนาพุทธ  คือ  พระไตรปิฎก  คือ  พระสูตร  พระวินัย  และ  พระอภิธรรม  คำว่า ไตรปิฎก  หมายถึงกระจาดหรือตระกร้า    ใบ
๕๕.  กษัตริย์  ออกบวช  คือ  พระภัททิยะ  หรือพระมหากัปปินะ
๕๖.  เศรษฐี  ออกบวช  คือ  พระยสะกุลบุตร
๕๗.  ข้าราชการออกบวช  คือ  พระมหากัจจายนะ
๕๘.  นักบวชออกบวช  คือ  พระโมฆราช        ผู้บวชเพราะศรัทธา  คือ  พระรัฐบาล
๕๙.  ผู้บวชเพราะเบื่อหน่าย  คือ พระยสะ และ พระมหากัสสปะ
๖๐.  ผู้บวชเพราะเพื่อน  คือ  พระภัททิยราช  และ เพื่อนของพระยสะกุลบุตร  ๕๔  คน
๖๑.  ผู้บวชเพราะจำใจ  คือ  พระนันทะ  ผู้บวชเพราะหมดที่พึ่ง  คือ  พระราธะพราหมณ์
๖๒.  ผู้บวชเพราะพี่ชาย  คือ  พระจุลปัณถก และ  นทีกัสสปะ  และ คยากัสสปะ
๖๓.  ผู้บวชเพราะหลง  คือ  พระวักกลิเถระ  เพราะหลงในรูปกายของพระพุทธเจ้าจึงออกบวช
๖๔.  ผู้บวชเพราะต้องการของวิเศษ คือ  การเรียนมนต์  คือ วิษณุมนต์  ได้แก่ พระวังคีสะเถระ
๖๕.  พระมหากัสสปะ  บวชด้วยการรับโอวาท    ข้อ  เป็นประธานในการทำสังคายนาครั้งแรก
๖๖.  พระอานนท์บรรลุอรหันต์  และ  ได้ปรินิพพานแปลกว่ารูปอื่น  และท่านเป็นพุทธอุปัฏฐาก
๖๗.  พระราหุล  เลิศทาง  เป็นผู้ใคร่ในการศึกษา  โดยตั้งปรารถนาไว้ว่าขอให้ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังธรรมในสำนักของพระพุทธเจ้าและอาจารย์มากเท่าเมล็ดทรายในกำมือของข้าพพระพุทธเจ้า
๖๘. ราหุล  แปลว่า  บ่วง/ห่วง  สังคายนา  หมายถึงการ ร้อยกรองพระธรรมวินัยให้เป็นหมวดหมู่
๖๙.  วันวิสาขบูชา  ตรงกับวัน  ขึ้น  ๑๕  ค่ำ เดือน    หรือ  ปีใดเดือน    สองหน เป็น เดือน ๗
๗๐.  เราจักไม่ชูงวง(ไม่ถือตัว) เมื่อเข้าไปสู่ตระกูลพระพุทธเจ้าทรงตรัสแก่  พระมหาโมคัลลานะ
๗๑.  พระธรรมราชา  หมายถึง  พระพุทะเจ้า  ส่วน  ธรรมเสนาบดี หมายถึง  พระสารีบุตรเถระ
๗๒.  พระโมคัลลานะเถระ  ได้บำเพ็ญเพียรจนได้บรรลุอรหันต์ที่  บ้านกัลลวาลมุตตคาม
๗๓.  ผู้คิดริเริ่มในการทำสังคายนา ครั้งแรก   คือ  พระมหากัสสปะเถระ/และเป็นประธาน
๗๔.  พระมหากัจจายนะ  เลิศในทางอธิบายเนื้อความย่อให้พิสดาร
๗๕.  โลกคือหมู่สัตว์อันอะไรปิดบังไว้จึงหลงติดอยู่ในที่มืด  เป็นปัญหาของ  อชิตมาณพ
๗๖.  ศิษย์ของพราหมณ์พาวรี  มีทั้งหมด  ๑๖  คน  โดยมี  อชิตมาณพ  เป็นหัวหน้า
๗๗.  พระราธะพรามหณ์  บวชด้วยวิธี ญัตติจตุตถกรรมวาจา  โดยที่ พระสารีบุตรบวชให้
๗๘.  พระราธะพราหมณ์   เป็นศิษย์ของ  พระสารีบุตร และท่านเป็นผู้  ว่าง่ายสอนง่าย
๗๙.  พระสาวกที่เป็นผู้วิสัชนา  วินัย  คือเป็นผู้ตอบ  พระวินัย  คือ  พระอุบาลีเถระ
๘๐.  พระสาวกผู้วิสัชนา  พระสูตร และ พระอภิธรรม  คือ พระอานนท์เถระ
๘๑.  พระสาวกผู้ได้เปล่งอุทานว่า สุขหนอ ๆ คือ  พระภัททิยะศักยราช
๘๒.  ผู้ได้บรรลุอรหันต์ในระหว่างอริยาบถทั้ง    คือ  ยืน,เดิน,นั่ง,นอน คือ  พระอานนท์
๘๓.  เธอจะเฝ้าดูกายที่เปื่อยเน่าไปทำไม  พระพุทธเจ้าทรงตรัสแก่  พระวักกลิเถระ
