จารุวณฺโณภิกฺขุ

จารุวณฺโณภิกฺขุ
สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554

คติธรรมจากแสดงธรรม

“คติธรรมจากแสงธรรมนำชีวิต”
โดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อุฏฐายี)
สมเด็จพระสังฆราช (องค์ที่ ๑๖)
๑. พืชไมตรี    เมื่อลมฝนโชยมาบ่อยๆครั้ง พื้นดินก็ชุ่มฉ่ำไปด้วยน้ำ พืชพรรณไม้ดอกไม้ใบที่อับเฉาเหี่ยวแห้งมาตั้งแต่ฤดูร้อน ก็กลับฟื้นตัวงอกงามขึ้นใหม่ ต่างแทงหน่อ แตกใบ สีสดเขียวสลอนไปหมด น่าดูน่าชม พืชงอกงามเพราะได้น้ำ ถ้าขาดน้ำไร้ฝนแล้วก็แห้งเหี่ยวอับเฉา มีพืชอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งต้องอาศัยน้ำเหมือนกัน แต่เป็น น้ำใจไม่ใช่น้ำฝน พืชที่ว่านี้ก็คือ พืชไมตรี นั่นเอง พืชไมตรีก็เหมือนกับพืชทั่วๆไป เพราะต้องปลูกดุจเดียวกัน
 ดังสุภาษิตพระร่วง ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง สร้างกุศลอย่ารู้โรยการปลูกไมตรีได้แก่ คิดหวังดี มุ่งดี ปรารถนาดี เพื่อผู้อื่นเป็นสุข โดยเว้นจากการเบียดเบียน มุ่งร้ายเขา ผู้ที่มีจิตเมตตา ย่อมมากด้วยไมตรี ย่อมสามารถปลูกมิตรไว้รอบข้าง หรือทุกทิศ ทุกสถาน จึงมีแต่ผู้รักใคร่นับถือ ไม่มีศัตรูมุ่งปองร้าย มีแต่ความเย็นกายเย็นใจ อันเกิดจากพืชไมตรี ที่ตนปลูกไว้งอกงามแล้วให้ผลนั่นเอง
๒. อนิจจาแม่ไก่    พอสว่าง แม่ไก่ลุกขึ้นยืน หลังจากนอนกกลูกเล็กๆไว้ใต้ปีกตลอดทั้งคืน แล้วชวนลูกออกหากินโดยคุ้ยเขี่ยอาหารให้ลูกตัวน้อยๆคอยวิ่งรับเหยื่อจากแม่ เมื่ออิ่มหนำทั่วกันแล้ว ชักเหนื่อย แม่ไก่ก็ให้ลูกๆมาซุกอยู่ใต้ปีกเพื่อให้ปลอดภัย  โอ..ความรักของแม่ ช่างลำบากด้วยการเลี้ยงลูก
 แต่พอลูกไก่ที่เติบโตใหญ่ หากินได้เองแล้ว ก็จะพ้นจากอกแม่ไก่ไป และไม่มีลูกไก่ตัวไหนเลยที่จะเลี้ยงแม่ไก่ตอบแทนคุณ อนิจจา แม่ไก่ที่น่าสงสาร ...... พ่อ แม่ ของเราก็เหมือนกับแม่ไก่ โดยต้องลำบากเลี้ยงเราจนเติบใหญ่ ทั้งเหนื่อยกาย เหนื่อยใจมากมาย แต่จะมีลูกสักกี่คนที่จะเลี้ยงดูท่านตอบแทนบ้าง
"จงเอาอย่างแม่ไก่ ที่ไม่ยอมทิ้งลูก"
 "แต่อย่าเอาอย่างลูกไก่ซึ่งโตแล้วก็ทิ้งแม่ของตน"
  พ่อแม่ของเรา มีเพียง ๒ เท่านั้น และจะอยู่เพื่อให้เราเลี้ยงท่านไม่นานนักหรอก
๓. ผู้ทำลาย    ในตัวคนๆหนึ่ง ย่อมมีทั้งผู้สร้างและผู้ทำลายอยู่ร่วมกัน ยามใดที่จิตใจเป็นปกติ ย่อมทำหน้าที่เป็นผู้สร้าง คือสร้างสิ่งของ เครื่องใช้ ตลอดจนสร้างคุณงามความดีต่างๆ
แต่ยามใดจิตใจไม่ปกติ เช่นกระทบกับอารมณ์อันไม่พึงใจ เกิดความโกรธ เกลียด ยามนั้นย่อมประพฤติเป็นผู้ทำลาย โดยเริ่มทำลายสิ่งของก่อน จากนั้นก็ทำลายคุณงามความดีของตนเองต่อไปอีก ด้วยการสำแดง
ความโหดร้าย หยาบช้าอันเคยซ่อนไว้อย่างมิดชิดให้ปรากฏออกมา บางครั้งยังอาจทำรายบุคคลที่ตนเองเคยเคารพรักอย่างลึกซึ้ง เช่น บิดา มารดา บุตร ภรรยา ดังนั้น จงพยายามเลี้ยงแต่ผู้สร้างเถิด อย่าเลี้ยงผู้ทำลายให้เติบใหญ่ในตัวเราเลย เพราะ
   ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมละกุศลทั้งมวลเสีย
๔ .ที่พึ่ง    ๔ .ที่พึ่งของคนมี ๒ อย่างคือ ที่พึ่งภายนอก กับที่พึ่งภายใน ที่พึ่งภายนอก ได้แก่บุคคลเช่น บิดามารดา ครูอาจารย์ ญาติพี่น้อง พวกพ้องเพื่อนฝูง ฯลฯ ที่พึ่งภายใน ได้แก่มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีคุณงามความดีในตนเองจนเป็นที่พึ่งของตนได้ เช่น มีความประพฤติดี มีความรู้ความสามารถ มีความเพียรพยายามดี มีความรู้จัก ประมาณในการดำรงชีวิต ฯลฯ ที่พึ่งทั้งสองอย่างนี้ พระพุทธองค์ทรงเน้นให้พยายามยึดที่พึ่งภายใน
โดยอย่ามุ่งหวังที่พึ่งภายนอกให้มากนัก เพราะไม่สามารถเป็นที่พึ่งได้ตลอดไป เช่น บิดามารดาเมื่อถึงกาลอันควรท่านย่อมจากเราไป ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงก็พึ่งได้ในบางคราว
 บางคราวที่ทะเลาะกันหรือโกรธกันก็พึ่งพาอาศัยกันไม่ได้ ส่วนคุณงามความดีนั้น จะอยู่กับเราตลอดไป เท่ากับเป็นการพึ่งตนเอง ฉะนั้นจึงควรมุ่งพึ่งตนเองดีกว่ามุ่งหวังพึ่งผู้อื่น อันใดจะดีเกินกว่าการพึ่งตนเองนั้น ย่อม
๕ .นิ่มนวล    ข้าวที่รับประทาน ถ้าแข็งกระด้าง ก็มักจะกลืนไม่ค่อยลง เสื้อผ้าที่นุ่งห่ม ถ้าเนื้อหยาบนัก ก็ไม่มีใครอยากสวมใส่ ฉันใด เป็นคนถ้านิสัยหยาบกระด้าง คือไม่นิ่มนวล และมีกริยาวาจาไม่สุภาพ ย่อมไม่เป็นที่นิยมชมชอบ
 ยากจะมีใครอยากคบหา กริยาที่นิ่มนวล วาจาที่สุภาพ จึงเป็นเสน่ห์อันเลิศที่ทำให้คนนิยมพอใจ ดุจดังข้าวอย่างดีที่น่ารับประทาน และเสื้อผ้าเนื้อละเอียดย่อมเป็นที่ปรารถนา ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่มีกริยามารยาทดี วาจาสุภาพอ่อนหวานนิ่มนวล จึงได้เปรียบผู้ที่หยาบกระด้างโดยประการทั้งปวง
๖.กระจกส่องใจ    ในสมัยพุทธกาล มีเรื่องเล่าว่า :- วันหนึ่ง พระราหุลนั่งอยู่ในสวนมะม่วงในกรุงราชคฤห์ พระพุทธองค์เสด็จไป ณ.ที่นั้น  เมื่อประทับนั่งบนอาสนะเรียบร้อยแล้ว ได้ตรัสถามพระราหุลว่า ราหุล กระจกเงามีประโยชน์อย่างไร” “มีประโยชน์สำหรับส่อง พระเจ้าข้าพระราหุลตอบ พระพุทธองค์จึงทรงประทานโอวาทแก่พระราหุลว่า ดูก่อนราหุล นี่แลฉันใด ปัญญาก็มีประโยชน์สำหรับส่องฉันนั้น ก่อนที่เธอจะทำการงานสิ่งใดพึงพิจารณาดูให้ดีก่อน ถ้ารู้ว่าการงานเป็นไปเพื่อการเบียดเบียน ตนเองก็ดี เบียดเบียนผู้อื่นก็ดี หรือทั้งตนเองทั้งผู้อื่นก็ดี การงานนั้นเธอไม่ควรทำ แม้ในขณะที่ทำอยู่ก็พึงพิจารณาอย่างนั้นอีก ถ้ารู้ว่าเป็นโทษดังกล่าวแล้วพึงงดเสีย ถ้ารู้ว่าไม่มีโทษเธอจงหมั่นทำเถิด หรือการงานที่พิจารณาเสร็จไปแล้ว ก็พึงพิจารณาอย่างนั้นอีก ถ้ารู้ว่ามีโทษก็พึงสารภาพผิดแล้วสำรวมระวังต่อไป ถ้ารู้ว่าไม่มีโทษก็พึงยินดีปราโมทย์กับงานที่บริสุทธิ์นั้นทุกคืนวันเถิดพระพุทธโอวาทที่ตรัสกับพระราหุลนี้ ถ้าเราทุกคนจะน้อมมาพิจารณาตรวจสอบดู กับการงานของเราซึ่งทำเป็นประจำ ก็จะเป็นเสมือนกระจกเงาสำหรับส่องจิตใจ เพื่อป้องกันมิให้ทำงานผืดพลาด หรือแม้ผิดพลาดไปแล้ว ก็ยังมีโอกาสกลับตัวได้โดยง่าย เพราะมีสติรู้ตัวอยู่ จึงควรน้อมพระพุทธโอวาทนี้มาสู่ตัวเราโดยทั่วกันเทอญ
๗.พกหิน    คำโบราณสอนไว้ประโยคหนึ่งว่า จงพกหินอย่าพกนุ่นนั้นมีความหมายว่า – “หินเป็นของหนัก ยากที่ลมจะพัดให้โยกหรือลอยได้ ส่วนนุ่นเป็นของเบา ยามถูกลมพัดย่อมลอยไปตามลมอย่างง่ายดาย แม้ตกลงพื้นแล้ว ครั้นลมกระพือมากลับลอยขึ้นมาใหม่อีก จะหยุดนิ่งเยี่ยงก้อนหินนั้นไม่ได้เลย คนใจหนักแน่นจึงคล้ายก้อนหิน หรือพกหิน คือควบคุมใจของตนได้ตลอดเวลา ในเมื่อต้องประสบกับอารมณ์อันชอบหรือไม่ชอบก็สะกดใจเอาไว้ได้ ไม่เคลิบเคลิ้มหลงใหลหรือแสดงความวุ่นวายออกมาให้ปรากฏ เรียกว่าไม่แสดง อาการขึ้นๆลงๆ มีลักษณะแห่งความเป็นบัณฑิต มีเหตุมีผล ไม่คล้อยตามลมปากคนอื่นง่ายๆ ส่วนคนใจไม่หนักแน่น คล้ายนุ่น หรือพกนุ่น เพราะมักแสดงธาตุแท้ให้คนเห็นง่ายๆ เพียงประสบกับอารมณ์ที่ชอบหรือไม่ชอบ ก็แสดงอาการลิงโลดและซบเซาจนเห็นถนัด ไม่มีสติควบคุมตนเอง ตลอดจนเคลิบเคลิ้มตามลมปากผู้อื่นง่ายๆ ซึ่งเป็นลักษณะของคนพาล คือคนโง่เขลาอย่างแท้จริง ฉะนั้น โบราณท่านจึงสอนว่า ให้พกหิน คือต้องเป็นคนใจหนักแน่น ทรงตัวอยู่ได้ด้วยดี และไม่โยกคลอนตามเหตุการณ์หรือลมปากของคนทั่วไป
๘.มรดกจากบรรพชน    คนเรามักพูดทำนองน้อยใจว่า ตนอาภัพนัก เพราะไม่มีมรดกให้เยี่ยงผู้อื่น จึงต้อง ตั้งตัวด้วยลำแข้งของตนเองความจริง ผู้ที่พูดเช่นนั้น ยังเข้าใจผิดอยู่มาก เพราะทุกคนล้วนได้รับมรดกจากบรรพชน ของตนๆอย่างเท่าเทียมกัน คือได้อวัยวะน้อยใหญ่ ตลอดจนสติปัญญามาเท่าๆกัน
อันร่างกาย สติปัญญา เท่าที่มีนั้น เป็นสมบัติอันประเสริฐ ดีวิเศษกว่าทรัพย์สมบัติเงินทองอื่นใดทั้งสิ้น เพราะทุกคนได้ใช้สมบัติที่ติดตัวนี้มาทำมาหากินเลี้ยงตัวเองได้โดยตลอด ทั้งยังเป็นเครื่องมือสร้างความดี สร้างบุญกุศลอย่างแท้จริง เงิน ทอง ที่ดิน อันสมมุติว่าเป็นสมบัตินั้น ย่อมกลับเป็นวิบัติได้ในกาลข้างหน้า ส่วนร่างกายที่ประกอบด้วยสติปัญญา อันเป็นสมบัติติดตัวย่อมไม่วิบัติไปได้ เพราะฉะนั้น จงภูมิใจในสมบัติเท่าที่ตนมีอยู่ โดยหมั่นระลึกว่า ร่างกาย อวัยวะ สติปัญญา และชีวิตเหล่านี้ ล้วนเป็นมรดกซึ่งบรรพชนของตนได้มอบไว้ แล้วจงพยายามใช้ทุกอย่างให้เกิดประโยชน์อันแท้จริงแก่ตนเถิด เพราะ กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ ความได้เป็นมนุษย์ เป็นการยาก
๙.หยุด    องคุลีมาลโจร ผู้เงื้อดาบไล่ตามพระพุทธองค์ เพราะต้องการสังหารคนให้ครบ ๑๐๐๐ คน แต่ไล่ตามนานเท่าไรก็ไล่ตามไม่ทัน เมื่อเหนื่อยเต็มที่แล้ว จึงร้องออกมาว่า  สมณะ หยุดก่อน หยุดก่อนสมณะ” “ดูก่อน ตถาคตหยุดแล้ว ท่านต่างหากที่ยังไม่หยุดพระพุทธองค์ตรัสตอบ
