จารุวณฺโณภิกฺขุ

จารุวณฺโณภิกฺขุ
สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาในวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ถ้าปีใด มี เดือน 8 สองหน ( อธิกมาส ) ก็เลือนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7
ความสำคัญ 
วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญเกี่ยวกับประวัติพระพุทธเจ้า คือ เป็นวันคล้าย วันประสูติ เมื่อวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช
 80 ปี วันตรัสรู้ เมื่อวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 45 ปี และ วันปรินิ พาน เมื่อวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 1 เหตุการณ์ทั้ง 3 นี้
 เกิดขึ้น ตรงในวัน และเดือนเดียวกัน เป็นที่มหัศจรรย์ยิ่งนัก เหตุการณ์ นี้ก่อให้เกิดพระพุทธศาสนา จากความสำคัญ ในวันที่
 15 ธ.ค42 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญครั้งที่ 54 ได้มีมติประกาศรับรองให้วันวิสาขบูชาเป็น
 วันสำคัญสากล 


 การจัดพิธีวิสาขบูชา 
เพื่อให้พุทธศาสนิกชนระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า ได้แก่ พระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ พระมหากรุณาคุณ
 ซึ่งพระองค์เป็นศาสดาเอกและอำนวยประโยชน์แก่ชาวโลก

 การปฏิบัติตน
 1. ทำบุญตกบาตรพระสงฆ์ หรือนำภัตตาหารไปถวายพระสงฆ์ที่วัด เสร็จแล้วกรวดน้ำแผ่ส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
 2. ฟังธรรม รักษาศีล 5 หรือ ศีลอุโบสถ ( ศีล 8 ) เจริญสมาธิ แผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์
 3. นำดอกไม้ ธูปเทียน ไปเวียนเทียนที่วัด หรือ ศาสนาสถานอื่นๆ
 ข้อสังเกต
 วันวิสาขบูชา นี้บางท่านถือว่า เป็น วันพระพุทธเจ้า
 หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่อง
 อิทธิบาท 4 คือ หนทางแห่งความสำเร็จ หรือหลักธรรมที่ปฏิบัติให้ถึงความสำเร็จมี 4 ประการ คือ
 1. ฉันทะ คือ ความชอบหรือความพอใจที่จะทำสิ่งนั้น
 2. วิริยะ คือ ความเพียรพยายามทำสิ่งนั้นอย่างต่อเนื่อง
 3. จิตตะ คือ ความสนใจ เอาใจใส่ และจดจ่อกับสิ่งที่ทำ
 4. วิมังสา คือ ความพิจารณาใคร่ครวญ ไตรตรองหาเหตุผลในสิ่งที่ทำ
 อิทธิบาท 4 นี้กล่าวสั่นๆ จำง่ายๆ ก็คือ มีใจรัก พากเพียรทำ เอาจิต ใจฝักใฝ่ ใช้ปัญญาตรวจสอบ
วันมาฆบูชา  วันมาฆบูชา หมายถึง การบูชาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ถ้าเดือนใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลือนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4
 ความสำคัญ
 
วันมาฆบูชา เป็นสำคัญที่พระพุทธเจ้าทรงประชุม ครั้งใหญ่ครั้งแรกในพุทธศาสนา  วัดเวฬุวันมหาวิหาร เรียกว่า มหาสาวก
 สันนิบาต ในการประชุมครั้งนี้มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ ที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต คือ
 1. วันนั้นเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3
 2. มีพระสาวกเข้าประชุมโดยมิได้นัดหมาย จำนวน 1,250 รูป
 3. พระสาวกล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
 4. พระอรหันต์สาวกที่เข้าร่วมประชุมทุกรูปเป็นผู้ได้รับอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง  
 