๘๔.  ผู้เก่งในทางเคาะหัวกระโหลกศรีษะคนที่ตายแล้วรู้ว่าไปเกิดที่ใด  คือ  พระวังคีสะเถระ
๘๕.  ผู้มีความเพียรเดินจงกรมอย่างแรงกล้าคือเดินจงกรมจนเท้าแตก  คือพระโสณโกฬิวิสะเถระ
๘๖.  พระรัฐบาลแสดงธัมมุเทศ    ประการ  แก่  พระเจ้าโกรัพยะ
๘๗.  พระสาวกที่เป็นต้นบัญญัติ  คือ  ไม่ให้ภิกษุดื่มสุราเมรัย  คือ  พระสาคตะเถระ
๘๘.  พระสาวกที่ได้รับยกย่องว่าเลิศทางมีลาภมาก  คือ  พระสีวลีเถระ
๘๙.  พระกุมารกัสสปะ  เลิศในทางแสดงธรรมเทศนาได้อย่างวิจิตรพิสดาร
๙๐.  ต้นคต ปลายตรง  เปรียบเหมือน  พระองคุลิมาล ส่วน ต้นตรง  ปลายคต  คือ  พระเทวทัต
๙๑.  วันพระหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  วันธรรมสวนะ  หมายถึง  วันประชุมฟังธรรม
๙๒.  การสวดพระอภิธรรม  ใช้ได้ใน  งานศพ   จัดเป็นงาน  อวมงคล
๙๓.  เจ้าชายสิทธัตถะ  ทรงประสูติที่  สวนลุมพินีวัน  ทรงดำเนินได้    ก้าว
๙๔.  เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้บรรลุปฐมฌานครั้งแรกที่  ใต้ต้นชมพูพฤกษ์  (ต้นหว้า)
๙๕.  ผู้น้อมถวายบาตร แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  คือ  ฆฏิกาพรหม
๙๖.  ผู้กราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์  คือ  ท้าวสหัมบดีพรหม
๙๗.  พระรัตนตรัยได้เกิดขึ้นครั้งแรก  เมื่อวันขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน    คือ  วันอาสาฬหบูชา
๙๘.  ใครเป็นศาสดาของท่าน ท่านชอบในธรรมของใคร พระอุปติสสะ  เป็นผู้กล่าวต่อ อัสสชิ
๙๙.  ผู้ที่ออกบวชเพื่ออุทิศพระอรหันต์ในโลก  คือ  ปิปผลิมาณพ  หรือ  พระมหากัสสปะเถระ
๑๐๐.  พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ที่  วัดเวฬุวัน  ป่าไผ่  ที่พระเจ้าพิมพิสารถวาย
๑๐๑.  ผู้กราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์  คือ  กาฬุทายีอำมาตย์
๑๐๒.  พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาสุดท้ายที่  เวฬุวคาม
๑๐๓.  พระพุทธเจ้าทรงปลงพระชนมายุสังขารที่  ปาวาลเจดีย์
๑๐๔.  พระอรหันต์องค์สุดท้าย ก่อนพระพุทธเจ้าทรงปรินิพพาน  คือ  พระสุภัททปริพาชก
๑๐๕.  พระพุทธเจ้าทรงเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานที่  เมืองกุสินารา
๑๐๖.  สถานที่ทรงถวายพระเพลิงของพระพุทธเจ้า  คือ  มกุฏพันธนเจดีย์
๑๐๗.  ผู้ทำหน้าที่แบ่งพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าคือ  โทณพรามหณ์
๑๐๘.  พระธรรมโอวาทปาติโมกข์  เป็นธรรมว่าด้วย  ความไม่ประมาท
๑๐๙.  มูลเหตุของการทำสังคายนา  คือพระสุภัททะกล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย
๑๑๐.  วันสำคัญทางพระพุทะศาสนา  โดยย่อมี    วัน  คือ วันวิสาขบูชา,วันอาสาฬหบูชา,วันมาฆบูชา,วันอัฏฐมีบูชา  โดยพิศดาร มี    วันเพิ่ม ๒  วัน  คือ วันเข้าพรรษา และ วันออกพรรษา
๑๑๑.  วันอัฏฐมีบูชา คล้ายวันถวายพระเพลิงของพระพุทธเจ้า  คือ  แรม    ค่ำ  เดือน 
๑๑๒.  วันวิสาขบูชา คล้ายวัน ประสูติ,ตรัสรู้และปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า, วันสากลโลก