องคุลีมาลแสนจะขัดเคือง จึงกล่าวจาบจ้วงว่า  สมณะมุสา ปากว่าหยุด แต่ยังย่างเท้าเดินไปไม่ยอมหยุดตามที่พูด
เราหยุดแล้ว คือหยุดจากการฆ่า หยุดแล้วจากการทำบาปทั้งปวงอย่างเด็ดขาด ท่านสิ ยังไม่หยุด ยังยินดีในการทำบาปด้วยจิตใจอันโหดอยู่ดังนั้น
องคุลีมาลได้สติ โยนดาบทิ้ง เข้ามาหมอบแทบเท้าพระบรมศาสดา ขอบวช และภายหลังสามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์สิ้นกิเลสทั้งปวง แล้ว  ท่านล่ะ! หยุดหรือยัง ? ”
๑๐.หยาดน้ำค้าง    หยาดน้ำค้างโปรยปรายจากเบื้องบนในยามราตรี และจับตามกิ่งไม้ ใบหญ้า พอแสงอรุณรุ่งเริ่มแรงกล้าขึ้น ไม่นานก็พลันเหือดหายไป เหลือแต่คราบเล็กน้อยให้พอมองเห็น ชีวิตหนึ่งของคนเราก็ไม่ผิดอะไรกับหยาดน้ำค้าง เมื่อเกิดมาไม่นานวัน ก็ต้องก้าวสู่ความชรา ในที่สุดก็ทอดร่าง สลายไป การพิจารณาให้รู้ความจริงของชีวิตลงไปว่า เราต้องตายแน่นอน การพิจารณาอย่างนี้นับว่าไม่มีทางขาดทุนเลย เพราะเป็นเหตุแห่งความไม่ประมาท จะได้ใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งตนและโลก ถึงร่างกายจักสลายไปตามเวลา แต่คุณงามความดีที่สั่งสมเอาไว้ จะเหลืออยู่ให้อนุชนได้รับรู้ ได้พลอยชื่นชมต่อไปอีกยาวนาน คล้ายกับคราบหยาดน้ำค้างยามเช้า
๑๑.อย่าพรากจากพ่อแม่    แม่นก เมื่อตกไข่แล้ว ต้องกกรักษาฟักไข่อยู่ในรัง พ่อนกรู้หน้าที่ เที่ยวเสาะหาอาหารมาป้อนให้แม่นก จนเมื่อลูกนกออกจากไข่แล้ว ทั้งพ่อ-แม่นกต้องมีภาระเพิ่มอย่างหนัก ต้องบินขึ้น-ลง วันละหลายเที่ยว เพื่อหาอาหารมาป้อนลูกน้อยๆให้อิ่มหนำ คนมีอายุชอบเล่าเรื่องนกขุนทองให้เด็กๆฟังว่า ถ้ามีคนปีนต้นไม้มาจับเอาลูกของมันไปจากรัง เมื่อแม่นกกลับมาป้อนอาหารให้ลูก ไม่พบลูกของมัน ก็เสียใจ แม่นกจะโผบินขึ้นไปบนอากาศจนสูง แล้วหุบปีกปล่อยตัวตกลงกระแทกพื้นตาย คนเราบางคนพยายามพรากตัวเองไปจากพ่อแม่ โดยไม่ยอมเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ หลงคบเพื่อนชั่ว ทำตัวเกเรเป็นอันธพาล จึงอยู่กับพ่อแม่ในบ้านไม่ได้ ออกไปมั่วสุมก่อกรรมทำเข็ญ ในที่สุดถูกเขาจับไปติดคุกติดตาราง คล้ายลูกนกขุนทองที่ถูกคนจับพรากไปจากรัง พ่อแม่ของลูกคนนั้น ย่อมกินไม่ได้ นอนไม่หลับ และเสียใจเพราะลูก จงดูอย่างพ่อนกแม่นก ที่รักลูกของมันเถิด แล้วจงคิดถึงคุณของพ่อแม่ตนเองว่า ท่านรักเราและหวังดีต่อเราเพียงใด จงอย่าทำตัวให้ท่านทั้งสองต้องเศร้าโศกเสียใจ เพราะเราประพฤติชั่วช้าเลย จะเป็นบาปกรรมอันร้ายกาจใหญ่หลวง
๑๒.เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า    คำนี้โบราณสอนไว้ หมายความว่า ยามจำเป็นต้องเข้าป่าพงที่มีรกชัฏ ต้องมีมีดพร้าติดตัว จะได้ถากถางสิ่งขวางทาง ให้สัญจรไปได้สะดวก นำมาเทียบกับโลกที่เหมือนดังป่ารกชัฏ อันมี รัก โลภ โกรธ หลง เป็นต้น ทุกคนเหมือนผู้เดินทางอยู่ในป่านั้น ย่อมหลงวนเวียนยากจะหาทางออก กล่าวคือ สังสารวัฏฏ์ ยากจะเห็นทางหลุดพ้นไปได้ สติ อุปมาดังอาวุธ เพราะมีลักษณะให้รู้สึกตัว ไม่ให้ประมาท ไม่หลงลืม
    เมื่อกระทบอารมณ์อันเย้ายวนใจให้รัก ให้ชอบ ให้ขัดเคือง ก็ดี ย่อมยับยั้งใจไว้ได้ ไม่เคลิบเคลิ้มหลงไปตามอารนณ์นั้นๆ เยี่ยงผู้ประมาทขาดสติ ซึ่งจะต้องวนเวียนอยู่ในป่าแห่งทุกข์ชั่วกาลนาน สังสารวัฏฏ์ สติ จึงเปรียบเหมือนพร้าที่ต้องนำติดตัวไป เมื่อต้องเดินทางในป่ารก เพื่อเป็นเครื่องมือกำกับใจของตน เพื่อบุกเบิกแหวกป่าที่ขวางหน้า มุ่งตรงไปสู่ความพ้นทุกข์ หลุดออกจากป่ารกแห่งสังสารวัฏฏ์ นั่นเอง
๑๓.ความเห็นใจ    คำนี้เป็นกริยา หมายความว่า รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจตน พูดง่ายๆคือว่า รู้จักช่วยเหลือแก่ผู้อื่นบ้างในเมื่อผู้นั้นต้องประสบเคราะห์กรรม หรือทุกข์ยากลำบาก เมื่อทราบเรื่องของเขาแล้ว จึงไม่นิ่งดูดาย พยายามปัดเป่าความทุกข์เท่าที่พอทำได้
แม้จะช่วยอะไรแก่เขาไม่ได้เลย เพียงแค่แสดงน้ำใจให้เขาได้รู้ว่า ตนก็พลอยเสียใจในเหตุการณ์ที่เขาต้องประสบนั้นด้วย ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นเรื่องของคนที่ต้องอยู่ด้วยกัน หรือใกล้กัน มีการงานอันเกี่ยงข้องกัน จำต้องรู้จักช่วยเหลือแก่กันบ้าง ตามโอกาสอันสมควร แม้ช่วยอย่างอื่นไม่ได้ ก็ขอให้หัดเป็นผู้รู้จักแสดงความเห็นใจผู้อื่นบ้าง เพราะไม่ต้องใช้ทุนรอนหรือทรัพย์สินอันใดเลย เพียงแต่แสดงน้ำใจไมตรีเท่านั้น เสียเพื่อได้คือเสียนิดหน่อย แต่ได้รับความรักความนับถือ ความคุ้นเคยเพิ่มขึ้นกว่าเก่า จึงไม่ควรทำตัวเป็นคนคับแคบ แม้จะให้อะไรแก่ผู้อื่นไม่ได้ ก็จงพยายาม ให้ความเห็นใจแก่เขาเถิด เพื่อจะได้รับความเห็นใจจากเขาบ้างในภายหลัง เพราะ ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้
๑๔.นกกระต้อยตีวิด    นกที่มีขนาดเล็กเท่านกเขา แต่มีลักษณะประหลาดผิดจากนกอื่นๆทั้งหลาย คือเมื่อนอนต้องนอนหงายชูเท้าขึ้นสู่ท้องฟ้า เรื่องนี้คนโบราณเล่าว่า เพราะมันกลัวฟ้าจะถล่มทับ จึงต้องยกเท้าขึ้นเตรียมยันรับไว้ เพื่อป้องกันอันตราย มิให้ถูกฟ้าทับตาย
 ลักษณะความเข้าใจของนกกระต้อยตีวิด จึงเป็นเรื่องน่าชวนหัว หากฟ้าถล่มจริงๆ แล้วเท้าน้อยๆของเจ้านกนี้น่ะหรือจะทานน้ำหนักของฟ้าไว้ได้ ความโง่ของนกน้อยนี้ จึงมีคติให้เทียบถึงลักษณะคนบางคนได้คือ บางคนนั้น เป็นผู้ไม่ฉลาด มีความสามารถแต่เพียงเล็กน้อย แต่กลับเข้าใจว่าตนเองเก่งกาจ ฉลาดกว่าคนอื่น แล้วเหยียดหยาม ดูหมิ่น ตำหนิคนที่เขาฉลาดกว่าตน หยิ่งผยองลำพองตนว่าทำได้ทุกอย่าง แต่พอต้องรับผิดชอบเรื่องใหญ่ ด้วยความที่ตนไม่มีความรู้เพียงพอ ไม่สันทัดจัดเจน จึงทำให้งานนั้นบกพร่อง ก่อความเสียหายอย่างร้ายแรง เหมือนดังเท้าน้อยๆของนกกระต้อยตีวิด ที่คิดจะรับน้ำหนักฟ้าไว้ฉันนั้น เอาเรื่องนกนี้มาสำรวจตนเองว่า เราสำคัญผิด คิดว่าตนเองเก่งกาจ เฉลียวฉลาดเหมือนอย่างนกโง่นั้นหรือไม่เถิด
๑๕.รสปาก    สุนทรภู่ บรมครูในเชิงกลอน ได้ประพันธ์ไว้น่าฟังว่า อันรสปาก หากหวาน ก็หวานเด็ด บอระเพ็ด ก็ไม่มาก เหมือนปากขม มีดว่าคม ก็ไม่มาก เหมือนปากคม รสหวานขม ก็ไม่มาก เหมือนปากคนดังนี้ พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า ปากคนมีรสย่อ ๆ ๓ รส คือ เหม็น , หอม , และหวาน คนปากเหม็น เรียกว่า คูถภาณีได้แก่ผู้ที่มีปกติพูดเท็จจนคนทั้งหลายเกลียดชัง ไม่เชื่อถือถ้อยคำ ยิ่งพูดยิ่งทำลายตนเอง คนปากหอม เรียกว่า บุบผภาณีได้แก่ผู้พูดจริง พูดคำสัตย์ ไม่ยอมพูดเท็จแม้เป็นเรื่องเข้าข้างตนเอง จนคนนิยมเชื่อถือถ้อยคำ คนปากหวาน เรียกว่า มธุรภาณีได้แก่ผู้ที่พูดแต่คำจริง และไพเราะนิ่มนวล ได้ฟัง แล้วรื่นหู ดูดดื่ม จับใจ อยากฟังอีกไม่รู้เบื่อ ปากที่เราใช้ปล่อยคำพูดนั้น อยากให้ปล่อยเป็น คูถภาณี หรือ บุบผภาณี หรือ มธุรภาณี ก็สุดแท้แต่เราที่เป็นเจ้านายสั่งมัน ท่านสาธุชนโปรดตรองใช้กันเอาเองเถิด
๑๖.พระเดช-พระคุณ    ในโลกนี้ มีสภาพให้เกิดความสว่างตามธรรมชาตินั่นคือ ๑ ดวงอาทิตย์ ๒ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์นั้น มีลักษณะร้อนแรง มีอำนาจ ส่วนดวงจันทร์ มีลักษณะนวลเย็น น่าชม ดวงอาทิตย์เป็นดาวพระเพลิงดวงใหญ่ลอยเด่นเพียงดวงเดียวตลอดเวลา ส่วนดวงจันทร์ ลอยเด่นท่ามกลางหมู่ดาวบริวารแวดล้อมมากมาย ดวงอาทิตย์เปรียบดุจพระเดช คือผู้แสดงอำนาจน่าเกรงกลัว จึงไม่มีผู้ใดกล้าเข้าใกล้ ดวงจันทร์อุปมาดุจพระคุณ คือมีเมตตา ย่อมเป็นที่รักใคร่ จึงมีบริวารแวดล้อม ผู้มีอำนาจ หากใช้แต่พระเดช ย่อมได้รับผลแบบดวงอาทิตย์ ถึงแม้จะสว่างเป็นประโยชน์จริง แต่สว่างอย่างว้าเหว่อยู่เพียงดวงเดียว ผู้ใหญ่ที่ฉลาด ย่อมทำตัวเป็นดวงจันทร์ คือใช้พระคุณเป็นหลักในการปกครอง ลูกน้องบริวารแวดล้อมคอยรับใช้ด้วยความเต็มใจ จะใช้พระเดชเมื่อถึงคราวจำเป็นเท่านั้น ดังนี้แล
๑๗.ไม้อ้อ    ไม้อ้อ เป็นไม้ที่มีลำต้นเป็นปล้องคล้ายอ้อย แต่ข้างในกลวง ชอบขึ้นตามริมห้วย ลำธาร มีนิทานเกี่ยวกับต้นอ้อหลายเรื่อง แต่เรื่องที่คุ้นหูที่สุด คือเรื่องต้นไทรกับต้นอ้อ ต้นไทรเป็นไม้ใหญ่ คืนวันหนึ่งเกิดพายุใหญ่พัดกระหน่ำ ต้นไทรยืนสู้พายุอย่างไม่ลดละ  แต่ในที่สุด ไม่สามารถต้านทานแรงพายุได้ จึงโค่นลงลอยน้ำไปติดอยู่ที่กออ้อ ส่วนต้นอ้อ รู้จักลู่ไปตามแรงลม ไม่แข็งขืน จึงพ้นอันตรายจากพายุนั้นได้ คติของเรื่องนี้ก็คือ การทำตัวเป็นไม้อ้อโดยยอมโอนอ่อนต่อผู้มีอำนาจด้วยการไม่แข็งกระด้าง ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองในยามคับขัน ส่วนการทำตัวเป็นต้นไทร ไม่ยอมอ่อนแก่ใครเลยไม่ว่าเวลาใด มุ่งแต่อวดกล้า มีความกระด้างตลอดเวลา ย่อมเป็นเหตุทำลายตัวเองอย่างแน่นอน เพราะ วโส อิสฺสริยํ โลเก อำนาจเป็นใหญ่ในโลก
