จารุวณฺโณภิกฺขุ

จารุวณฺโณภิกฺขุ
สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

กระดานข่าวคณะสงฆ์

กระดานข่าวคณะสงฆ์อำเภอเมืองสรวง
โครงการพัฒนาคุณธรรมแก่เด็กและเยาวชน
เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ระห่างวันที่  10 - 12  กุมภาพันธ์  2554


โดย  พระครูปริยัติกัลยาณกิจ  วัดปทุมวนาราม  บ้านบัวป่า  ตำบลคูเมือง 
อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด
จำนวน  200  คน

โครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ

เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ระหว่างวันที่  15 - 20  กุมภาพันธ์  2554



โดย  พระอธิการวชิระ  ชุติปญฺโญ 
เจ้าอาวาสวัดเมืองสรวงใหญ่
  ลานธรรมวัดเมืองสรวงใหญ่  บ้านเมืองสรวง  ตำบลเมืองสรวง 
อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด
โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน
เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เยาวชนเพศชาย  ตั้งแต่  10 - 13  ปี 

โดย  พระครูเกษมบุญญาทร
เจ้าอาวาสวัดศรีสุริยาป่ายาง
  วัดศรีสุริยาป่ายาง  บ้านป่ายาง – วนาทิพย์    ตำบลหนองผือ 
อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด
เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สื่อการเรียนการสอน2554

การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนศีลธรรมในโรงเรียน

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

ประเพณีบุญชาวเมือง 2553

ประเพณีงานบุญชาวเมือง  2553
           เทพนครเรืองนาม  เขตคามธูปหอม  งามพร้อมวัฒนธรรม  ค่าล้ำไหมชั้นดี  
มากมีเกลือสินเธาว์  ตำนานเก่าหมาสรวงงูซวง  ทุ่งกว้างวังอีผุย
      ประวัติการตั้งอำเภอเมือสรวง 
   ท้องที่อำเภอเมืองสรวงเป็นเมืองเก่าในจังหวัดร้อยเอ็ด มีอายุประมาณ 2,000 ปี มาแล้ว ตามที่ปรากฏในตำนาน อุรังคธาตุ ว่า เมืองสรวงเป็นเมืองหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับเมืองร้อยเอ็ด ซึ่งในสมัยนั้น เรียกเมืองร้อยเอ็ดว่า "สาเกตุนคร" และเป็นเมืองหลวงอาณาจักร กุลุนทะ ซึ่งมีเมืองหน้าด่านอยู่ถึง 11 เมือง คือ
1.เมืองเชียงขวาง - เชียงดี (บ้านจาน - ย้านหัวโนน อำเภอธวัชบุรี)
2.เมืองไพร (บ้านเมืองไพร อำเภอเสลภูมิ)
3.เมืองฟ้าแดด (บ้านฟ้าแดดสูงยาง อำเภอกมลาไสล จังหวัดกาฬสินธุ์)
4.เมืองสีแก้ว (บ้านสีแก้ว อำเภอเมืองสร้อยเอ็ด)
5.เมืองเชียงเหียน (บ้านเชียงเหียน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม)
6.เมืองเปือย (บ้านเมืองเปือย อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด)
7.เมืองจำปาศรี (อยู่ในอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม)
8.เมืองทอง (บ้านเมืองทอง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด)
9.เมืองหงษ์ (บ้านเมืองหงษ์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด)
10.เมืองบัว (บ้านเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด)
11.เมืองสรวง (วัดเมืองสรวงเก่า อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด)
   แต่ในประวัติของมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดร้อยเอ็ด (พ.ศ.2527)กล่าวถึง เมืองทองว่าอยู่บริเวณอำเภอเมืองสรวงเมื่อสืบค้นดูปรากฎว่า ในอำเภอเมืองสรวง มีเมืองคอย อยู่ที่บ้านข่อย ตำบลหนองหิน อำเภอเมืองสรวง และเมืองคอง อยู่ที่บ้านเมืองคอง ตำบลหนองขาม อำเภออาสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ดบริเวณเมืองสรวงเก่า เป็นป่าไม้มีไผ่ป่าขึ้นอยู่เต็ม มีคูเมืองล้อมรอบทั้ง 4 ทิศ มีเนินดินอยู่กลาง ลักษณะคล้ายหมู่บ้านดงละคอน ในอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก คือสีสระอยู่ทางทิศใต้ ซากปรักหักพัง ที่เหลือให้เห็นอยู่คือ "ปรางค์กู่" อยู่บริเวณในกลางมีฐานก่อสร้างตัวอิฐเดิมทีเดียวอำเภอเมืองสรวง เป็นพื้นที่ 2 ตำบล ของอำเภอสุวรรณภูมิ คือ ตำบลหนองผือ และตำบลสูงยาง เมื่อจะเสนอของตั้งชื่อกิ่งอำเภอ ได้แยกตำบลน้ำคำและตำบลหนองผือออกตั้งเป็นตำบลหนองหิน กับแยกตำบลหนองผือและตำบลสูงยาง ตั้งเป็นตำบลหนองผือ และตำบลคูเมือง  ทั้งนี้ ได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทย เมื่อ ปี พ.ศ. 2509 พ.ศ. 2510
               เมื่อวันที่  28  กุมภาพันธ์  2516  กระทรวงมหาดไทย(โดยนายพ่วง  สุวรรณรัฐ)  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย  ได้ประกาศจัดตั้งกิ่งอำเภอเมืองสรวง และได้รับอนุมัติเมื่อวันที่  15  มีนาคม  2516  โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เล่มที่  90  ตอนที่ 26 หน้าที่  817  ลงวันที่  20  มีนาคม  2516  ประกอบด้วย  3  ตำบล  คือ ตำบลหนองผือ  ตำบลหนองหิน  ตำบลคูเมือง  ส่วนราชการต่าง  จัดส่งเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2516
                ต่อมาได้มีพระชากฏษฎีกาตั้งอำเภอเมืองสรวง  โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่มที่ 96  ตอนที่ 42 หน้าที่ 22   ลงวันที่ 25 มีนาคม 2522 มีผลตั้งแต่วันที่  26  มีนาคม  2522  (โดย ส.โหตระกิตย์) รองนายกรัฐมนตรี และต่อมาในปี  2528   ได้แบ่งแยกตำบลหนองผือ ตำบลคูเมือง และตำบลหนองหิน ขอตั้งเป็นอีกตำบลหนึ่งคือ ตำบลกกกุง ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2528  ต่อมา พ.ศ. 2529 ได้แบ่งแยกตำบลหนองผือ ออกเป็นอีก 2 ตำบล คือ ตำบลหนองผือ และตำบลเมืองสรวง  ได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2529
                ในปี  2544  สุขาภิบาล(เมืองสรวง)ได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลเมืองสรวง  ต่อมา ปี 2537 กรมการปกครองได้ยกฐานะสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล 3 ตำบล คือตำบลกกกุง ตำบลคูเมือง ตำบลหนองหินแบ่งการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 49 หมู่บ้าน   มี อบต. 3 แห่ง เทศบาลตำบล(เมืองสรวง) 1 แห่ง
                 และในปี  2552(วันที่ 27  ตุลาคม  2552)  กระทรวงมหาดไทย  ได้ประกาศจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งสามแห่ง(กกกุง  คูเมือง  หนองหิน) เป็นเทศบาลตำบล   จึงทำให้ปัจจุบันอำเภอเมืองสรวง  ประกอบด้วย 5 ตำบล 49 หมู่บ้าน มีเทศบาลตำบล 4 แห่ง   