๑๑๓.  วันมาฆบูชา  เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ คือ  วันเพ็ญ  เดือน 
๑๑๔.  วันอาสาฬหบูชา  เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาครั้งแรกและเป็นที่พระสงฆ์อุบัติขึ้นครั้งแรกในลก  วันขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน 
๑๑๕.  ชมพูทวีปตั้งอยู่ทางทิศพายับ  (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)
๑๑๖.  เทวทูตทั้ง    คือ  คนแก่,  คนเจ็บ,  คนตาย,  และสมณะ
๑๑๗.  ในช่วงมัชฌิมยาม  พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทรงได้บรรลุธรรมคือ  อาสาวักขยณาน
๑๑๘.  หลังจากพระพุทธเจ้าได้ตรัสรูแล้วทรงเสวยวิมุตติสุขอยู่  ๔๙  วัน
๑๑๙.  ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง  เรียกว่า  มัชฌิมาปฏิปทา
๑๒๐.  คำว่า อุบาสก,อุบาสิกา หมายถึง  ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย  คือใกล้ชิดพระศาสนา  นั่นเอง
๑๒๑. พระเจ้าพิมพิสาร  ได้ดวงเห็นธรรมด้วย  ได้ฟังธรรมอนุปุพพิกถา และ อริยสัจ 
๑๒๒.  พระพุทธเจ้าทรงตรัสอุบายแก่ง่วงแก่  พระโมคคัลลานะ  ที่  บ้านกัลลวาลมุตตคาม 
๑๒๓.  วันจาตุรงคสันนิบาต  มีพระอรหันต์ที่มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย   ,๒๕๐   องค์
๑๒๔.  ก่อนพระอานนท์จะรับเป็นพุทธอุปัฏฐาก  ได้ทูลขอพร    ประการ
๑๒๕.  ศิษย์พราหมณ์พาวรี    ๑๖  คน  ได้ไปทูลถามปัญหากับพระพุทธเจ้าที่  ปาสาณเจดีย์
๑๒๖.  ศิษย์กลับเป็นอาจารย์,อาจารย์กลับเป็นศิษย์  คือ  พรามหณ์พาวรี กับ ปิงคิยมาณพ
๑๒๗.  ผู้ที่ได้อุปสมบทด้วย ญัตติจตุตถกรรมวาจา องค์แรกคือพระราธะเถระ
๑๒๘.  พระพุทธเจ้าทรงแสดงมหาปุริสวิตกแก่  พระอนุรุทธะ  ผู้เลิศทางตาทิพย์
๑๒๙.  พระสาวกองค์สุดท้ายชื่อว่า สุภัททะปริพาชก โดยที่  พระอานนท์บวชให้
๑๓๐.  ภิกษุณีผู้ได้รับยกย่องว่าเลิศทางมีฤทธิ์มาก  คือ  พระนางอุบลวรรณาเถรี
๑๓๑.  ภิกษุณีองค์แรกคือ  นางมหาปชาบดีโคตมี บวชด้วยรับครุธรรม    ประการ
๑๓๒.  ผู้ทูลขอให้สตรีบวชในพระพุทธสาสนา  คือ  พระอานนท์
๑๓๓.  การทำสังคายนาครั้งแรกมีพระอรหันต์ทั้งหมด  ๕๐๐  องค์  ที่ถ้ำสัตบรรณคูหา
๑๓๔.  การทำสังคายนาที่มีการจารึกคำสอนลงในใบลาน  คือในสมัยรัชกาลที่ 
๑๓๕.  ภิกษุณีได้เกิดมีขึ้นเมื่อพรรษาที่    คือพระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นภิกษุณีองค์แรก
๑๓๖.  ภิกษุณีที่ได้รับยกย่องว่าเลิศในทางต่าง ๆ มีทั้งหมด  ๑๓  รูป
-                    พระนางมหาปชาบดีโคตมี                     เลิศทางรัตตัญญู
-                    พระนางเขมาเถรี                                 เลิศทางมีปัญญามาก
-                    พระนางอุบลวรรณาเถรี                                    เลิศทางมีฤทธิ์มาก
-                    พระนางธรรมทินนาเถรี                                    เลิศทางเป็นธรรมกถึก