๑๘.สะดุ้งมาร    พระพุทธรูปปางประทับนั่งสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายแบหงาย พระหัตถ์ขวากุมพระชาณุ (เข่า ) นิยมสร้างเป็นพระประธานตามโบสถ์หรือวิหารในวัดต่างๆ มีอธิบายเกี่ยวกับพระพุทธรูปปางสะดุ้งมารดังนี้ว่า ในคืนวันที่พระมหาบุรุษประทับนั่งสมาธิเพื่อจักบรรลุพระสัมโพธิญาณอยู่นั้น พระยามารได้ยกพยุหเสนามากระทำห้อมล้อมคุกคามขับไล่ เพื่อมิให้ได้ตรัสรู้ แต่เวลานั้นพระรัชชกรณธรรมอันมีประจำในพระทัยให้กล้าหาญ ไม่ครั่นคร้ามต่อหมู่มาร จึงทรงใช้พระหัตถ์ขวากดกุมที่พระชาณุด้านขวาไว้มั่นคงแสดงความว่าไม่ยอมลุกขึ้น และทรงตั้งจิตอธิษฐานมั่นคงต่อสู้กับพระยามารและเสนาทั้งปวงอย่างไม่หวั่นไหว ในที่สุดด้วยบารมีธรรมอันเต็มเปี่ยมถึงที่สุดแล้ว พระยามารและเหล่าเสนาก็พ่ายแพ้ พระมหาบุรุษได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนรุ่งอรุณในราตรีนั้นนั่น เมื่อมองดูพระพุทธรูปปางสะดุ้งมารแล้ว เป็นคติเตือนใจได้ว่า เมื่อตั้งใจทำงานสิ่งใดแล้ว แม้มีอุปสรรคหรือถูกข่มขู่ให้เกรงกลัว ก็อย่ายอมพ่ายแพ้ต่ออุปสรรคเหล่านั้น จงรวบรวมความกล้าหาญ ตั้งสติให้มั่นคง และพยายามบากบั่นจนงานที่มุ่งทำสำเร็จลงได้ตามประสงค์ ดุงดังพระพุทธองค์ที่ไม่หวาดสะดุ้งต่อพระยามารและเหล่าเสนาทั้งปวงนั่นแล...
๑๙.ออมไว้ไม่ลำบาก    เม็ดฝนที่ตกลงมาทีละหยาดหยด ทำให้ภาชนะที่หงายรับเต็มด้วยน้ำฝนได้ ปลวกตัวเล็กๆสามารถสร้างรังอันใหญ่โตเกินตัวได้ ผึ้งดูดหยาดน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ทีละหยด นำมาเก็บจนได้เต็มรวงรัง ทั้งหมดนี้สำเร็จได้ด้วยความเพียรพยายาม รวบรวม สั่งสมไว้ ถ้าคนทุกคนทำตัวเหมือนเม็ดฝน เอาอย่างปลวก ขยันเหมือนผึ้ง คำว่ายากจนค่นแค้นย่อมไม่เกิดแก่ตนเองอย่างแน่นอน ผู้ที่ทำมาหากินตามกำลังความสามารถ รู้จักประมาณตนในการบริโภคใช้สอย โดยกินเพื่ออยู่ ไม่ใช่อยู่เพื่อกิน ใช้เท่าที่จำเป็น พยายามให้มีเหลือ รู้จักเก็บออม กว่าจะถึงวัยชราที่หมดสมรรถภาพ หาทรัพย์ไม่ได้แล้ว ก็มีเงินออมเพียงพอ สำหรับเลี้ยงชีพตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้ใด นับเป็นผู้มีเกียรติจนตลอดชีวิต ที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ ตราบเท่าวัยชรา การออมทรัพย์ของตนวันละเล็กละน้อย เสมือนเม็ดฝนที่ตกทีละหยาด หรือคล้ายปลวกตัวเล็กๆที่ช่วยกันก่อจอมปลวกอันสูงใหญ่ หรือเหมือนรังผึ้งที่สะสมน้ำหวานทีละเล็กละน้อยจนเต็มรวงรัง จงเริ่มต้นชีวิตใหม่ของเราเสียแต่วันนี้ด้วยการออม แล้วความสุขก็กำลังรอเราอยู่ข้างหน้านั่นแล....
๒๐.ประตูสวรรค์-บันไดทอง    ทุกศาสนาสอนเหมือนกันว่า พ่อแม่คือ ประตูสวรรค์ หรือบันไดทองของลูกโดยมีอธิบายว่า ลูกคนใดปฏิบัติชอบต่อพ่อแม่ของตน จะได้รับความสุขความเจริญตลอดไป และยังย้ำไว้อีกเช่นกันในทุกศาสนาว่า พ่อแม่เป็นขุมนรกสำหรับลูกที่ปฏิบัติผิดและละเมิดล่วงเกินต่อท่านพ่อแม่เป็นเทวดาเป็นพรหม เป็นบุรพาจารย์ และอะไรที่ประเสริฐอีกหลายอย่างแก่ลูก ชีวิตของลูกตั้งต้นมาจากพ่อแม่ ลูกที่เติบโตมาได้จนทุกวันนี้ก็ได้รับการเลี้ยงดูมาจากท่าน พระคุณของท่านจึงอยู่เหนือสิ่งประเสริฐทั้งสิ้นในโลก จนไม่มีผู้ใดคำนวณนับพระคุณ และพรรณนาพระคุณของท่านให้สิ้นสุดได้ พ่อแม่เป็นบุคคลที่ควรได้รับความเคารพเทิดทูนจากลูก ไม่ควรละเมิดล่วงเกินแก่ท่าน โลกย่อมยกย่องผู้ที่มีความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดาของตนเสมอ เริ่มต้นเดินทางกันใหม่ ด้วยการเปิดประตูสวรรค์ก้าวขึ้นสู่บันไดทองที่รอรับอยู่ข้างหน้า โดยกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ และรีบปิดทางไปสู่ขุมนรกให้หมดสิ้นกันเสียเถิดแล.....
 ๒๑.สอบตัวเอง     ปัจจุบันเรื่องการสอบกลายเป็นเรื่องสำคัญและมีความจำเป็นเกี่ยวกับทุกเพศทุกวัย เริ่มตั้งแต่เข้าโรงเรียน ก็ต้องสอบคัดเลือกกันแล้ว พอเป็นนักเรียนก็ต้องสอบเลื่อนชั้น พ้นจากการเล่าเรียนก็ต้องสอบเข้าทำงานอีก ทำงานแล้วจะเลื่อนชั้น ก็ต้องสอบชิงกันต่อ ชีวิตช่างเต็มไปด้วยการสอบเสียจริง ยังมีการสอบอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งควรสอบกันทุกคนแต่คนที่ต้องสอบกลับไม่สนใจ คือ สอบตัวเองได้แก่หมั่นตรวจตราและให้คะแนนความประพฤติของตนเอง เพื่อให้รู้ตน ดี-ชั่ว ประการใด ถ้าหากตรวจพบว่า ข้างความดียังมีมากกว่าข้างความชั่ว ถือว่า สอบได้เมื่อสอบได้ ก็ไปได้ ... ไปไหนกัน ? ไปเป็นคนอีกก็ได้ ไปสวรรค์เป็นเทวดา เป็นพรหม ก็ยังได้ และอะไรที่ดีอีกหลายอย่าง แต่หากสอบไม่ได้ ก็ไม่ได้ไปที่ดี ต้องไปนรกไปอบาย ไปเป็นกำเนิดต่ำทรามอย่างแน่นอน จะสอบอะไรก็สอบเถิด แต่อย่าลืมสอบตัวเอง ผู้หมั่นสอบตัวเองเสมอๆ ย่อมมีประโยชน์มากมาย อย่างต่ำๆที่จะได้ทันตาเห็นก็คือ จะรักษาความเป็นมนุษย์ของตนไว้อย่างน่าภาคภูมิใจเพราะ         อตฺต   หิ   ปรนํ   ปิโย    ตนเทียว เป็นที่รักอย่างยิ่ง
๒๒.ดนตรีชีวิต    ความไพเราะของดนตรี ขึ้นอยู่กับศิลปะการบรรเลง นักดนตรีต้องบรรเลงไปตามจังหวะของเพลงนั้น หากบรรเลงนอกจังหวะไปเพียงตัวเดียว ก็ทำให้เพลงนั้นลดความไพเราะลงทันที ชีวิตคนเรามีท่วงทำนองดั่งดนตรีไม่มีผิด ทุกคนมีวิถีทำนองของชีวิตมาแต่กำเนิด อดีตกรรมที่มีอยู่อย่างสลับซับซ้อน บวกกับกรรมในปัจจุบัน เป็นตัวจัดสรรให้เรามีกิจกรรม และหน้าที่แตกต่างกันออกไป คือจังหวะเพลงที่ทุกคนจะต้องบรรเลงตลอดชีวิต
โดยมีกรรมปัจจุบันเป็นเนื้อร้อง มีกรรมอดีตเป็นท่วงทำนอง นักดนตรีบางคนร้องบรรเลงเพลงชีวิตตามใจตนเอง โดยมิได้คำนึงว่าจะเข้ากันกับ ท่วงทำนองเพลงของตนหรือไม่ เขาเหล่านั้นย่อมไม่ใช่นักดนตรีที่ดี เพราะไม่สามารถทำให้เพลงเกิดความไพเราะได้ และสร้างความลำบากให้แก่นักดนตรีที่ร่วมวงคนอื่นๆ เขานั้นควรจะแยกวงออกไปลำพัง เพื่อที่จะได้ร้องและบรรเลงไปตามใจชอบของเขาและฟังเอง  สจิตฺตปริยายยุสลา  ภเวยยํ   พึงเป็นผู้ฉลาดในกระบวนจิตของตน
๒๓.กิ้งก่าได้ทอง    นิทานเก่าเล่าไว้ว่า กิ้งก่าตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ที่ซุ้มประตู พระราชาเสด็จผ่าน ก็ลงมาถวายคารวะโดยผงกศรีษะ พระราชา จึงทรงเมตตาพระราชทานเบี้ยเลี้ยงให้เป็นค่าอาหารทุกวัน วันหนึ่งคนเลี้ยงหาซื้อเนื้อที่ตลาดไม่ได้เพราะเป็นวันพระ จึงเอาทองที่พระราชทานเป็นค่าอาหาร ประจำวันนั้นผูกไว้ที่คอมันแทนก้อนเนื้อ พอมันได้ทองแล้วก็ทำหยิ่งผยอง ไม่ได้ถวายความคารวะพระราชาในวันนั้นเหมือนก่อน พระราชาทรงกริ้วจึงสั่งให้เลิกค่าเบี้ยเลี้ยงแก่มันตั้งแต่นั้นมา ทรัพย์สมบัตินั้นต้องอาศัยคุณสมบัติภายในเป็นเครื่องรองรับ มิฉะนั้นผู้มีทรัพย์ย่อมหยิ่งผยอง และทรัพย์ที่มีจักทำลายคนซึ่งขาดปัญญาอันเป็นคุณสมบัติภายในได้ เพราะ       โภคตณฺหาย   ทุมฺเมโธ   หนฺติ   อญฺเญว   อตฺตนํ   ผู้มีปัญญาทราม ย่อมฆ่าตนเหมือนฆ่าผู้อื่น เพราะอยากได้โภคทรัพย์
๒๔.เมฆฝน ๔ ชนิด     เมฆฝนซึ่งตั้งเค้าอยู่เบื้องบนอากาศนั้น มีลักษณะย่อๆ ๔ ชนิดด้วยกัน คือ
    ๑.ส่งเสียงกระหึ่มลั่น แต่ไม่ตก
   ๒.ตก แต่ไม่ส่งเสียงกระหึ่มก่อน
   ๓.บางครั้งเพียงลอยผ่านไป แต่ไม่ส่งเสียงด้วย ไม่ตกด้วย
   ๔.บางครั้งคำรามกึกก้องด้วย ตกลงมาด้วย         
เทียบได้กับบุคคล ๔ ประเภท คือ
   ๑.บางคนพูดอย่างเดียว แต่ไม่ทำ
   ๒.บางคนทำเท่านั้น แต่ไม่พูด
   ๓.บางคน ไม่พูดด้วย ไม่ทำด้วย
   ๔.บางคน ทั้งพูด ทั้งทำ
   จึงควรพิจารณาว่า เราเป็นเมฆฝนชนิดใด ?       กยิรา   เจ กยิราเถนํ      ถ้าทำการใด ก็พึงทำการนั้นจริงๆ
๒๕.เรือนรั่ว    คำโบราณสอนไว้ถึงลักษณะชั่ว อันให้ทุกข์แก่ผู้ประสพว่า มีคู่ร้าย เพื่อนบ้านชั่ว เรือนหลังคารั่ว เจ้านายชังเหล่านี้เป็นเรื่องเดือดร้อน ให้ทุกข์ ต้องวุ่นวายอย่างแท้จริง เฉพาะเรือนรั่ว หรือหลังคารั่ว เมื่อเกิดฝนตกย่อมอยู่ไม่เป็นสุขเลย จนกว่าจะซ่อมแซมให้หายรั่วนั่นแหละ บ้านเรือนหลังคารั่วยังเป็นเรือนนอก แต่ยังมีเรือนอีกชนิดหนึ่งเป็นเรือนใน ได้แก่ เรือนใจเรือนใจนี้ต้องระวังให้จงหนัก เพราะถ้ารั่วโดยถูกฝนคือกิเลสซัดจนเปียกชุ่ม ย่อมก่อให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนแก่ผู้นั้นอย่างสาหัสทีเดียว เพราะใจที่ถูกกิเลสรั่วรดย่อมไม่ใช่เป็นใจของตน กลายเป็นใจของกิเลส ทำให้โลภจัด โกรธกล้า ปัญญาสูญ สามารถทำชั่วได้ทุกอย่างโดยง่ายดาย แล้วผลกรรมย่อมมาตอบสนองอย่างสาสมเป็นประจำไม่มีเวลาสร่างซาได้เลย ฤดูฝน ทุกคนเอาใจใส่แต่เรื่องมุงหลังคาเรือนอยู่ เรือนนอนเพียงชั่วคราว ถ้าได้หมั่นอุดเรือนในคือใจไม่ให้กิเลสรั่วรดด้วย จะได้รับความสำราญอย่างแท้จริงตลอดไป เพราะ        วิสุทฺธิ    สพฺพเกลฺเสหิ    โหติ    ทุกฺเขหิ    นิพฺพุติ    ความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นความดับจากทุกข์ทั้งหลาย