   เมืองสรวง เดิมชื่อเมืองขวางขันธะบุรี ขุนบรมเป็นผู้สร้างขึ้นก่อนพุทธกาลประมาณ 203 ปี ขุนบรมมีบุตรีคนหนึ่งชื่อว่า กลองศรี ต่อมาได้มีสัตว์ประหลาดคือ งูซวง มีกำลังมากมายกินคนตามบ้านนอกและในเมืองเป็นประจำจนคนตายเกือบหมด ขุนบรมไม่มีวิชาที่จะสู้กับงูได้เห็นทีจะต้องตายเมื่อคิดว่าตนจะต้องตายจึงคิดหาอุบายทดสอบดูว่าจะมีผู้รอดชีวิตอยู่ได้หรือไม่ จึงเอาลูกสาวไปซ่อนไว้ในกลองเพล แล้วปิดหุ้มไว้อย่างดี หาเสบียงไว้ให้พร้อมครั้นเวลาต่อมาท้าวคันธะนาม ซึ่งเป็นลูกชายหญิงหม้ายชาวนาเมืองศรีษะเกาหรือเมืองสาเกตุ ตามประวัติว่าท้าวคันธะนามได้ติดตามหาบิดาผู้บังเกิดเกล้าเพราะพ่อเป็นช้างจึงไม่สามารถให้ลูกชายเข้าพบได้เมื่อท้าวคันธะนามเดินทางไปพบชายคนหนึ่งลากเกวียนได้100 เล่ม และชายอีกคนหนึ่งลากกอไผ่ได้ 100 กอง จึงได้ชักชวนไปเป็นเพื่อนติดตามหาพ่อ พอไปถึงกลางป่าได้พบสัตว์ประหลาดที่มีกำลังมากชื่อว่า กินายโม้ จึงร่วมกันฆ่าสัตว์นั้นสำเร็จ แล้วออกเดินทางไปเรื่อย พบเมืองร้างเมืองหนึ่งไม่มีคนจึงเข้าไปดูความว่าเมืองนั้นถูกพญาอินทรีย์กินตายหมด เหลือแต่ลูกสาว ซึ่งชาวเมืองเอาไปซ่อนไว้ในเสาปราสาท ซึ่งพระยาเมืองนั้นได้สั่งให้ช่างทำไว้เป็นพิเศษ ทั้งสามได้ทราบรายละเอียดว่า นางนั้นชื่อสีไว ท้าวคันธะนามจึงรับไว้เป็นภรรยา ต่อจากนั้นก็ออกติดตามหาพ่อไปเรื่อย  จนถึงเมืองขวางขันธะบุรี (เมืองสรวง) เห็นเมืองเงียบสงัดเพราะชาวเมืองถูกงูซวงมากินตายหมด มิหนำซ้ำหมาสรวงมาคอยกินเนื้อที่เหลือจากงูซวงกินไม่หมดอีกด้วย เมื่อทั้งสามเข้าสู่ตัวเมือง ปรากฏว่าไม่มีคนอยู่เลย คงเห็นแต่กองกระดูกและกองเพลใหญ่น่าประหลาด ครั้นตรอกลองเพลดูจึงรู้ว่ามีคนอยู่ในกลองเพลนั้น ซึ่งเป็นลูกสาวเจ้าเมืองนั้นชื่อว่า กลองศรี ท้าวคันธะนามจึงรับไว้เป็นภรรยาคนที่สอง ต่อจากนั้นติดตามหาพ่อและพบพ่อซึ่งเป็นช้างเผือกในกาลต่อมา นางทั้งสองซึ่งเป็นภรรยาท้าวคันธะนามที่อยู่ทางบ้านต่างก็คลอดบุตรออกมาเป็นชายทั้งคู่ นางสีไวได้บุตร ชื่อคันธะเนตร นางกลองศรีได้บุตรชื่อ คันธะจันทร์ ต่อมาเมื่อท้าวคันธะนาม พร้อมทั้งชายไผ่ร้อยกอและชายเกวียนร้อยเล่มได้กลับสู่เมืองจึงได้แต่งตั้งให้ชายทั้งสองไปรักษาเมืองต่าง  ส่วนบุตรทั้งสองได้เกิดขัดคอกัน จนรบกันเองฝ่ายคันธะจันทร์ เป็นผู้ชนะได้ปกครองเมืองขวางขันธะบุรี ต่อมาเมืองก็ตกเป็นเมืองร้างอีก เพราะเมืองขวาง    ขันธะบุรี เกิดวุ่นวายอยู่เรื่อย  ขาวเมืองจึงได้ปรึกษาหารือกันควรจะตั้งชื่อเมืองใหม่ ให้ชื่อตามงูซวงและหมาสรวง เพราะรุ่นหลังถือว่าสัตว์ทั้งสองนี้มาจาก "สวรรค์" จึงได้ตั้งชื่อเมืองใหม่ว่า "เมืองสรวง" มาจนถึงทุกวันนี้ดังนั้น คนเมืองสรวงยุคต่อมาในระหว่างที่พระพุทธศานาเผยแพร่เข้ามา คนที่มีความเชื่อถือเรื่อง ผีสางนางไม้ จึงเชื่อว่า สัตว์ทั้งสองนี้มาจาก สวรรค์  พะยาแถน ส่งมาเพื่อล้างผลาญคนที่เป็น "อธรรม" จะเห็นจากตอนงูซวงลงมากินคน ต้องพ่นพิษมีละอองเป็นฝนตกตลอด 7 วัน 7 คืน คนสมัยนั้นจึงเชื่อกันว่า ถ้าปีใดให้ฝนแล้ง เพราะพระยาแถน ไม่ส่งงูซวงลงมาพ่นพิษ คนชาวเมืองจึงเก็บดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระยาแถนเพื่อขอฝน แต่การที่เอาดอกไม้ธูปเทียนบูชานั้น กลิ่นธูปควันเทียนคงไปไม่ถึงพระยาแถนแน่ จึงได้คิดทำบั้งไฟบูชาพระยาแถนจนเป็นประเพณีมาตราบทุกวันนี้ เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนห้า หมู่บ้านชาวอำเภอเมืองสรวง โดยเฉพาะตำบลในเขตอำเภอเมืองสรวง จะต้องจัดทำบั้งไฟและนำไปจุดบูชาเป็นประเพณีทุกปี นี้คำตำนานความเป็นมาของอำเภอเมืองสรวงโดยสังเขป