-                    พระนางปฏาจาราเถรี                           เลิศทางวินัยธร
-                    พระนางสกุลาเถรี                                            เลิศทางทิพยจักษุญาณ
-                    พระนางกีสาโคตมี                              เลิศทางจีวรเศร้าหมอง
-                    พระนางนันทาเถรี                               เลิศทางเพ่งฌาณสมาบัติ
-                    พระนางภัททากุณฑลเกสาเถรี                เลิศทางตรัสรู้เร็ว
-                    พระนางภัททกาปิลานีเถรี                     เลิศทางปุพเพนิวาสานุสติญาณ
-                    พระนางโสณาเถรี                               เลิศทางปรารภความเพียร
-                    พระนางสิงคาลมาตาเถรี                                    เลิศทางศรัทธาวิมุตติ
-                    พระนางภัททากัจจานา (พิมพา)               เลิศทางบรรลุมหาภิญญา
๑๓๗.  อุบาสกที่ได้รับการยกย่องมี  ๑๐  คน
            -  ตปุสสะ และ ภัลลิกะ                               เลิศทางผู้ถึงสรณะคนแรก
            -  อนาถปิณฑิกะเศรษฐี (สุทัตต์)                    เลิศทางผู้ถวายทาน
            -  จิตตคฤหบดี                                         เลิศทางผู้เป็นธรรมกถึก
            -  หัตถกะ                                                            เลิศทางผู้สงเคราะห์บริษัท
            -  พระเจ้ามหานามะ                                               เลิศทางผู้ถวายรสอันประณีต
            -  อุคคฤหบดี                                                       เลิศทางผู้ถวายโภชนะ
            -  อุคคตะคฤหบดี                                     เลิศทางเป็นสังฆอุปัฏฐาก
            -  สูรัมพัฏฐเศรษฐีบุตร                                เลิศทางผู้เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้น
            -  หมอชีวก  โกมารภัจจ์                              เลิศทางผู้เลื่อมใสในบุคคล
            -  นกุลปิตาคฤหบดี                                               เลิศทางผู้คุ้นเคย
๑๓๘.  อุบาสิกาผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเลิศในทางต่าง ๆ  มี  ๑๐  คน 
            -  นางสุชาดา (มารดาของยสะ)                      เลิศทางผู้ถึงสรณะก่อน
            -  นางวิสาขา                                                        เลิศทางผู้ถวายทาน
            -  นางขุชชุตตรา                                        เลิศทางผู้เป็นพหูสูต
            -  นางสามาวดี                                          เลิศทางผู้มีปกติอยู่ด้วยความเมตตา
            -  นางอุตตรา (นันทมาตา)                            เลิศทางผู้ยินดีในฌาณ
            -  นางสุปปิยา                                                       เลิศทางผู้เป็นคิลานุปัฏฐาก