๒๖.ส่งเสริมคนดี    สมัยนี้มักเสนอข่าวกันครึกโครมแต่เรื่องคนทำชั่วโดยเด็กก็ตาม ผู้ใหญ่ก็ตาม คนแก่ก็ตาม พาดหัวข่าวตัวโตๆด้วยสำนวน อันธพาลวัยรุ่นบ้าง ฆาตกรโหดบ้าง เฒ่าหัวงูแผลงฤทธิ์บ้าง ทำนองช่วยกันแพร่กระจายข่าวและเล่ารายละเอียดการทำความชั่วของบุคคลในวัยต่างๆอย่างแจ่มแจ้งอยู่เป็นประจำ จนคล้ายกับไม่สนใจสนับสนุนหรือไม่ส่งเสริมเรื่องกระทำความดีของคนทุกวัยบ้างเลย ซึ่งเรื่องนี้เองทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันไปว่า ปัจจุบันนี้มีแต่คนชั่วมากกว่าคนดี ความจริง คนดีๆก็มีอยู่มาก แต่เรื่องของคนดีมักไม่ตกเป็นข่าว ไม่ค่อยมีผู้คนสนใจช่วยเผยแพร่สู่ปวงชน อันต่างกับเรื่องของคนชั่วซึ่งมีข่าวปรากฏเป็นประจำ เราควรพร้อมใจกันยกย่องคนทำความดีให้มากกว่านี้ เพื่อให้เป็นตัวอย่างให้คนทั้งหลายได้นิยม พากันประพฤติปฏิบัติดีกันโดยกว้างขวางต่อไปเถิดหนา        สจฺเจ    อตฺเถ    จ ธมฺเม    จ อหุ    สนฺโต    ปติฏฐิตา สัตบุรุษตั้งมั่นในความสัตย์ที่เป็นอรรถและเป็นธรรม
๒๗.เนื้อสมันกับพุ่มไม้    นิทาน     เนื้อสมันตัวหนึ่ง ถูกนายพรานไล่ติดตามจวนถึงตัวเข้า จึงแอบเข้าไปซุ่มในพุ่มไม้แห่งหนึ่ง พุ่มไม้ได้ช่วยกำบังให้พ้นสายตาของนายพรานได้ โดยนายพรานมุ่งตามไปเสียทางอื่น เนื้อสมันเกิดความชะล่าใจคิดว่าพ้นภัยแล้ว จึงแทะเล็มกินใบไม้ที่เป็นพุ่มนั้น จนพุ่มไม้บางลงมองเห็นตัวได้ถนัด พอดีนายพรานย้อนกลับมาทางเก่าจึงมองเห็น และยิงถูกเนื้อสมันตัวนั้นล้มลง และก่อนจะตายได้นึกถึงโทษที่ตนทำลายพุ่มไม้ จึงสอนตนเองว่า นี่แหละ โทษแห่งการทำลายสิ่งมีคุณคติจากนิทานเรื่องนี้ เตือนใจให้คิดถึงอุปการะของท่านผู้มีพระคุณ แก่ตน แล้วไม่ทำลายหรือประทุษร้ายท่าน แต่ถ้าจะกล่าวโดยกว้างขวาง บุคคลที่มีคุณต่อตนนั้นมีทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อย หรือมีทั้งนายทั้งบ่าว ทางโลกมุ่งสอนให้ผู้น้อยสำนึกถึงบุญคุณของผู้ใหญ่ แต่ทางธรรมกลับสอนเพิ่มให้ผู้ใหญ่พยายามคิดถึงคุณของผู้น้อย ด้วยว่าเป็นผู้เชิดชูตน ช่วยเหลือรับใช้ ทำกิจการงานหนักๆแทนเรา การทำลายผู้น้อยด้วยความริษยาก็ดี พยาบาทก็ดี หรืออคติอื่นใดก็ดี เท่ากับเป็นการทำลายตนเอง อุปมาดั่งตัดมือตัดเท้าของตนเสีย ดังเช่นเนื้อสมันทำลายพุ่มไม้กำบังตน จึงต้องตายในที่สุด   สกมฺมุนา    หญฺญติ    ปาปธมฺโม     ผู้มีสันดานชั่ว ย่อมลำบากเพราะกรรมของตน
๒๘.เป็นให้เป็น     สัตว์เลี้ยงพี-ฤาษีผอมเป็นคำพังเพยที่โบราณให้ไว้เป็นคติแก่คนรุ่นหลัง สอนให้ประพฤติตนเองให้สมกับเพศและภาวะที่ตนเป็นอยู่ อันจะไม่เป็นที่ดูหมิ่นของผู้อื่น คน ได้ชื่อว่า มนุษย์เพราะมีจิตใจสูงเหนือสัตว์อื่นๆ คนจะมีความสมเป็นคนต้องมีระเบียบ การรู้จักรักษาระเบียบขนบธรรมเนียมประเพณี ทำให้คนเป็นคนพ้นห่างจากสัตว์ทั้งหลาย และ เพราะคนจะต้องอยู่กันเป็นหมู่เป็นคณะ แต่ละคนจึงมีหน้าที่และฐานะที่จะต้องปฏิบัติให้เหมาะสม เป็นเด็กก็ต้องทำหน้าที่ของเด็ก โดยมีความเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ เป็นผู้ใหญ่ก็ทำหน้าที่ของผู้ใหญ่ โดยเป็นที่พึ่งแก่เด็กด้วยจิตที่มีเมตตากรุณา นอกจากนี้อีกเช่น เป็นข้าราชการ เป็นตำรวจ ทหาร แพทย์ พ่อค้า เป็นชาย และหญิง หรือแม้แต่ สมณะ เมื่อเป็นแล้วต้อง เป็น-ให้-เป็นคือทำให้เหมาะสมตามที่เป็น ย่อมเป็นมงคล มีความรุ่งเรือง ถ้าเป็นอะไรแล้วประพฤติไม่เหมาะสมกับหน้าที่ซึ่งเป็น ย่อมเกิดอวมงคล ไร้ความเจริญอย่างแน่นอน ฉะนั้น จงเป็นให้เป็น สมกับที่ต้องเป็น        อนตฺถํ ปริวชฺเชติ อตฺถํ คณฺหาติ ปณฺฑิโต บัณฑิตย่อมเว้นสิ่งไม่เป็นประโยชน์ ถือเอาแต่สิ่งเป็นประโยชน์
๒๙.ความเคยชิน    เมื่ออ่านเห็นรถเก็บขยะมาแต่ไกล ท่านย่อมหลีกเลี่ยงหลบไป แต่ถ้าหลบไม่ได้ท่านอาจต้องกลั้นหายใจ หรือใช้ผ้าปิดจมูกเมื่อต้องเดินผ่านรถนั้น เพราะไม่ชอบกลิ่นเหม็นจากขยะต่างๆในรถ ท่านเคยคิดบ้างไหมว่า มีพนักงานที่ต้องทำงานคลุกคลีกับกลิ่นเหม็นซึ่งท่านทนไม่ได้ จริงอยู่ที่เขาเหล่านั้น ก็ทำงานเพื่อค่าจ้าง แต่หากไม่มีผู้ยอมทำหน้าที่เช่นนี้แล้ว พวกเราจะเดือดร้อนอย่างมาก นำเหตุผลเหล่านี้ให้คำตอบว่า  คนเราสามารถทำทุกอย่างได้โดยไม่รังเกียจแม้ในสิ่งที่น่ารังเกียจ โดยอาศัยความเคยชินการที่บางคนทำความชั่วบางอย่างได้ทั้งๆที่เรื่องนั้นไม่น่าจะทำได้เลย ก็เพราะเขาเคยชินต่อการทำความชั่วอันเขาทำเป็นประจำนั่นเอง มิใช่แต่การทำชั่วเท่านั้น แม้เรื่องทำความดีก็ต้องอาศัยความเคยชินเหมือนกัน ถ้าทำบ่อยๆย่อมทำได้โดยง่าย ความไม่เคยไม่ว่าทางดีหรือทางชั่ว ทำได้ยากทั้งสิ้น ท่านสาธุชน ท่านอยากจะเป็นคนดีหรือเป็นคนชั่ว ก็ย่อมเป็นได้ด้วยการทำความเคยชินจนติดเป็นนิสัยนั่นเทียว       ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน วิวารเย ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใดๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้นๆ
๓๐.มหานิยม    มนุษย์มีคุณสมบัติพิเศษอย่างหนึ่ง ที่หาไม่ได้ในบรรดาสัตว์ที่มีชีวิตด้วยกัน สิ่งนั้นคือ ยิ้มสัตว์โลกทุกชนิดที่ยกย่องว่ากันว่าเป็นสัตว์ฉลาดและฝึกหัดได้นานัปการ แต่ฝึกให้ยิ้มไม่ได้ ยิ้มของคนซื้อขายไม่ได้ ยิ้มเป็นเครื่องดึงดูดให้คนเข้าใกล้โดยปราศจากความระแวง ยิ้มสามารถเป็นเกราะป้องกันภัยให้แก่ตนเองได้ด้วย แต่ต้องเป็นยิ้มตามปกติ มิใช่ยิ้มอย่างละคร ลิเก ที่โปรยยิ้มไปรอบเวที เพราะนั่นเป็นยิ้มที่แต่งขึ้น ยิ้มแท้ต้องเป็นยิ้มที่เกิดจากใจจริง มีลักษณะเบิกบาน เยือกเย็น เป็นเครื่องดับและบรรเทาทุกข์ร้อนได้ ทำให้ผู้ยิ้มเป็นคนมีสติยั้งคิด ไม่ผลุนผลัน ฝ่ายหนึ่งหน้าบึ้งมาหาอีกฝ่ายหนึ่งยิ้มรับ เหตุร้ายย่อมกลายเป็นดี โบราณท่านจึงให้ยิ้มไว้ก่อนเสมอ ยิ้มได้เมื่อภัยมา ย่อมช่วยให้เกิดสติ ไม่ตื่นเต้นวู่วาม ในเหตุอันใดที่เกิดขึ้น ยิ้มจึงส่งเสริมให้เป็นคนมีสติ ตรงข้ามกับความโกรธซึ่งทำให้ขาดสติ ไร้ความยั้งคิด ยิ้มไม่ต้องลงทุนซื้อหา มีอยู่แล้วประจำตัวทุกคน เหมือนมีอาวุธในตัว ต้องหมั่นชโลมน้ำมันกันสนิมไว้ อย่าปล่อยให้สนิมจับจนฝืดไม่คล่องแคล่วทันท่วงที คนที่ยิ้มยาก เพราะไม่เคยยิ้ม ถึงคราวยิ้มย่อมยิ้มไม่ออก จึงควรต้องหัดยิ้มไว้เสมอๆ ยิ้มได้และยิ้มเป็นจะช่วยให้ปลอดภัยและสบายใจ

นักธรรมชั้น โท

ปัญหาธรรมอนุพุทธประวัติ
๑. อนุพุทธบุคคล คือใคร ? (พระสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ได้ตรัสรู้ตาม)
๒. สังฆรัตนะ อุบัติขึ้นในโลกเมื่อไร
?(เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าทรงประกาศพระธรรมจักรให้แผ่กระจายไปครั้งแรก)                                                       

๓. นักเรียนจะปฏิบัติอย่างไร จึงจะทำให้พระศาสนาเจริญ
? (
ต้องศึกษาเล่าเรียนธรรมคำสอนของพระพุทธ เจ้าให้เข้าใจ เมื่อมีผู้ไม่หวังดีต่อศาสนา มาสั่งสอนให้ผิดหลักธรรม จะได้อธิบายถูกต้อง)
๔. พระสงฆ์ที่ส่งไปประกาศพระศาสนาครั้งแรกนั้นมีจำนวนเท่าใด
?( ๖๐ รูป  )

๕. พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ รูป รูปไหนบ้างที่ไปประกาศพระศาสนาแล้วได้กุลบุตรมาเป็นศิษย์
? (พระอัญญาโกณทัญญะได้พระปุณณมันตานีบุตรมาเป็นศิษย์ พระอัสสชิได้พระสารีบุตรมาเป็นศิษย์ )
๖. การบวชด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ที่ประทานแก่พระอัญญาโกณทัญญะกับที่ประทานแก่พระยสะเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
? (ต่างกัน คือประทานแก่พระอัญญาโกณทัญญะว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด  ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด แต่ของพระยสะไม่มีคำว่า เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์
เพราะสำเร็จอรหัตตผล แต่ยังไม่บวช)
๗. พระอนุพุทธะรูปแรกและรูปสุดท้ายคือใคร
?(
รูปแรก คือพระอัญญาโกณทัญญะ รูปสุดท้าย คือพระสุภัททะ)
๘. พระอัญญาโกณทัญญะ รู้เห็นและเข้าใจอย่างไรก่อน จึงถือว่าเป็นปฐมอริยสาวก
?(เห็นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมี 
ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา)
๙. พระสารีบุตร ก่อนที่จะมาบวชในพระพุทธศาสนา เคยเป็นศิษย์ของใครมาก่อน
?
