จารุวณฺโณภิกฺขุ

จารุวณฺโณภิกฺขุ
สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

เททองพุทธมิ่งเมืองมงคล



พิธีเททองพุทธมิ่งเมืองมงคล

เช้าวันที่ (24 ก.ย.53) เวลา 09.09 น ณ วัดกลางมิ่งเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด คณะทำงานจังหวัดร้อยเอ็ดโดย พระธรรมฐิติญาณ เจ้าคณะภาค 10 เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายธวัชชัย ฟักอังกูร ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ได้จัดพิธี เททองหลอพระพุทธมิ่งเมืองมงคล
ในพิธีเททองหล่อพระพุทธมิ่งเมืองมงคล ได้มีพุทธศาสนิกชน ผู้มีจิตศรัทธาได้บริจาควัสดุแผ่น ทอง นาก เงิน และ ทองแดง ในจัดสร้างพระพุทธรูปประจำจังหวัดร้อยเอ็ด พระพุทธมิ่งเมืองมงคล องค์จำลอง ขนาดหน้าตัก 32 นิ้ว และจังหวัดร้อยเอ็ดได้เปิดสั่งจองบูชาพระพุทธมิ่งเมืองมงคล มีไว้สักการะเช่าบูชาประจำบ้าน สำนักงาน อาคารสถานที่ เพื่อเป็นศูนย์รวมยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครัวครัว ในระหว่างประกอบพิธีเททองหล่อจัดสร้างพระพุทธมิ่งเมืองมงคล ได้เกิดเหตุการณ์ มีเมฆรวมตัวกันเป็นเมฆก้อนใหญ่ เกิดพระอาทิตย์ทรงกลด ผู้เข้าร่วมพิธีต่างประหลาดใจ และเชื่อว่าเป็นนิมิตหมายอันดี ในการจัดสร้างพระพุทธประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
ประวัติ พระพุทธมิ่งเมืองมงคลเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตัก ๑๓.๗๘ นิ้ว สร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๓๖๗ ผู้สร้างคือ พระยาขัติยะวงษา (สีลัง) เจ้าเมืองร้อยเอ็ดคนที่ ๒ พร้อมด้วยมหาราชครูวัดกลางมิ่งเมือง กรมการเมือง อุบาสก อุบาสิกา เพื่อให้เป็นที่เคารพ กราบไหว้ บูชาแก่ประชาชนและเทพยดาทั้งหลาย
พระพุทธมิ่งเมืองมงคล เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาด สูงรวมฐาน 60 ซม. ฐานสูง 8 ซม. หน้าตักกว้าง 35 ซม. แบบศิลปะรัตนโกสินทร์ ช่างพื้นถิ่นอีสาน ทำจากโลหะผสมทองแดงพุทธลักษณะ พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระนาสิกโด่งเป็นสันปลายบานเล็กน้อย มีไรพระศก เม็ดพระศกแหลมเล็ก พระเกตุมาลาทรงกรวยสูง พระรัศมีเป็นเปลว พระโอษฐ์เล็ก พระกรรณยาว ทรงครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา ชายสังฆาฏิเป็นแถบสี่เหลี่ยมปลายตกแต่งเป็นลายกลีบบัวยาวเหนือพระนาภี ประทับนั่งขัดสมาธิราบ บนฐานเขียง ซึ่งมีจารึกอักษรธรรมอีสานจำนวน ๓ บรรทัดที่หน้าฐาน ความว่า ศักราช ๒ พัน ๓๖๗ พระวัสสา ปีฮับเป้า เดือนยี่ แรม ๔ ค่ำ ๔ มหาราชครูเจ้าทั้ง ๒ วัดกลางเมืองร้อยเอ็ด ทั้งอันเตวาสิก แลมหาราชเจ้า แลกรมการ แลอุปาสก อุปาสีกา พร้อมกันหล่อพุทธรูปเจ้าไว้เพื่อให้เป็นที่ไหว้ แลบูชาแก่คน แลเทพดาทั้งหลาย” (อ่านและแปลโดย คุณวิมล เขตตะ)