            -  นางกาติยานี                                          เลิศทางผู้เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้น
            -  นางกุลมาตาคหปตานี                              เลิศทางผู้คุ้นเคย
            -  นางกาฬี (อุบาสิกาชาวกุรรฆริกา)                เลิศทางผู้เลื่อมใสโดยได้ฟังตาม
๑๓๙.  การบวชด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ที่ประทานแก่พระอัญญาโกทัญญะ มีใจความว่า   เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้วท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เถิดเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด  (ในวันขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน  )
๑๔๐.  ส่วนของพระยสะกุลบุตร  ไม่มีคำว่า เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ  เพราะท่านได้บรรลุอรหันต์ก่อนแต่ยังไม่ได้บวช
๑๔๑.  ผู้มีลักษณะควรได้ฟังอนุปุพพิกถา  คือ  ต้องเป็นมนุษย์,เป็นคฤหัสถ์ และ ต้องมีอุปนิสัยแก่กล้าพอที่จะได้บรรลุดวงตาเห็นธรรมได้  คือพระโสดาบัน  เป็นต้น
๑๔๒.  พระสารีบุตร ปรินิพพานก่อนพระพุทธเจ้า    เดือน คือปรินิพพานเมื่อวันเพ็ญเดือน ๑๒
๑๔๓.  พระสารีบุตรปรินิพพาน  ก่อน  พระโมคคัลลานะ  ๑๕  วัน
๑๔๔.  พระมหากัจจายนะ  เป็นพระอุปัชฌาย์ของ  พระโสณกุฏิกัณณะ
๑๔๕.  พระโมฆราช  เลิศทางจีวรเศร้าหมอง
๑๔๖.  พระราหุล  บวชด้วยวิธีไตรสรณคมน์รูปแรก  โดยที่พระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์
พระอานนท์  ได้บรรลุอรหันต์  เมื่อรุ่งเช้าของวันทำสังคายนา (ครั้งแรก)
๑๔๗.  พระอานนท์ปรินิพพานแปลกกว่ารูปอื่น  คือนิพพานบนอากาศ ท่ามกลางแม่น้ำโรหิณี  ร่างกายแตกเป็น    ส่วน  ตกลงคนละฝั่งของแม่น้ำเพื่อให้ญาติ ๆ นำไปบูชา,ไม่ทะเลาะกัน
๑๔๘.  สหชาติ  หมายถึง  ผู้ที่เกิดพร้อมกับพระพุทธเจ้า  ได้แก่  พระนางพิมพา,พระอานนท์,พระฉันนะ,พระกาฬุทายี,ม้ากัณฐกะ,ขุมทรัพย์,และต้อนศรีมหาโพธิ์
๑๔๙.  บารมี  ๑๐  ทัศ ที่พระพุทธเจ้าทรงชนะมาร  คือ  ทาน,ศีล,เนกขัมมะ,ปัญญา,วิริยะ,ขันติ,สัจจะ,อธิษฐาน,เมตตา,และ อุเบกขา
๑๕๐.  พระพุทธเจ้าทรงแสดง  อนุปุพพิกถา  ทั้งหมด    ครั้ง  คือ
            -  ครั้งที่    โปรดนายยสะ  บุตรของเศรษฐีเมืองพาราณสี
            -  ครั้งที่    โปรดเศรษฐีบิดาของพระยสะกุลบุตร
            -  ครั้งที่    โปรดมารดา  และ  ภรรยาเก่าของยสะกุลบุตร
            -  ครั้งที่    โปรดบุตรเศรษฐี    คน  ซึ่งเป็นสหายของพระยสะกุลบุตร
            -  ครั้งที่    โปรดสหายของพระยสะกุลบุตร  ๕๐  คน
            -  ครั้งที่    โปรดภัททวัคคีย์  ผู้เป็นสหายกัน  ๓๐  คน
            -  ครั้งที่    โปรดพระเจ้าพิมพิสาร,พราหมณ์,คหบดี  ชาวเมืองมคธ ฯ
๑๕๑.  อนุปุพพิกถา  มี    ประการ  คือ  ทาน,ศีล,สวรรค์,โทษของกาม,และ อานิสงส์ออกจากกาม  ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไปตามลำดับไม่ตัดลัดตอน