ในวันมาฆบูชา พระพุทธเจ้าทรงประกาศตั้งหลักการของพระพุทธศาสนา เพื่อให้พระสาวกถือเป็น หลักปฏิบัติในการสั่ง
 สอนประชาชนสืบไป คือ ได้ทรง แสดง โอวาทปาติโมกข์ ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับการไม่ทำความชั่วทั้งหลาย ทำความดีให้พร้อม และทำจิตใจของตนให้บริสุทธิ์
 การจัดพิธีมาฆบูชา
 เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ระลึกถึงการประชุมครั้งใหญ่ของพระสงฆ์ หลักคำสอนที่เป็นหลักการของพระพุทธศาสนา รวมทั้ง
 การปลงอายุสังขารของพระพุทธเจ้า ให้เกิดความสังเวชสลดใจ
 การปฏิบัติตน
 1. ทำบุญตกบาตรพระสงฆ์ หรือนำภัตตาหารไปถวายพระสงฆ์ที่วัด เสร็จแล้วกรวดน้ำแผ่ส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
 2. ฟังธรรม รักษาศีล 5 หรือ ศีลอุโบสถ ( ศีล 8 ) เจริญสมาธิ แผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์
 3. นำดอกไม้ ธูปเทียน ไปเวียนเทียนที่วัด หรือ ศาสนาสถานอื่นๆ
  ข้อสังเกต
 วันมาฆบูชา บางท่านถือว่าเป็น วันพระธรรม
 หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่อง
 หลักธรรมที่เกี่ยงเนื่องในวันมาฆบูชาที่นักเรียนควรศึกษาในที่นี้ คือ กิริยาวัตถุ 3
 กิริยาวัตถุ 3
 กิริยาวัตถุ 3 หมายถึง วิธีทำความดี ตามหลักพระพุทธศาสนามีวิธีทำความดีหลายวิธี ในที่นี้จะกล่าวเพียง 3 วิธี
 1. การให้ทาน ( ทานมัย ) หมายถึง การทำความดีด้วยการให้ ซึ่งมีทั้งการให้วัตถุสิ่งของ เช่น เงิน ทอง อาหาร เป็นต้น ที่เรียกว่า
 วัตถุทาน การให้สิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น วิชาความรู้คำปรึกษาแนะนำ เป็นต้น ที่เรียกว่า ธรรมทาน และการให้อภัย เช่น  การให้อภัยเมื่อคนอื่นทำผิดต่อเรา ที่เรียกว่า อภัยทาน
 2. การรักษาศีล ( สีลมัย ) หมายถึงการทำความดี ด้วยการปฏิบัติดีงาม ประพฤติปฏิบัติถูกทำนองคลองธรรม ไม่ล่วงละเมิด
 ข้อบัญญัติทางศาสนาขึ้นเพื่อความสงบสุขเพื่อความสงบสุขของสังคม เช่น ศีล 5 ศีล 8
  3. การเจริญภาวนา ( ภาวนามัย ) การทำความดีเพื่อฝึกอบรมจิต ใจให้มีความสุข และสร้างคุณงามความดีต่างๆ ที่ยังไม่มีในตัวเอง
 ให้เกิดขึ้นในตน รวมทั้งการพัฒนาความสุข ที่มีอยู่แล้วในตัวเองให้มีเพิ่มมากขึ้น เช่น เดิมเป็นคนไม่ค่อยเชื่อฟัง พ่อ แม่  ก็ปรับปรุงตัว โดยการเชื่อฟังคำสั่งสอยของพ่อแม่
วันอาสาฬหบูชา
  วันอาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ถ้าปีใด มีเดือน 8 สองหน ก็เลือนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 หลัง
 ความสำคัญ
 
วันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมเป็นครั้งแรก เรียกว่า ปฐมเทศนา ธรรมที่ทรงแสดงชื่อ
 ธัมมจักกัปปวัตนสูตร โดยแสดงโปรดปัญจวัคคีย์ ณ ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน ทำให้มีพระสาวกองค์แรกเกิดขึ้นในโลก ได้แก่  พระโกณฑัญญะ และทำให้มีพระรัตนตรัยครบองค์ 3 ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
 การจัดพิธีอาสาฬหบูชา
 เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมเทศนาครั้งแรก ทำให้เกิดพระอริยสงฆ์องค์แรกของโลก  และวันที่พระรัตนตรัยครบองค์ 3
 การปฏิบัติตน
 1. ทำบุญตกบาตรพระสงฆ์ หรือนำภัตตาหารไปถวายพระสงฆ์ที่วัด เสร็จแล้วกรวดน้ำแผ่ส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
 2. ฟังธรรม รักษาศีล 5 หรือ ศีลอุโบสถ ( ศีล 8 ) เจริญสมาธิ แผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์
 3. นำดอกไม้ ธูปเทียน ไปเวียนเทียนที่วัด หรือ ศาสนาสถานอื่นๆ
 ข้อสังเกต                               
 วันอาสาฬหบูชา บางท่านถือว่าเป็น วันพระสงฆ์
  หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่อง
 หลักธรรมที่เกี่ยงเนื่องในวันอาสาฬหบูชาที่นักเรียนควรศึกษาในที่นี้ คือ จักร 4
 จักร 4
  จักร หมายถึง ธรรมที่เปรียบเสมือนล้อรถนำชีวิตไปสู้ความเจริญรุ่งเรือง เรียกว่า ธรรมจักร มี 4 ประการ คือ
 1. การอยู่ในห้องถิ่นที่เหมาะสม ( ปฏิรูปเทสวาสะ ) ได้แก่ การอยู่ร่วมกับคนดีและการอยู่ในที่เจริญ การอยู่ร่วมกันคนดี จะทำ ให้เห็นส่งทีดี ได้รับความรู้ดี จะส่งผลให้เราเป็นคนดี  ส่วนการอยู่ในที่เจริญ ช่วยให้เราได้รับความสะดวกสบาย และโอกาสที่จะ                             ได้ทำความดีมีมาก
 2การคบคนดี สัปปุริสุปัสสยะ) ได้แก่ การคบคนที่มีความรู้และความประพฤติดี คนดีย่อมแนะนำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ สิ่งที่ ถูกต้อง ไม่แนะนำทางเสื่อมเสียแก่เรา อีกทั้งความประพฤติส่วนตัวของคนดี ก็ไม่เสียหาย ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน แก่คนที่ คบหาและคนข้างเคียง
 3. การตั้งตนไว้ชอบ อัตตสัมมาปณิธิ ) หมายถึง การดำรงตนตั้งมั่นอยู่ในคุณงามความดี เป็นผู้มีศีลธรรมจริยธรรมที่ดีงาม
 อีกนัยหนึ่งหมายถึง การมีจิตตั่งมั่นในคุณงามความดี และศีลธรรมจริยธรรม
4. ความเป็นผู้ทำความดีไว้ก่อน ปุพเพกตปุญญตา ) หมายถึง การทำความดีให้พร้อมไว้ก่อนแล้ว การทำความดี
 ในขณะนี้จะเป็น พื้นฐานความดีของสิ่งที่จะเกิดในอนาคต ดังนั้น ผู้ที่ทำความดีให้พร้อมไว้ก่อนจึงได้มีชื่อว่าเป็นผู้มีความพร้อม
  วันอัฏฐมีบูชา   
 วันอัฏฐมีบูชา หมายถึง การบูชาในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6
 ความสำคัญ
 