(เคยเป็นศิษย์สัญชัยปริพพาชก)
๑๐. พระอานนท์ฟังธรรมจากใคร จึงได้บรรลุโสดาปัตติผล
? (
พระปุณณมันตานีบุตร)
๑๑. ครั้งแรกที่พระยสะมาพบพระพุทธเจ้า ท่านได้ฟังธรรมอะไรก่อน
? (
อนุปุพพิกถา)
๑๒. คนมีลักษณะเช่นไร พระพุทธเจ้า จึงทรงแสดงอนุปุพพิกถาให้ฟัง
? (คนนั้นจะต้องมีลักษณะ ๓ ประการ คือ ๑) เป็นมนุษย์   ๒) เป็นคฤหัสถ์  
๓) ต้องมีอุปนิสัยแก่กล้าพอที่จะบรรลุธรรมได้ ณ ที่นั้น)
๑๓. พระสารีบุตร ที่ถือว่ามีปัญญามาก ทำไมจึงบรรลุพระอรหัตตผล ทีหลังบริวาร
?
(เพราะมีปัญญามากนั่นแหละจึงใช้ปัญญาพิจารณาหาเหตุผลตรึกตรอง ดูให้แน่เสียก่อนจึงเชื่อ ไม่เชื่ออย่างงมงาย ท่านจึงบรรลุทีหลัง)
๑๔. พระสารีบุตรนิพพานที่ไหน เพื่ออะไร
? (
ที่บ้านของท่านเอง เพื่อโปรดมารดาของท่าน)
๑๕. พระสารีบุตรบรรลุอรหัตที่ไหน เพราะเทศนาอะไร
?
(ที่ถ้ำสุกรขาตา เพราะเวทนาปริคคหสูตร)
๑๖. ใครที่ได้ชื่อว่า พระธรรมเสนาบดี
(พระสารีบุตร)
๑๗. ในการอนุเคราะห์ภิกษุทั้งหลาย พระสารีบุตร กับพระโมคคัลลานะ มีอุปมาอย่างไร
? (พระสารีบุตรเปรียบเหมือนมารดาที่ให้กำเนิด 
พระโมคคัลลานะ เปรียบเหมือนแม่นม หรือแม่เลี้ยง)
๑๘. พระพุทธเจ้าตรัสว่า
ตถาคตไม่สรรเสริญการคลุกคลีด้วยหมู่แต่สรรเสริญการอยู่ในเสนาสนะอันสงัด

     ดังนี้ตรัสแก่ใคร ? (ตรัสแก่พระโมคคัลลานะ)
๑๙. พระโมคคัลลานะ นิพพานที่ไหน เพราะอะไร
?  (
ที่บ้านกาฬศิลา แขวงมคธ เพราะถูกโจรทำร้าย)
๒๐. พระสารีบุตร กับพระโมคคัลลานะ ใครนิพพานก่อน
? (
พระสารีบุตรนิพพานก่อน ๑๕ วัน)
๒๑. พระมหากัสสปะบ้านเดิมอยู่ที่ไหน ท่านพบพระพุทธเจ้าที่ไหน
? (
บ้านมหาติฏฐะ เมืองมคธ ได้พบพร พุทธเจ้าที่ต้นไทร ชื่อว่าพหุปุตตนิโครธ แดนระหว่างเมืองราชคฤห์กับ นาลันทาต่อกัน
๒๒. โอวาท ๓ ข้อที่พระพุทธเจ้าประธานแก่ท่านมีใจความว่าอย่างไร
?
(มีใจความโดยย่อว่าอย่างนี้      ๑) ให้มีความเกรงใจในภิกษุทั้งหลาย      ๒) ให้ตั้งใจฟังธรรม แล้วพิจารณาหาเหตุผล      ๓) ให้มีสติรู้ตัวทุกขณะ )
๒๓. ท่านถือธุดงค์ อะไรบ้าง
? (ท่านถือธุดงค์ ๓ ข้อคือ  ๑) ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร 
๒) เที่ยวบิณบาตรเป็นวัตร
๓) อยู่ป่าเป็นวัตร )
๒๔. กษัตริย์ออกบวช คือใคร
? ( พระภัททิยะ  กับ 
พระมหากัปปินะ)
๒๕. เศรษฐีออกบวช
  คือใคร ? (
พระยสะ )
๒๖. ข้าราชการออกบวช คือใคร
? (
พระมหากัจจายนะ )
๒๗. นักบวชออกบวช คือใคร
? (
พระโมฆราช )
๒๘. ใครออกบวช เพราะศรัทธา
? (
พระรัฏฐบาล )
๒๙. ใครออกบวช เพราะเบื่อหน่าย
? (
พระยสะ กับ พระมหากัสสปะ )
๓๐. ใครออกบวช เพราะเพื่อน
? (
พระภัททิยศากยราช)
๓๑. ใครบวช เพราะจำใจ
?
(พระนันทะ)
๓๒. ใครบวช เพราะหมดที่พึ่ง
? (
พระราธะ)
๓๓. ใครออกบวช เพราะพี่
?
(พระจูฬปันถกะ)
๓๔. ใครบวชเพราะหลง
? (
พระวักกลิ เพราะหลงในรูปของพระพุทธเจ้า)
๓๕. ใครบวชเพราะต้องการของวิเศษ
? (
พระวังคีสะ เพราะต้องการเรียนมนต์)
๓๖. พระมหากัจจายนะ มีลักษณะเป็นอย่างไร
?
(เป็นคนรูปหล่อมาก ใครเห็นก็ชอบ ท่านเลยอธิษฐานให้เป็น คนอ้วน ไม่งามเหมือนเดิม)
๓๗. พระมหากัจจายนะ แก้พระเจ้ามธุรราช ว่าคน ๔ วรรณะเหมือนกันอย่างไร
? (
แก้ว่าเหมือนกันดังนี้ ๑) คนวรรณะใดก็ตาม  ถ้าเป็นคนรวย คนวรรณะอื่นก็ต้องการเข้าเป็นพวกด้วยเหมือนกันทั้งหมด ๒) คนวรรณะใดก็ตาม  ถ้าทำบาปอกุศล ก็เข้าสู่อบายเหมือนกันหมด  ๓) คนวรรณะใดก็ตาม  ถ้าทำดีทำกุศลกรรม ก็เข้าสู่คติเหมือนกันหมด ๔) คนวรรณะใดก็ตาม  ถ้าทำผิดกฎหมายบ้านเมืองก็ได้รับโทษเหมือนกันหมด ๕) คนวรรณะใดก็ตาม  ถ้าทำดี ก็ได้รับการยกย่องเหมือนกันหมด ดังนั้นทั้ง ๔ วรรณะจึงมีค่าเท่ากัน )
๓๘. พระสูตรไหนบ้างที่ท่านได้กล่าวไว้
? (ภัทเทกรัตตสูตร, มธุรสูตร, มธุปิณฑิกสูตร,
อุทเทวิภังคสูตร ฯลฯ )
๓๙. พระมหากัจจายนะ เป็นอุปัชฌาย์ของใคร
?
(พระโสณกุฏิกัณณะ)
๔๐. ใครเป็นอาจารย์ของมาณพ ๑๖ คนที่ไปทูลถามปัญหาพระพุทธเจ้า
? (
พราหมณ์พาวรี)
๔๑. หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงแก้ปัญหาจบลง มาณพทั้ง ๑๖ คนได้บรรลุธรรมอะไรบ้าง
? (
ปิงคิยะ ได้บรรลุโสดาบัน นอกนั้นบรรลุอรหัตตผลหมด)
๔๒. มาณพทั้ง ๑๖ คนมีใครเป็นหัวหน้า
?
(อชิตมาณพ)
๔๓. เมื่อฟังธรรมแล้วใครกลับไปแจ้งข่าวแก่อาจารย์
?
(ปิงคิยมาณพ)
๔๔. มาณพทั้ง ๑๖ คนใครได้รับเอตหัคคะบ้าง
? (
โมฆราชคนเดียว เป็นเอตหัคคะทางทรงจีวรเศร้าหมอง)
๔๕. ใครบวชเป็นสามเณรรูปแรก
?
(พระราหุล)
๔๖. ใครบวชด้วยวิธีไตรสรณคมน์รูปแรก และใครเป็นพระอุปัชฌาย์
?
(พระราหุล มีพระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์)
๔๗. ใครบวชด้วยญัตติจตุตถกรรม เป็นรูปแรก และใครเป็นอุปัชฌาย์
? (
พระราธะ มีพระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์)
๔๘. ใครเป็นคนทูลห้ามไม่ให้บวชคนที่มารดาบิดาไม่อนุญาต เพราะอะไร
? (พระเจ้าสุทโธทนะ เพราะพระองค์เสีย 
พระทัยหนัก ในการที่พระทุทธเจ้าบวชหลานชาย(พระราหุล))
๔๙. พระอานนท์ เป็นอะไรกับพระพุทธเจ้า
? (
เป็นน้องชาย)
๕๐. พระสาวกรูปใด บรรลุมรรคผลแปลกที่สุด
? (
พระอานนท์ บรรลุโดยปราศจากอิริยาบถ ๔ )
๕๑. พระสาวกรูปใด นิพพานแปลกที่สุด
? (
พระอานนท์ นิพพานบนอากาศ ท่ามกลางแม่น้ำโรหิณี ร่างกายแตกออกเป็น ๒ ส่วน ตกลงคนละฝั่งแม่น้ำ)
๕๒. พระอานนท์ได้รับการยกย่องกี่ทาง
? ( ๕ ทาง คือ เป็นพหูสูต, มีคติ, มีสติ, มีธิติ,
และเป็นยอดของผู้อุปัฏฐาก)
๕๓. ใครเลือกให้พระอานนท์ เป็นผู้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า
? (
เป็นมติของสงฆ์)
๕๔. อะไรบ้างที่เป็นสหชาติกับพระพุทธเจ้า
? (พระนางพิมพ, พระฉันนะ, พระกาฬุทายี, พระอานนท์,ม้ากัณฐกะ,ขุมทรัพย์,
และต้นศรีมหาโพธิ์
๕๕. ใครบ้างที่ถูกแผ่นดินสูบ เพราะอะไร
?