พระสาวกอนุพุทธผู้เอตทัคคะ

ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเลิศในทางต่าง ๆ
*****************
·        พระอัญญาโกทัญญะ               เลิศทางรัตตัญญู (รู้ราตรีนาน คือบวชก่อนใครทั้งหมด)
·        พระอุรุเวลกัสสปะ                  เลิศทางมีบริวารมาก
·        พระสารีบุตรี                         เลิศทางมีปัญญามาก  ,พระธรรมเสนาบดี
·        พระโมคคัลลานะ                               เลิศทางมีฤทธิ์มาก
·        พระมหากัสสปะ                                 เลิศทางผู้ทรงธุดงค์
·        พระมหากัจจายนะ                  เลิศทางอธิบายธรรมย่อให้พิสดาร
·        พระโมฆราช                         เลิศทางทรงจีวรเศร้างหมอง
·        พระราธะ                                          เลิศทางมีปฏิภาณ คือมีญาณแจ่งแจ้งในธรรมเทศนา
·        พระปุณณมันตานีบุตร             เลิศทางผู้เป็นะรรมกถึก  (นักเทศน์)
·        พระกาฬุทายี                          เลิศทางยังสกุลไม่เลื่อมใส  ให้เลื่อมใส
·        พระนันทศากยราช                  เลิศทางสำรวมอินทรีย์ 
·        พระราหุล                                         เลิศทางผู้ใคร่ในการศึกษา
·        พระอุบาลี                                         เลิศทางผู้ทรงวินัย  (วินัยธร)
·        พระภัททิยราช                                   เลิศทางเกิดในสกุลสูง
·        พระอนุรุทธะ                         เลิศทางผู้มีทิพพจักขุญาณ  (ตาทิพย์)
·        พระอานนท์                          เลิศทางเป็นพหูสูต,มีสติ,มีธิติ,มีความเพียร,พุทธอุปัฏฐาก
·        พระโสณโกฬิวิสะ                   เลิศทางปรารภความเพียร
·        พระรัฐบาล                           เลิศทางบวชด้วยศรัทธา
·        พระปิณโฑลภารทวาชะ                       เลิศทางผู้บันลือสีหนาท
·        พระมหาปันถก                                  เลิศทางผู้เจริญปัญญาภาวนา
·        พระจุลปันถก                                    ผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ
·        พระโสณกุฏิกัณณะ                 เลิศทางผู้เจริญธรรมด้วยถ้อยคำไพเราะ
·        พระลกุณฏกภัททิยะ                เลิศทางมีเสียงไพเราะ
·        พระสุภูติ                                          เลิศทางมีอรณวิหารธรรม  และทักขิเณยบุคคล
·        พระกังขาเรวตะ                                  เลิศทางผู้ยินดีในฌานสมาบัติ
·        พระวักกลิ                                         เลิศทางศรัทธาวิมุตติ
·        พระกุณฑธานะ                                  เลิศทางผู้จักสลากเป็นปฐม
·        พระวังคีสะ                           เลิศทางมีปัญญาปฏิภาณ  (ฉลาดในการผูกบาทคาถา)
·        พระปิลินทวัจฉะ                                เลิศทางเป็นที่รักใคร่เจริญใจในเทวดาทั้งหลาย
