จารุวณฺโณภิกฺขุ

จารุวณฺโณภิกฺขุ
สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2551

การบวชพระ

การบวชพระ
         การบวช คือ เมื่อตกลงกันว่าจะเป็นพระแล้ว ผู้ใหญ่ บิดา มารดาเมื่อผู้ชายอายุครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ก็ถือว่าเข้าเขตวัยผู้ใหญ่ จะต้องมีความรับผิดชอบที่จะครองตน และสร้างหลักฐานต่อไป จึงจำเป็นต้องมีความรู้ถึงความจริงในโลกที่เต็มไปด้วยอารมณ์ต่างๆ ซึ่งจะเกิดจากสุข ทุกข์ การบวชพระ จะเป็นการรักษาอารมณ์ที่จะทำให้มนุษย์ไปสู่ทางที่ดีหรือผู้ปกครอง ที่จัดการให้ผู้จะบวชนำดอกไม้ ธูปเทียน แพ ใส่พานไปบอกกล่าวผู้ที่นับถือหรือวงศาคณาญาติเรียกกันว่าไป"ลาบวช" การจัดงานบวชของคนไทยโดยทั่วไปก็จะจัดก่อนวันบวช ๑ วัน เรียกว่าวันสุกดิบ วันนี้จะมีการทำขวัญนาค ผู้บวชจะโกนหัว โกนคิ้ว โกนหนวด ตัดเล็บ นุ่งผ้าด้วยเครื่องแต่งกายที่งดงามมีแก้วแหวนเงินทองต่าง ๆ อันแสดงถึงสิ่งที่ฟุ้งเฟ้อทางโลก นุ่งจีบด้วยผ้ายกทอง ใส่เสื้อครุยปักทองสไบเฉียงทางไหล่ซ้าย คาดเข็มขัดหัวเพชร ใส่แหวนครบ ๘ นิ้ว ตัวนาคจะนั่งหน้าโต๊ะบายศรีตามพิธีพราหมณ์ ผู้เฒ่าก็จะตั้งต้นอ่านคำทำขวัญนาคเป็นทำนอง มีเนื้อความอธิบายถึงชีวิตคนตั้งแต่แรกเกิดมีพ่อแม่บำรุงเลี้ยงดูด้วยความยากลำบากจนถึงเป็นผู้ใหญ่ พ่อแม่มีความปรารถนาให้ลูกเป็นคนดี บัดนี้ก็สมใจแล้วที่เจ้านาคจะอุปสมบทในพระพุทธศาสนา นับเป็นความดีอันสูงสุดที่จะเป็นมงคลต่อชีวิตตนต่อไป
        เมื่อวันรุ่งขึ้นเป็นวันบวช นาคก็จะแต่งตัวเหมือนวันทำขวัญนาค บางคนก็ขึ้นหลังม้าตามแบบพระศาสดาออกบวช เข้าขบวนแห่มี ไตร บาตร บริขาร ๘ ดอกไม้ ธูป เทียน พร้อมด้วยวงศาคณาญาติไปวัด พอถึงวัดบิดาหรือผู้ปกครองของนาคก็จะจูงแขนเข้าโบสถ์ เป็นการแสดงความยินดีชื่นชมแล้วส่ง
ไตรครองให้นาค นาครับไตรแล้วจะนำไตรไปถวายอุปัชฌาย์ และกราบลง ๓ หน ถวายดอกไม้ธูปเทียนแล้วกล่าวคำของบรรพชาคือ บวชเณร ( พระที่บวชเป็นสงฆ์จะต้องบวชเป็นเณรมาก่อนเพื่อจะได้รู้และ
คุ้นเคยกับคติของวัด ) ผู้เป็นเณรแล้วก็บวชพระได้เลย

วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2551

บุญแจกข้าว

บุญแจกข้าว***

            ชาวอีสานมีความเชื่อว่าดวงวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว หากไม่ได้รับการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้แล้ว ดวงวิญญาณนั้นก็จะมีแต่ความอดอยากทนทุกข์ทรมานและไม่ได้ไปผุดไปเกิด ด้วยความเชื่อดังกล่าวนี้จึงทำให้มีการจัดงานหรือการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ที่เสียชีวิต หรือเรียกว่า การทำบุญแจกข้าว
การทำบุญแจกข้าวเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้องที่ได้ล่วงลับไป ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่พี่น้องปู่ย่าตายายพี่ป้าน้าอา ซึ่งผู้เสียชีวิตเหล่านั้นได้เสียชีวิตไปได้ไม่นานมากนัก ประมาณ 1-3 ปี โดยการทำบุญแจกข้าวนี้ ต้องมีการระบุไปว่ามีความต้องการจะทำบุญแจกข้าวให้ใคร โดยจะมีการจัดงานกันใหญ่พอสมควรโยมีการบอกกล่าวเพื่อนบ้านใกล้เคียงและ ภายในหมู่บ้านหรือต่างหมู่บ้าน และมีการบอกกล่าวไปถึงญาติพี่น้องที่อยู่ห่างไกลให้มาร่วมงานนี้ด้วย
งานทำบุญแจกข้าวนี้นิยมทำกันในเดือนสี่ จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่ชาวอีสานว่างเว้นจากการทำไร่ไถนาจึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะในการทำกิจกรรมนี้ การทำบุญแจกข้าวเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากสำหรับชาวอีสานเพราะชาวอีสานมีความเชื่อว่าทุกคนที่เสียชีวิตไปแล้ว ต้องได้กินข้าวแจก หากคนใดที่เสียชีวิตไปแล้วแล้วไม่ได้ทำบุญแจกข้าวไปให้บุคคลนั้นจะได้รับความอดอยากไม่ได้ไปผุดไปเกิด จะยังคงวนเวียนเพื่อรอรับข้าวแจกจากญาติพี่น้องต่อไป
บุคคลใดเมื่อมีญาติที่เสียชีวิตไปแล้วไม่ได้ทำบุญแจกข้าวอุทิศส่วนกุศลไปให้ ก็จะถูกดูหมิ่นดูแคลนจากคนภายในหมู่บ้าน ว่าไม่รู้จักบุญคุณไม่รักใคร่ญาติที่เสียชีวิตไป เป็นคนเห็นแก่ตัวไม่รู้จักเสียสละก่อนการทำบุญแจกข้าวจะมีการบอกเล่าญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านว่าจะมีการทำบุญ ให้ญาติที่เสียชีวิตไป พอถึงวันทำบุญในช่วงตอนกลางวันจะมีการจัดแต่งเครื่องไทยทาน เรียกว่า ห่ออัฎฐิ และมีการจัดเลี้ยง อาหารกลางวันแก่ผู้ที่มาจัดแต่งเครื่องไทยทานและมาช่วยงานในเรื่องต่างๆ บางครั้งภายในงานก็จะมีการบว๙นาคด้วย ในช่วงเย็นก็จะมีการฟังเทศน์และในช่วงกลางคืนก็ก็จะมีงานมหรสพที่เจ้าภาพของงานว่าจ้างมา ไม่ว่าจะเป็น หมอลำ ภาพยนตร์ เป็นต้น
ในช่วงเช้าของวันใหม่จะมีการถวายอาหารและเครื่องไทยทานแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยจะนิมนต์มาบ้านเจ้าภาพหรือนำไปถวายที่วัดก็ได้ หลังจากนั้นก็จะมีการถวายผ้าบังสกุล ฟังเทศน์ และกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไป หลังจากนั้นก็จะมีการจัดเลี้ยงอาหารให้ผู้ที่มาร่วมงาน ก็เป็นอันเสร็จพิธี การทำบุญแจกข้าวแก่ญาติที่เสียชีวิตไปชนชาวอีสานถือเรื่องความกตัญญูต่อญาติพี่น้องและผู้มีพระคุณ การจัดงานทำบุญแจกข้าวจึงเป็นการแสดงความกตัญญูต่อผู้ที่เสียชีวิตไป เพื่อให้ดวงวิญญาณของคนเหล่านั้นได้รับบุญกุศลและไปเกิดใหม่ไม่ต้องวนเวียนเพื่อรอรับส่วนบุญอีกต่อไป