     ๑) พระเจ้าสุปปพุทธะ(พ่อพระเทวทัตต์และนางพิมพา)  เพราะปิดทางบิณฑบาตรของพระพุทธเจ้า     ๒) พระเทวทัตต์ เพราะทำโลหิตุบาท เป็นต้น     ๓) นางจิญจมาณวิกา เพราะใส่ร้ายพระพุทธเจ้า     ๔) นายนันทะ เพราะข่มขืนนางอุบลวรรณาเถรี     ๕) นันทยักษ์ เพราะใส่ร้ายพระสารีบุตร
๕๖. พระรัฐบาลทำอย่างไรจึงได้ออกบวช
? (
อดอาหารประท้วง)
๕๗. ใครที่ได้บวชเป็นนางภิกษุณีรูปแรก ด้วยวิธีใด
? (
พระนางมหาปชาบดีโคตมี ด้วยวิธีรับครุธรรม ๘ ประการ)
๕๘. เพราะอะไร พระพุทธเจ้าจึงไม่ต้องการให้สตรีอุปสมบท
? (
เพราะพรหมจรรย์จะตั้งอยู่ไม่ได้นาน)
๕๙. นางภิกษุณี มีขึ้นในพรรษาที่เท่าไร
? (ในพรรษาที่ ๕ )



นักธรรมชั้น ตรี

ปัญหาพุทธประวัติ
๑. ชมพูทวีปได้แก่ประเทศอะไรในปัจจุบัน ? (อินเดีย,เนปาล,ปากีสถาน,อัฟกานิสถาน,บังกลาเทศ, ศรีลังกา)
๒. พวกมิลักขะกับพวกอริยกะ ใครอาศัยอยู่ในชมพูทวีปมาก่อน ? (พวกมิลักขะ)
๓. ชนที่มีความเจริญทางขนบธรรมเนียม และอำนาจมาก คือ….(ชนชาวอริยกะ)
๔. ชมพูทวีปมีกี่ส่วน ? (มี ๒ ส่วน คือ มัชฌิมชนบท และปัจจันตชนบท)
๕. เมืองที่เป็นใจกลางของประเทศเรียกว่าอย่างไร ? (มัชฌิมประเทศ)
๖. ชนบท ๑๖ แคว้นในชมพูทวีป คือ…(อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ และกัมโพชะ)
๗. ชื่อแคว้นนอกเหนือไปจาก ๑๖ แคว้น มีเท่าไร ? (มี ๕ แคว้น คือ สักกะ โกลิยะ ภัคคะ วิเทหะ อังคุตตราปะ)
๘. ผู้ปกครองแผ่นดินในครั้งนั้น ดำรงตำแหน่งเป็นอย่างไร ? (เป็นมหาราชบ้าง เป็นราชาบ้าง เป็นอธิบดีบ้าง)
๙. การปกครองในครั้งนั้นเป็นรูปแบบใด ? (ปกครองโดยอำนาจสิทธิ์ขาดบ้าง โดยสามัคคีธรรมบ้าง บางครั้งก็เป็นอิสระบ้าง บางครั้งก็ถูกเขาปกครองบ้าง)
๑๐. ทำไมคนยุคนั้นจึงมีทิฐิมาก ? (เพราะศึกษาวิชาธรรมมาก)
๑๑. พระเจ้าโอกากราชมีพระราชโอรสกี่พระองค์ ? (มี ๙ พระองค์ คือพระราชบุตร ๔ พระองค์ และพระราชธิดา ๕ พระองค์)
๑๒. พระราชโอรสและพระราชธิดาไปสร้างพระนครใหม่ที่ไหน ? (ที่ป่าไม้สักกะ)
๑๓. ป่าไม้สักกะเป็นที่อยู่ของใครมาก่อน ? (ของกบิลดาบส) ๑๔. ในแคว้นวัชชีมีกษัตริย์วงศ์ไหนปกครอง ? (กษัตริย์วงศ์เจ้าลิจฉวี)
๑๕. ในแคว้นมัลละ มีกษัตริย์วงศ์ไหนปกครอง ? (กษัตริย์วงศ์เจ้ามัลละ)
๑๖. พระเจ้าโอกากราช มีพระราชบุตร-ราชธิดา สมสู่กันเองสืบเชื้อสายสกุลลงมาเป็นพวกไหน ? (เป็นพวกศากยวงศ์)
๑๗. ที่ได้นามว่า ศากยะ หรือสักกะ เพราะสาเหตุอะไร
(มี ๒ สาเหตุ คือ ๑. น่าจะได้ตามชื่อชนบท ๒. ท่านสันนิษฐานว่า พระบิดาทรงชมเชยว่าเป็นผู้สามารถที่ตั้งเมืองใหม่ได้ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ศากยะ หรือสักกะ)
๑๘. พระเจ้าชัยเสน มีพระราชบุตร-ราชธิดา ๒ พระองค์ คือ…(สัหนุกุมาร และพระนางยโสธรา)
๑๙. พระเจ้าสีหนุกับพระเจ้าอัญชนะ เป็นอะไรต่อกัน ? (ต่างก็ได้น้องสาวของกันและกันมาเป็นพระมเหสี)
๒๐. ใครเป็นพระราชบิดา-ราชมารดา ของพระพุทธเจ้า ? (พระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา)
๒๑. สิทธัตถะกุมาร ประสูติที่ไหน เมื่อไร ? (ที่ใต้ร่มไม้สาละ ณ สวนลุมพินีวัน ในระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะะต่อกัน เมื่อเดือนวิสาขมาส ดิถีเพ็ญ ก่อนพุทธศก ๘๐ ปี)
๒๒. เมื่อพระกุมารประสูติ ได้มีปาฏิหาริย์อะไรบ้าง ? (มีอย่างนี้ คือ
๑) พระมารดาประทับยืน
๒) ประสูติอย่างบริสุทธิ์ไม่แปดเปื้อนมลทิน
๓) มีเทวดามารับก่อน
๔) มีธารน้ำร้อนน้ำเย็นตกลงมาจากอากาศสนานพระกาย
๕) ทรงพระดำเนินได้ ๗ ก้าว
๖) ทรงเปล่งพระวาจาเป็นบุพนิมิตแห่งโพธิญาณ
๗. แผ่นดินไหว
๒๓. คติ ๒ อย่างของพระศาสดา คืออะไร
? (๑. ถ้าออกบวชจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ๒. ถ้าครองฆราวาส จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์)
๒๔. ใครที่เข้าเยี่ยมและทำนายว่ามีคติเป็น ๒ พร้อมกับกราบพระกุมารด้วย ? (อสิตดาบส)
๒๕. เจ้าชายสิทธัตถะ ศึกษาศิลปวิทยากับใคร ? (ครูวิศวามิตร)
๒๖. เจ้าชายสิทธัตถะทรงอภิเษกเมื่อเมื่ออายุเท่าไร ? (๑๖ พรรษา)
๒๗. เจ้าชายสิทธัตถะออกผนวชเมื่อพระชนม์เท่าไร ออกกับใคร ? (เมื่อ ๒๙ พรรษ กับนายฉันนะ)
๒๘. ใครที่ทำนายลักษณะของสิทธัตถะกุมารว่ามีคติอย่างเดียว คือต้องออกบวชและได้ตรัสรู้แน่ ? (โกณฑัญญะ)
๒๙. พระเจ้าสุทโธทนะทรงไหว้พระโอรสกี่ครั้ง ตรงไหนบ้าง
(๓ ครั้ง คือ ๑)ตอนอสิตดาบสกราบพระกุมารและทำนายลักษณะ ๒)ตอนพระกุมารนั่งสมาธิใต้ร่มชมพูพฤกษ์ และ ๓)ตอนที่พระพุทธเจ้าแสดงปาฏิหาริย์ ทรมานพวกญาติ)
๓๐. พระบิดาให้สร้างปราสาท ๓ ฤดู ให้พระกุมารเพื่อประโยชน์อะไร ? (เพื่อจะผูกพระกุมารให้อยู่ในราชสมบัติ)
๓๑. เทวทูต ๔ คืออะไร ? (คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต)
๓๒. เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชาในเวลาไหน ? ไปด้วยอะไร กับใคร ? (เวลากลางคืน ทรงม้ากัณฐกะออกไป พร้อมด้วยนายฉันนะเป็นคนติดตาม)
๓๓. พระองค์ทรงอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต ณ ที่ไหน ? (ที่ฝั่งแม่น้ำอโนมา)
๓๔. พระองค์คิดอย่างไรจึงพอพระทัยในบรรพชา ? (เห็นว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์เศร้าหมองได้ง่าย)
๓๕. พระองค์ตัดพระเกสาให้ยาวเท่าไร ? (ยาว ๒ นิ้ว)
๓๖. การเสด็จออกบรรพชา พระอรรถกถาจารย์แสดงไว้กี่นัย ? (๒ นัย คือ เสด็จออกในเวลากลางคืน และทรงผนวชต่อหน้าพระราชบิดาและมารดา ซึ่งกำลังเศร้าโศกอยู่) ๓๗. ผ้าที่เขาย้อมด้วยเปลือกไม้บ้าง แก่นไม้บ้างแล้วแต่จะ
หาได้ มีสีหม่นๆ คือผ้าอะไร? (ผ้ากาสายะหรือผ้ากาสาวะ)
๓๘. ไตรจีวร มีอะไรบ้าง ? (มี ๑. ผ้าสังฆาฏิ ๒. ผ้าอุตตราสงฆ์ ๓. ผ้าอันตรวาสก)
๓๙. เจ้าชายสิทธัตถะ ออกบวชเมื่ออายุเท่าไร ? (๒๙ พรรษา)
๔๐. เจ้าชายสิทธัตถะออกบวชแล้ว แสวงหาโมกขธรรมอยู่กี่ปี จึงได้ตรัสรู้ ? (๖ ปี)
๔๑. ใครเป็นผู้ทูลว่าถ้าตรัสสรู้แล้วขอให้เสด็จมาเทศนาโปรด? (พระเจ้าพิมพิสาร)
๔๒. พระองค์ได้อะไรจากสำนักของอาฬารดาบสและอุทกดาบส ?(ได้สมาบัติ ๗ ในสำนักอาฬารดาบส และได้สมาบัติ ๘ ในสำนักของอุทกดาบส)
๔๓. อาฬารดาบสและอุทกดาบส สรรเสริญพระองค์ว่าอย่างไร ? (ว่ามีความรู้เสมอด้วยตนและเชิญให้อยู่สอนศิษย์ด้วยกัน)
๔๔. ทำทุกกรกิริยาวาระแรก ทำอย่างไร ? (กัดฟันด้วยฟัน เอาลิ้นกดเพดาลไว้แน่น จนเหงื่อไหลออกจากรักแร้)
๔๕. ทุกกรกิริยาวาระที่สองทำอย่างไร ? (ทรงผ่อนกลั้นลมหายใจเข้าออก เมื่อลมเดินไม่สะดวกทางช่องจมูกและปาก ก็เกิดเสียงดังอู้ทางหูทั้งสองทำให้ปวดศีรษะ จุกเสียดในท้อง ร้อนกายอย่างแรง)
๔๖. ทุกกรกิริยาวาระที่สามทำอย่างไร ? (ทรงอดอาหารเสวยแต่วันละน้อยๆ และอาหารละเอียดจนร่างกายซูบผอมผิวพรรณเศร้าหมองจนกระดูกปรากฏทั่วกาย มื่อลูตัวขนก็หลุดร่วงไปด้วย)
๔๗. ปัญจวัคคีย์บรรพชิต ๕ รูป คือใครบ้าง ? (โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ)
๔๘. พวกปัญจวัคคีย์หนีจากพระพุทูเจ้าแล้วไปยู่ที่ใด ? (ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณส)
๔๙. พระพุทธเจ้าทำทุกกรกิริยานั้น ทำอย่างไร ? (ทำอัตตกิลมถานุโยค)
๕๐. ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันเรียกว่าอะไร ? (พุทธคยา)
๕๑. การตั้งพระทัยว่าแม้เลือดและเนื้อในกายของเราจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนังเอ็นกระดูกก็ตามเถิด ถ้าไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้วจะไม่ลุกขึ้นเรียกว่า ปณิธานอะไร
(จตุรงคมหาปธาน)
๕๒. พระพุทธเจ้าตรัสรู้ในวันไหน ?(คืนวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี)
๕๓. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คืออะไร ? (ญาณที่ทำให้ระลึกชาติก่อนๆได้)
๕๔. จุตูปปาตญาณ คืออะไร ? (ญาณที่ทำให้ทราบการจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทิพจักษุญาณ)
๕๕. อาสวักขยญาณ คืออะไร ?(ญาณอันทำให้กิเลสทั้งมวลสิ้นไป)
๕๖. ญาณทั้ง ๓ พระองค์ได้เมื่อไร ? (ได้เมื่อคืนจะตรัสรู้ คือปุพเพนิวาสานุสสติญาณได้ในตอนปฐมยาม จุตูปปาตญาณ ได้ในมัชฌิมยาม อาสวักขยญาณได้ในปจฉิมยาม)
๕๗. ใครถวายบิณฑบาตแก่พระองค์ในคราวจะตรัสรู้ ? (
นางสุชาดาบุตรีของนายบ้านเสนานิคมถวาย)๕๘. พระองค์รับบิณฑบาตรแล้ว เสด็จไปไหนและทำอะไร (ไปยังแม่น้ำเนรัญชรา ทรงสรงแล้ว จึงเสวยข้าวมธุปายาส และก็ลอยถาดในแม่น้ำนั้น)
๕๙. ใครถวายหญ้าแก่พระองค์ ?(โสตถิยพราหมณ์)
๖๐. บารมี ๑๐ ทัศ คืออะไรบ้าง ? (คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริย ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา และอุเบกขา)
๖๑. พาณิช ๒ พี่น้อง คือตปุสสะ และภัลลิกะ ไปเาพระพุทธเจ้าที่ไหน ? (ที่ใต้ร่มไม้เกต)
๖๒. การเข้าถึงพระพุทธ และพระธรรมเป็นที่พึ่ง เรียกว่าอะไร ? (เทววาจิกา)
๖๓. ดอกบัว ๔ เหล่า คืออย่างไร ? (๑. ดอกบัวที่พ้นน้ำแล้วพร้อมที่จะบาน ๒. ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ ๓. ดอกบัวที่ยังไม่ขึ้นจากน้ำ ๔. ดอกบัวที่อยู่ในเปลือกตมพร้อมจะเป็นอาหารของปลาและเต่า) ๖๔. อุปกาชีวกพบพระพุทธเจ้า ณ ที่ใด ? (ระหว่างแม่น้ำคยา กับแดนมหาโพธิ์ต่อกัน)
๖๕. พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรมเพราะธรรมเทศนาอะไร ? (ธัมมจัปปวัตตนสูตร)
๖๖. ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ใครบวชเป็นคนแรก และด้วยวิธีอะไร ? (พระอัญญาโกณฑัญญะ ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา)
๖๗. ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ด้วยเทศนาอะไร ? (อนัตตลักขณสูตร)
๖๘. ใจความของธัมมจัปปวัตตนสูตร มีความหมายว่าอย่างไร ? (ที่สุด ๒ อย่าง คือกามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค อันบรรพชิตไม่ควรประพฤติ และทรงแสดงทางสายกลางว่า บรรพชิตควรประพฤติซึ่งมีองค์ ๘ เป็นทางที่จะให้บรรลุมรรคผลได้ จากนั้นก็ทรงแสดง อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)
๖๙. เห็นอย่างไรจึงชื่อว่าดวงตาเห็นธรรม ? (เห็นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดก็มีความดับเป็นธรรมดา)
๗๐. ใจความของอนัตตลักขณสูตร มีว่าอย่างไร ? (ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ควรที่จะไปยึดมั่นถือมั่น)
๗๑. พระศาสดาทรงแสดงเทศนาอนุปุพพิกถา อย่าวไร ? (แสดงอย่างนี้คือ
ก. ทานกถา พรรณนาถึงการให้ การบริจาคก่อน
ข. สีลกถา พรรณนาถึงศีล การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย
ค. สัคคกถา พรรณนาถึงสวรรค์ คือผลของความดีที่บุคคลพึงได้ เมื่อทำทาน และรักษาศีลแล้ว
ฆ. กามาทีนวกถา พรรณนาถึงโทษของความใคร่ในกาม
ง. เนกขัมมานิสังสกถา พรรณนาถึงอานิสงส์แห่งการออกจากกาม เป็นลำดับสืบต่อกันไปอย่างนี้)
๗๒. ใครที่ปฏิญญาตนเป็น อุบาสกและอุบาสิกา โดยถึงรัตนะทั้ง ๓ เป็นที่พึ่งคนแรก ? (บิดามารดาและภรรยาของพระยสะ)
๗๓. สหายของพระยสมีเท่าไร ใครบ้าง ? (มี ๕๔ คน มีชื่อปรากฏ ๔ คนคือ วิมละ สุพาหุ ปุณณชิ ควัมปติ อีก ๕๐ คนไม่ปรากฏชื่อ)
๗๔. ชฎิล ๓ พี่น้อง คือใครบ้าง มีบรวารคนละเท่าไร ?