·        พระกุมารกัสสปะ                   เลิศทางแสดงธรรมได้อย่างวิจิตรพิสดาร
·        พระมหาโกฏฐิตะ                                เลิศทางผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา 
·        พระโสภิตะ                           เลิศทางระลึกชาติได้
·        พระนันทะ                            เลิศทางผู้ให้โอวาทนางภิกษุณี          
·        พระมหากัปปินะ                                เลิศทางให้โอวาทภิกษุบริษัท
·        พระสาคตะ                           เลิศทางผู้แตกฉานในเตโชกสิณสมาบัติ
·        พระอุปเสนะ                         เลิศทางผู้นำมาซึ่งความเลื่อมใสโดยชอบแห่งชนทั่วไป
·        พระขทิรวนิยเรวตะ                 เลิศทางผู้อยู่ป่า
·        พระสีวลี                                           เลิศทางมีลาภมาก
·        พระพาหิยทารุจิริยะ                 เลิศทางผู้ตรัสรู้โดยเร็วพลัน
·        พระพากุละ                           เลิศทางผู้มีอาพาธน้อย  (เพราะถวายเวจกุฎี)
·        พระทุพพมัลลบุตร                  เลิศทางผู้แตกฉานในแต่งตั้งปูลาดอาสนะ
๑๕๒.  วันเข้าพรรษา  คือ  ตรงกับวันแรม    ค่ำ  เดือน    ของทุกปี
๑๕๓.  วันออกพรรษา  คือ  ตรงกับวันขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน  ๑๑  ของทุกปี
๑๕๔.พระพุทธเจ้าทรงแสดงราหุโลวาทสูตรโปรดพระราหุลที่สวนมะม่วงว่าด้วยอายตนะ ๑๒
๑๕๕.  พระสาวกที่ส่งไปประกาศพระศาสนา  ครั้งแรก  ๖๐  องค์  คือ  พระปัญจวัคคีย์  ทั้ง    พระยสกุลบุตร, เพื่อนพระวิมล,สุพาหุ,ปุณณชิ,ควัมปติ  และ  สหายของพระยสกุลบุตร ๕๐
๑๕๖.  พระพาหิยทารุจิริยะ  สำเร็จอรหันต์ทั้งที่เป็นฆราวาส ไม่ทันได้อุปสมบท ก็ปรินิพพาน
๑๕๗.  พระมกากัจจายนะ  เป็นผู้ทูลลดหย่อนเกี่ยวกับพระธรรมวินัย
๑๕๘.  องคุลิมาล  เที่ยวฆ่าคนเพราะมีความต้องการที่จะเรียน  วิษณุมนต์
๑๕๙.  เอหิภิกขุอุปสัมปทา  มี    แบบ  คือ  แบบสำหรับคนที่ไม่หมดกิเลิส เช่น โกณทัญญะ
            แบที่  สอง  สำหรับคนที่หมดกิเลิส  เช่น  พระยสกุลบุตร
๑๖๐.         จำขึ้นใจในวิชาดีกว่าจด จำไม่หมดจดไว้ดูเป็นครูสอน  ทั้งจดจำทำวิชาให้ถาวร  อย่านิ่งนอนรีบจดจำหมั่นทำเอย
สพฺพทานํ  ธมฺมทานํ  ชินาติ
การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทานทั้งปวง  ดังนี้
********************************

สำนักเรียนวัดท่าสว่าง  บ้านหนองผือ โนนค้อ

ตำบลหนองผือ  อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด  ๔๕๒๒๐

รวบรวมโดย 
พระมหาหนูพร  จารุวณฺโณ
.. เอก  ..   ปริญญาตรี (ศศ..)
ครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม/แผนกบาลี/แผนกสามัญ/พระสอนศีลธรรม
พระวินยาธิการ
เลขานุการเจ้าคณะอำเภอเมืองสรวง/ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
โทร. ๐๘๗ - ๒๑๕๔๑๔๑  E-mail nupon2511@gmail.com