วันอัฏฐมีถือเป็นวันที่ตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ  เมืองกุสินารา เมืองหลวงของแคว้นมัลละ
 เป็นวันที่ชาวพุทธ ต้องวิปโยคและสูญเสียพระบรมศาสดา
 การจัดพิธีวันอัฏฐมีบูชา เพื่อให้ชาวพุทธศาสนิกชนไก้พร้อมใจกัน ประกอบพิธีการบูชาระลึกถึงพุทธคุณ
 ปัจจุบันการจัดพิธีอัฏฐมีบูชากระทำกันเฉพาะบางวัดเท่านั้น เช่น วัดพระบรมธาตุ จ. อุตรดิตถ์เป็นต้น
 การปฏิบัติตน
 เหมือนวันมาฆบูชาและวันวิสาขบูชา แต่ไม่มีการเวียนเทียนเท่านั้น
 หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่อง
 หลักธรรมที่เกี่ยงเนื่องในวันอัฏฐมีบูชาที่นักเรียนควรศึกษาในที่นี้ คือ สุจริต 3
 สุจริต 3
 สุจริต 3   หมายถึง ความประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ซึ่งส่งผลให้ผู้กระทำประสบแต่ความสงบสุข สุจริตแสดงออกได้ 3 ทาง คือ
 1. ทางกาย เรียกว่า กายสุจริต หมายถึง ความประพฤติดีที่แสดงออกทางกาย ได้แก่ การเว้นจากการฆ่าสัตว์
 2. ทางวาจา เรียกว่า วจีสุจริต หมายถึง ความประพฤติที่เกิดทางวาจา ได้แก่ การเว้นจากการพูดโกหก การเว้นจากการพูดส่อเสียด
 3. ทางใจ เรียก ว่า มโนสุจริต หมายถึง ความประพฤติดีทีเกิดทางใจ ได้แก่ การไม่เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น และเห็นถูกต้อง
 ตามธรรมนองคลองธรรม
  วันธรรมสวนะ
 วันธรรมสวนะ หมายถึง วันที่ชาวพุทธเข้าวัดทำบุญตักบาตร รักษาศีล เจริญภาวนา และฟังธรรมเทศนา เรียกกันในปัจจุบันว่า 
 วันพระ หรือ วันอุโบสถ ในประเทศไทยเดือนหนึ่งกำหนดให้มีวันพระไว้ 4 วัน คือ วันขึ้น 8 ค่ำ วันขึ้น15 ค่ำ วันแรม 8 ค่ำ
 วันแรม 15 ค่ำ ( หรือ 14 ค่ำในบางเดือน )
 ความสำคัญ
 