(๑. พี่คนใหญ่ ชื่ออุรุเวลากัสสปะ มีบริวาร ๕๐๐ คน
๒. คนกลาง ชื่อนทีกัสสปะ บริวาร ๓๐๐ คน
๓. คนเล็ก ชื่อคยากัสสปะ มีบริวาร ๒๐๐ คน)
๗๕. ชฎิล ๓ พี่น้องพร้อมด้วยบริวาร บรรลุธรรมด้วยเทศนาอะไร ? (อาทิตตปริยายสูตร)
๗๖. อาทิตตปริยายสูตร มีใจความว่าอย่างไร ? (ว่า อายตนภายใน อายตนภายนอก วิญญาณ สัมผัส และเวทนาเป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟ คือราคะ โทสะ โมหะ ร้อนเพราะความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศกร่ำไรรำพันต่างๆ)
๗๗. การบวชที่พระศาสดาทรงอนุญาตให้พระสาวกบวชได้เอง ได้แก่อะไร ?(ติสรณคมนูปสัมปทา หรือ ไตรสรณคมน์)
๗๘. ใครเป็นผู้ถวายอุทยานเวฬุวัน ? (พระเจ้าพิมพิสาร)
๗๙. เหตุใด พระพุทธเจ้าจึงประดิษฐานศาสนาในมคธก่อน ? (เพราะเป็นที่รวมอยู่ของคณาจารย์ เจ้าลัทธิต่างๆมากมาย)
๘๐. ความประสงค์ ๕ ประการของพระเจ้าพิมพิสาร คืออะไร ? ( ๑. ขอให้ข้าพเจ้าได้อภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินในมคธนี้
๒. ขอให้ท่านผู้เป็นอรหันต์ พึงมาสู่แคว้นของข้าพเจ้า
๓. ขอให้ข้าพระองค์ได้นั่งใกล้พระอรหันต์
๔. ขอพระอรหันต์พึงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า            
๕. ขอให้ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมของพระอรหันต์)๘๑. ใครได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วไปบอกเพื่อนจนได้ดวงตาเห็นธรรมตาม และเพื่อนคือใคร ?(พระสารีบุตร เพื่อน คือ พระโมคคัลลานะ) ๘๒. พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ใครได้บรรลุพระอรหันต์ก่อน ที่ไหน กี่วันจึงได้บรรลุ ? (พระโมคคัลลานะได้บรรลุก่อน ที่บ้านกัลลวาลมุตตคาม แขวงเมืองราชคฤห์ หลังจากบวชแล้ว ๗ วัน ส่วนพระสารีบุตร บรรลุที่ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ แขวงเมืองราชคฤห์ หลังจากบวชแล้ว ๑๕ วัน)
๘๓. พระอัครสาวกทั้ง ๒ ได้รับการยกย่องในทางไหน ? (พระสารีบุตร ในทางมีปัญญามาก พระโมคคัลลานะในทางมีฤทธิ์มาก)
๘๔. อุปติสสะ ได้ฟังธรรมจากใครจึงได้ดวงตาเห็นธรรม ? (พระอัสสชิ)
๘๕. พระศาสดาแสดงธรรมให้ใครฟัง พระสารีบุตรจึงได้บรรลุพระอรหันต์ตามกระแสธรรมนั้น ? (ทีฆนขอัคคิเวสนโคตร)
๘๖. ความเห็นที่ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่ข้าพระเจ้าๆ ไม่ชอบใจหมดนี้เป็นทิฏฐิของใคร ? (ทีฆนขอัคคิเวสนโคตร)
๘๗. พระศาสดาทรงเปรียบพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะเหมือนอะไร ? (พระสารีบุตรเปรียบเหมือนมารดา พระโมคคัลลานะเปรียบเหมือนนางนม)
๘๘. เมืองมคธกับอังคะ รวมเข้ากันโดยมีราชคฤห์เป็นเมืองหลวงนั้น มีอาณาเขตติดต่อกับแดนอื่นอย่างไร ?
( ก. ทิศเหนือ จรดกาสีชนบทอันสมทบกับโกศลชนบท
ข. ทิศตะวันออกจรดวัชชีชนบท
ค. ทิศใต้จรดมหาสมุทร หรือกลิงคชนบท
ง. ทิศตะวันตก จรดกับชนบทอะไรยังไม่พบหลักฐานแน่นอน)
๘๙. พระมหากัสสปะ เมื่อเป็นมาณพมีชื่อว่าอย่างไร ? (ปิปผลิมาณพ)
๙๐. พระศาสดาประทานการบวชแก่พระมหากัสสปะ โดยประทานโอวาทกี่ข้อ ณ ที่ไหน ?(๓ ข้อ ที่ใต้ร่มไม้ไทร เรียกว่า พหุปุตตนิโครธ ในระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองนาลันทาต่อกัน)
๙๑. พระศาสดาทรงอนุญาตให้พระสาวกรับเสนาสนะได้นั้น เสนาสนะมีกี่ชนิด ? (มี ๕ ชนิด คือ
๑. วิหาร เรือนที่มีหลังคาธรรมดา
๒. อัฑฒโยค เรือนที่มุงเพียงข้างเดียว
๓. ปราสาท เรือนเป็นชั้นๆที่สวยงามน่ารื่นรมย์
๔. หัมมิย เรือนที่มีหลังคาตัด มีลานที่แสงจันทร์ส่องลงมาได้
๕. คูหา ได้แก่ถ้ำในภูเขา)
๙๒. วันจาตุรงคสันนิบาต พระสงฆ์ทำกันอย่างไร เมื่อไร ที่ไหน ? (พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกัน เมื่อวันเพ็ญ เดือน ๓ ในเวลาบ่ายโดยมีเหตุ ๔ ลักษณะ คือ
๑. พระสงฆ์ที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์
๒. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนแต่เป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา
๓. พระสงฆ์เหล่านั้นมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
๔. วันนั้นเป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงเดือนมาฆะ
ทั้งนี้มาประชุมกัน ณ เวฬุวนาราม กรุงราชคฤห์)
๙๓. การทำบุญกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลไปให้แก่บิดาผู้ล่วงลับไปแล้ว เรียกว่าอะไร ? (ปุพพเปตพลี)
๙๔. บุรพบิดร มีเท่าไร อะไรบ้าง ? (มี ๓ ชั้น คือ บิดา ปู่ ทวด)
๙๕. เทวตาพลี ของพวกอริยกะ ทำกันอย่างไร ? (การสังเวยเทวดา มี ๒ ชนิด คือ
๑. สังเวยเทวดาที่ดี เพื่อให้มีความเอ็นดูยิ่งขึ้น ด้วยขนม นม เนย และผลไม้
๒. สังเวยเทวดาที่ร้าย เพื่อมิให้คิดร้ายต่อตน ด้วยเนื้อ เลือดของสัตว์ต่าง)
๙๖. สังฆกรรมที่พระศาสดามอบให้พระสงฆ์เป็นใหญ่นั้น มีกี่ประเภท ? (มี ๔ ประเภท คือ
๑. ภิกษุประชุมกันเพียง ๔ รูป เรียกว่า จตุวรรค สำหรับกรรมทั่วไป เว้นบางอย่าง
๒. ภิกษุเข้าประชุมกันเพียง ๕ รูป เรียกว่า ปัญจวรรค สำหรับอุปสมบทในปัจจันตชนบท และปวารณา ๓. ภิกษุเข้าประชุมกันเพียง ๑๐ รูป เรียกว่า ทสวรรค สำหรับอุปสมบทในมัธยมประเทศ
๔. ภิกษุเข้าประชุมกันเพียง ๒๐ รูป เรียกว่า วัสติวรรค สำหรับระงับอาบัติสังฆาทิเสส ที่เรียกว่า อัพภาน)
๙๗. ในพระพุทธศาสนา ใครทำปุพพเปตพลีครั้งแรก ? (พระเจ้าพิมพิสาร)
๙๘. คำว่าเปตชน หมายถึงคน กี่ชนิด ? (๒ ชนิด คือ ชนพวกที่ตายไปแล้วทั่วไป และบุรพบิดร คือญาติที่ตายไปแล้ว)
๙๙. ทักษิณาจะสำเร็จแก่ชนผู้ที่ตายไปแล้ว ด้วยลักษณะอย่างไร ? (สำเร็จดังนี้ คือ ผู้ตายต้องอยู่ในเปตตวิสัย และด้วยลักษณะ ๓ ประการ คือ
๑. ผู้ถวายทานอุทิศส่วนกุศลให้
๒. ปฏิคาหกผู้รับไทยธรรมนั้น เป็นทักขิเณยย ได้แก่ พระอริยะ
๓. ผู้ตายอนุโมทนาส่วนกุศลนั้นด้วย
๑๐๐. สักกชนบทนั้น แบ่งเป็นกี่นคร ? (แบ่งเป็น ๓ นคร คือ ๑. นครกบิลพัสดุ์ ๒. นครวิธัญญา ๓. นครโคธาฬี ในมหาปรินิพพานสูตร ได้เพิ่มนครโกลิยะเข้าอีกด้วย)
๑๐๑. ฝนโบกขรพรรษ คืออะไร ? (ฝนที่มีเมล็ดสีแดงเมื่อตกลงมา ผู้ใดปรารถนาให้เปียกก็เปียก ผู้ใดไม่ปรารถนา ก็ไม่เปียก)
๑๐๒. เวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรด พะเจ้าสุทโธทนะได้กราบพระองค์กี่ครั้งแล้ว ? (๓ ครั้ง คือ
๑. เมื่อเห็นกาฬเทวินดาบสกราบ
๒. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ นั่งสมาธิที่ใต้ร่มไม้ เมื่อวันพืชมงคล
๓. เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาโปรด และได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์)
๑๐๓. พระพุทธองค์แสดงธรรมโปรด พระเจ้าสุทโธทนะได้บรรลุธรรมอะไร ? (โสดาปัตติผล)
๑๐๔. พระศาสดา แสดงพระเวสสันดรชาดก แก่ใคร ที่ไหน
(แก่พระประยูรญาติ ชาวศากยะ ที่เมืองกบิลพัสดุ์)
๑๐๕. พระกาฬุทายี เป็นอะไรกับพระพุทธเจ้า ? (เป็นสหชาติกับพระองค์)
๑๐๖. อนาถบิณฑิกะ เป็นอะไรกับราชคหกเศรษฐี ? (เป็นน้องเขยของราชคหกเศรษฐี)
๑๐๗. อนาถบิณฑิกะ ได้ทำอะไรถวายพระศาสดา ? (เชตวนาราม)
๑๐๘. อนาถบิณฑิกะ ชื่อเดิมว่าอย่างไร และบรรลุธรรมอะไร ? (ชื่อสุทัตตะ บรรลุโสดาปัตติผล)
๑๐๙. สาวัตถี เมืองหลวงของแคว้นโกศล และพาราณสี เมืองหลวงของกาสี ตั้งอยู่ที่ไหน มีแม่น้ำอะไรไหลผ่าน ? (สาวัตถี ตั้งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำอจิรวดี พาราณสีตั้งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเนรัญชรา เข้าใจว่าแม่น้ำโคธาวารีไหลผ่านอาณาจักรนี้)
๑๑๐. เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาโกศล ครั้งแรก ใครเป็นกษัตริย์ปกครอง ? (พระเจ้าปเสนทิโกศล)
ปัจฉิมโพธิกาล (ปลงพระชนมายุสังขาร)
๑๑๑. พระพุทธเจ้าปลงอายุสังขารที่ไหน วัน เดือน ปี อะไร
(ที่ปาวาลเจดีย์ เมื่อวันเพ็ญเดือน ๓ ปีมะเส็ง)
๑๑๒. ในพรรษาสุดท้าย พระองค์ประทับที่ไหน เกิดเหตุอะไรขึ้น ? (ที่บ้านเวฬุวคาม และทรงประชวรอย่างหนัก)
๑๑๓. ถ้าพระองค์อธิษฐานให้ทรงพระชนม์อยู่ต่อไปตลอกกัลป์ จะอยู่ได้ด้วยอำนาจอะไร ? (อิทธิบาทภาวนา)
๑๑๔. ทำไม พระอานนท์จึงไม่อาราธนาให้พระองค์ทรงพระชนม์อยู่ต่อไป ? (เพราะมารดลใจ)
๑๑๕. เมื่อปลงพระชนมายุสังขาร เกิดเหตุอะไรขึ้น ? (เกิดเหตุต่างๆมีแผ่นดินไหวเป็นต้น)
๑๑๖. แผ่นดินไหวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า มีกี่ครั้ง ? ( มี ๖ ครั้ง คือ
๑. เสด็จลงสู่พระครรภ์
๒. ประสูติ
๓. ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
๔. แสดงปฐมเทศนา
๕. ปลงอายุสังขาร
๖. นิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน) ๑๑๗. พระองค์แสดงที่ให้พระอานนท์ ทูลเชิญอาราธนาให้ดำรงพระชนม์ต่อไปกี่แห่ง ? (๑๖ แห่ง)
๑๑๘. ใครถวายบิณฑบาตแก่พระองค์เมื่อวันจะนิพพาน และถวายอะไร ? (นายจุนทะ ถวายเนื้อสุกรอ่อน)
๑๑๙. ใครถวายผ้าสิงคิวรรณแก่พระองค์ และพระอานนท์
(ปุกกุสะ บุตรของชาวมัลลกษัตริย์)
๑๒๐. พระศาสดามีกายผุดผ่องกี่ครั้ง ? (๒ ครั้ง คือในราตรีวันตรัสรู้ และในราตรีวันจะปรินิพพาน)
๑๒๑. บิณฑบาตที่มีอานิสงส์มาก มีกี่ครั้ง ใครถวาย ? (มี ๒ ครั้ง คือ
๑. บิณฑบาตที่พระศาสดาเสวยแล้วตรัสรู้ นางสุชาดาถวาย
๒. บิณฑบาตที่เสวยแล้วปรินิพพาน นายจุนนทะถวาย)
๑๒๒. พระพุทธเจ้านิพพานที่ไหน มีพระอาการอย่างไร ? (ที่สาลวัน เมืองกุสินารา ใต้ต้นสาละทั้งคู่ โดยหันพระเศียรไปทางทิศอุดร ทรงสีหไสยาสน์ข้างขวาด้วยอาการสงบ)
๑๒๓. บูชาพระพุทธเจ้าด้วยอามิส และปฏิบัติบูชา อย่างไหน ชื่อว่าบูชาอย่างแท้จริง ? (ปฏิบัติบูชา)
๑๒๔. สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล คือที่ไหนบ้าง ?
(คือ ๑. สถานที่ประสูติ ที่สวนลุมพินี
๒. สถานที่ตรัสรู้ ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
๓. สถานที่แสดงปฐมเทศนา ที่ป่าอิสิปตน-มฤคทายวัน
๔. สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน ที่สาล -วโนทยาน เมืองกสินารา)
๑๒๕. ภิกษุสงฆ์พึงปฏิบัติในสตรีทั้งหลายอย่างไร ? (ปฏิบัติอย่างนี้ คือ
๑. ไม่เห็นเสียเลย เป็นการดี
๒. ถ้าเห็นไม่ควรเจรจา
๓. ถ้าเจรจาต้องมีสติ)
๑๒๖. ผู้ที่ควรจะทำสถูปไว้ให้คนทั่วไปได้สักการะบูชา เรียกว่าอย่างไร มีใครบ้าง ?(เรียกว่าถูปารหบุคคล มี๔ คือ
๑. พระพุทธเจ้า
๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า
๓. พระอรหันตสาวก
๔. พระเจ้าจักรพรรดิราช)
๑๒๗. ปัจฉิมสาวก คือใคร ? (สุภัททปริพพาชก)
๑๒๘. สุภัททปริพพาชก ใครเป็นผู้บวชให้ ? (พระอานนท์)
๑๒๙. พระศาสดาก่อนปรินิพพาน ได้ตรัสบอกภิกษุสงฆ์ทำอะไรแก่พระฉันนะ ? (ลงพรหมทัณฑ์)
๑๓๐. ปัจฉิมโอวาทของพระพุทธองค์ มีเนื้อความว่าอย่างไร ? (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมความฉิบหายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ตนและผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด)
๑๓๑. พระศาสดานิพพานระหว่างเข้าฌานอะไร กับฌานอะไร ? (ในระหว่างจตุตถฌาน กับอากาสานัญจายตนะต่อกัน)
๑๓๒. ใครบอกว่า พระองค์นิพพานระหว่างฌานนั้น ? (พระอนุรุทธ)
๑๓๓. ตอนพระองค์นิพพาน มีพระเถระผู้ใหญ่กี่รูป ? (มี ๒ รูป คือพระอนุรุทธ กับพระอานนท์)
๑๓๔. เหตุไร พระองค์จึงเสด็จไปนิพพานที่เมืองกุสินารา ?
(เพราะเป็นเมืองที่รุ่งเรืองมาก่อน สมบูรณ์ด้วยสมบัติทุกอย่าง)
๑๓๕. เมื่อจะนิพพาน พระองค์ได้ให้ผู้ใดเป็นผู้แทนพระองค์ หรือตรัสสั่งไว้อย่างไร ? (มิได้มอบให้พระเถระรูปใดเป็นผู้แทนพระองค์ แต่ตรัสให้พระธรรมวินัยเป็นผู้แทนพระองค์
อปรกาล (เหตุการณ์ภายหลังปรินิพพาน)
๑๓๖. พระสรีระของพระองค์ได้ถูกอัญเชิญไปดิษฐาน เพื่อถวายพระเพลิง ณ ที่ใด ? (ณ มกุฏพันธนเจดีย์ ด้านตะวันออกของกรุงกุสินารา)
๑๓๗. หลังจากนิพพานแล้วกี่วัน จึงถวายพระเพลิง ? (๘ วัน) ๑๓๘. เมื่อจะถวายพระเพลิงพระมหากัสสปะพร้อมด้วยบริวาร มาจากเมืองไหน ? (เมืองปาวา)
๑๓๙. ถวายพระเพลิงแล้ว มีอะไรเหลือบ้าง ? (มีพระอัฏฐิ, เกศา, โลมา, ทันตา, กับผ้าอีกครู่หนึ่งเหลืออยู่)
๑๔๐. เมื่อถวายพระเพลิงแล้ว มีเมืองต่างๆกี่เมืองที่ส่งทูตมาขอพระอัฏฐิ ? (มี ๗ เมือง)
๑๔๒. กษัตริย์เมืองไหนที่ได้พระอังคารไป ? (โมริยกษัตริย์ เมืองปิปผลิวัน)
๑๔๓. การถวายพระเพลิง ทำกันอย่างไร ? (หุ้มด้วยผ้าขาวมีสำลีซับถึง ๕๐๐ ชั้น แล้วบรรจุลงในรางเหล็ก)
ปัญหาที่สนามหลวงชอบออก
๑๔๔. พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในวงศ์อะไร ? (ในศากยวงศ์)
๑๔๕. พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร จึงได้นามว่า อรหํ, สมฺมาสมฺพุทฺโธ” ? (ตรัสรู้อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)
๑๔๖. เจดีย์ ๔ ประเภท อันเป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธเจ้า มีอะไรบ้าง ? (คือ ๑ ธาตุเจดีย์ ๒ . บริโภคเจดีย์ ๓. ธรรมเจดีย์ ๔. อุทเทสิกเจดีย์)
๑๔๗. อุปสมบทกรรมมีกี่อย่าง อะไรบ้าง ? (มี ๓ อย่าง คือ ๑. เอหิภิกขุอุปสัมปทา ๒. ติสรณคมนูปสัมปทา ๓. ญัตติจตุตถกรรม)
๑๔๘. ทรงปรารภเหตุอะไร จึงเสด็จออกบรรพชา ? (ปรารภ ความแก่ ความเจ็บ และความตาย)
๑๔๙. อภิญญาเทสิตธรรม คืออะไรบ้าง ? (คือสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน๔ อิทธิบาท๔ อินทรีย์๕ พละ๕ โพชฌงค์๗ มรรค๘)
๑๕๐. เสด็จนิพพานที่เมืองไหน ประชวรพระโรคอะไร เก็บไว้นานเท่าไรจึงถวายพระเพลิง ? (ที่เมืองกุสินารา ประชารพระโรคลงพระโลหิต เก็บพระศพไว้ ๘ วัน จึงถวายพระเพลิง)
๑๕๑. เมื่อพระองค์นิพพานแล้ว ใครเป็นผู้จัดการพุทธสรีระ จัดตามแบบไหน ? (พวกมัลลกษัตริย์ จัดตามแบบพระบรมศพพระเจ้าจักรพรรดิ)
๑๕๑. โทณพราหมณ์ได้กล่าวสุนทรพจน์ ในวันแจกพระบรมสารีริกธาตุ ใจความย่อพอถือคติว่าอย่างไร ?
( ก. แถลงว่า พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญขันติธรรม และตำหนิในการทำสงครามกัน
ข. ชวนให้สามัคคีร่วมใจกัน แล้วแบ่งส่วนพระบรมสารีริกธาตุให้นำไปประดิษฐานในนานาประเทศ)
๑๕๒. ในพรรษาแรก ตรัสสอนธรรมอะไรบ้าง ?
( ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
๒. อนัตตลักขนสูตร
๓. อนุปุพพิกถา
๔. อริยสัจ
๕. ปกิณกเทศนา)
๑๕๓.ระบบการปกครองประเทศชาติของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร ? (ปกครองโดสามัคคีธรรม)
๑๕๔. ธรรมอะไรบ้างที่เรียกว่า อริยธรรม” ? (ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ เรียกว่า อริยธรรม)
๑๕๕. วัดแรกในพระพุทธศาสนา ชื่ออะไร ตั้งอยู่ที่ไหน ใครเป็นผู้ถวาย ? (ชื่อวัดเวฬุวัน ตั้งอยู่ที่อุทยานเวฬุวัน ใกล้กรุงราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารถวาย)
๑๕๖. ปาวาลเจดีย์ มกุฏพันธนเจดีย์ และอานันทเจดีย์ เกี่ยวข้องกับพระศาสดาอย่างไร ? (ปาวาลเจดีย์ เป็นที่ทรงปลงพระชนมายุสังขาร มกุฏพันธนเจดีย์ เป็นที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ อานันทเจดีย์ เป็นที่แสดงมหาประเทศ) ๑๕๗. ใครเป็นปฐมสาวกและปัจฉิมสาวก ? (พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นปฐมสาวก พระสุภัททะ(ปริพพาชก) เป็นปัจฉิมสาวก)
๑๕๘. ก่อนที่พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก ประชาชนนับถือศาสนาอะไร ? (ศาสนาพราหมณ์)
๑๕๙. อนุปุพพิกถา คืออะไรบ้าง ทรงแสดงแก่ใคร ที่ไหนเป็นครั้งแรก ? (คือ ทาน ศีล สวรรค์ กามาทีนพ และเนกขัมมานิสงส์ ทรงแสดงแก่พระยส ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เป็นครั้งแรก)
๑๖๐. ทรงแสดงอนุปุพพิกถา แก่คนผู้พร้อมด้วยองค์อะไรบ้าง ? (พร้อมด้วยองค์ ๓ คือ ๑. เป็นมนุษย์ ๒. เป็นคฤหัสถ์ ๓. มีอุปนิสัยแก่กล้าควรบรรลุโลกุตตรธรรม)
๑๖๑. ปฐมเทศนา ปัจฉิมเทศนา ได้แก่เทศนาอะไร ? (ปฐมเทศนา ได้แก่ พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตรฯ ปัจฉิมเทศนา ได้แก่อัปปมาทธรรม)
๑๖๒. การทำสังคายนา ให้เกิดประโยชน์แก่ศาสนาอย่างไร
(ให้ประโยชน์ดังนี้
๑. กำจัดเสี้ยนหนามของพระศาสนาให้สูญสิ้นไป
๒. ให้จัดระเบียบวางรูปการศาสนาให้เป็นไปตามธรรมวินัย
๓. สืบอายุพระศาสนาให้ดำรงอยู่ได้นาน)