วันพระ หรือวันอุโบสถ เป็นวันหลักแห่งการทำความดี โดยพระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตให้ชาวพุทธมีโอกาสทำความดีต่างๆ
 ได้แก่ ทำบุญตักบาตร ให้ทาน เพื่อทำใจให้สงบ
 การปฏิบัติตน
 1. ทำบุญตักบาตร ให้ทานอื่นๆ เช่น ถวายสังฆทาน
 2. สมาทานศีล และรักษาศีล เช่น ศีล 8 หรือ ศีล 5
 3. เจริญภาวนาด้วยการทำจิตใจให้สงบเป็นสมาธิ
  4. ฟังธรรมเทศนาด้วยความตั้งใจและความสงบ
   หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่อง
 หลักธรรมที่เกี่ยงเนื่องในวันพระ หรือ วันอุโบสถที่นักเรียนควรศึกษาในที่นี้ คือ สังคหวัตถุ 4
 สังคหวัตถุ 4
 สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักปฏิบัติตนที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจผู้อื่นไว้ หรือหลักในการสงเคราะห์ผู้อื่น มี 4 ประการ คือ
 1. การให้ ทาน ) หมายถึง การรู้จักการช่วยเหลือ แบ่งปันไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นวัตถุสิ่งของ วิชาความรู้ต่างๆ หรือแม้กระทั่งการให้อภัยแม้ผู้อื่นทำความผิดต่อเราหรือทำให้เราเดือดร้อน
 2. การพูดจาไพเราะ ( ปิยวาจา ) หมายถึง การพูดไพเราะ น่ารัก พูดด้วยความจริงใจ
 3. การทำประโยชน์ต่อกัน ( อัตถจริยา ) หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อกัน
 4. การาวงตัวเสมอต้นเสมอปลาย ( สมานัตตตา ) หมายถึง การทำตัวให้เข้ากันได้กับผู้อื่น โดยไม่ถือตัว
  เทศกาลสำคัญ   
 เทศกาล   หมายถึง คราวสมัยที่กำหนดไว้เป็นประเพณีเพื่อทำบุญและ การรื่นเริง ในท้องถิ่น เช่น สงกรานต์เข้าพรรษา เป็นต้น
 จากความหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีเทศกาล สำหรับในชั้นนี้นักเรียนควรได้ศึกษาเทศกาลสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับ
 พระพุทธศาสนา ด้แก่ เทศกาลสงกรานต์              
 เทศกาลสงกรานต์
   เทศกกาลสงรานต์ ตรงกับวันที่ 13 , 14 และ 15 เมษายนของทุกปี
 ความสำคัญ
 เทศกาลสงกรานต์ถือเป็นเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ของไทย โดยวันที่ 13 เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ คือวันสิ้นปีเก่า วันที่ 14 เรียกว่า  วันเนาว์ คือ วันขึ้นปีใหม่ วันที่ 15 เรียกว่า วันเถลิงศก
 การปฏิบัติตน
 เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ โดยเฉพาะวันที่ 13 ซึ่งเป็นวันมหาสงกรานต์จะมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
 1. ตอนเช้ามีการทำบุญตักบาตร เพื่อคาวามเป็นสิริมงคล และความมีโชคในวันปีใหม่
 2. หลังจากพระฉันภัตตาหารแล้ว จะมีการพิธีบังสุกุลอัฐิบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งพระสงฆ์จะทำพิธีสวดมาติกาบังสุกุล
 3. ช่วงบ่ายทำพิธีสรงน้ำพระ บางที่จะทำพิธีสรงน้ำพระในวันสุดท้ายของวันสงกรานต์
 4. นอกจากสรงน้ำพระเสร็จแล้ว จะมีการรดน้ำผู้ใหญ่และคนที่ตนนับถือ เพื่อให้ผู้ใหญ่ให้พร
 ปัจจุบันทางราชการได้ประกาศให้วันที่ 13 – 15 เมษายน ซึ่งเป็นวันสงกรานต์ เป็นวันหยุดราชการ และได้
 กำหนดให้ วันที่13 เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ และวันที่ 14 เป็นวันครอบครัว
 หลักธรรมและคติธรรมที่เกี่ยวเนื่องในเทศกาลสงกรานต์
 1. การทำพิธีบังสุกุลอัฐิบรรพบุรุษ สะท้อนให้เห็นถึงหลักธรรมเรื่องความกตัญญกตเวทีที่ลูกหลานมีต่อ บรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้ว
 2. การรดน้ำญาติผู้ใหญ่และผู้ที่ตนเองนับถือ นอกจากจะสะท้อนให้เห็นถึงหลักธรรมเรื่องความกตัญญกตเวที ยังสะท้อนให้เห็นถึง
 ความเคารพและการมีสัมมาคารวะต่อกันอีกด้วย สังคมไทยถือว่าการรู้จักเคารพผู้ที่ควรเคารพนั้นเป็นวัฒนธรรมไทยอย่างหนึ่ง
 ผู้ที่รู้จักเคารพผู้ที่ควรเคารพ เรียกว่า เป็นคนมีสัมมาคารวะ ซึ่งคนประเภทนี้ย่อมได้รับความยกย่องนับถือ และย่อมประสบความ
 สำเร็จในการทำงานร่วมกับผู้อื่น