 
                                                                                                                                                                                                                           



 
                                                        












วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

ธรรมทูต 2554

พระธรรมทูตประจำอำเภอเมืองสรวง
พระธรรมทูต  (อ่านว่า -ทำมะทูด)  พระธรรมจาริก หมายถึง  ภิกษุ  ที่เดินทางไปแสดงธรรม  ในที่ต่างๆ ทำหน้าที่เหมือนทูตทางธรรมหรือทูตของพระศาสนา
พระธรรมทูตเริ่มมีครั้งแรกเมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจนมีพระสาวกมากรูปแล้วจึงส่งพระสาวกเหล่านั้นไปประกาศธรรมในทิศต่างๆ โดยตรัสว่า "เธอทั้งหลายจงจาริกไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชุมชน เพื่ออนุเคราะห์แก่ประชุมชน" ดังนี้เป็นต้น
พระธรรมจาริก มีความหมายเดียวเช่นเดียวกันกับพระธรรมทูต แต่เป็นคำบัญญัติที่เกิดที่หลังคำว่าพระธรรมทูต
ปัจจุบันแบ่งพระธรรมทูตออกเป็น 2 ประเภทคือ พระธรรมทูตในประเทศ กับ พระธรรมทูตต่างประเทศ


วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

ตำบลเมืองสรวง

ตำบลกกกุง

ตำบลคูเมือง

ศาลาการเปรียญวัดปทุมวนาราม
ตำบลคูเมือง  อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด

ตำบลหนองผือ

ประวัติวัดเมืองสรวงเก่า
วัดเมืองสรวงเก่า  ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๙๙บ้านโนนค้อ  หมู่ที่ ๖  ตำบลหนองผือ  อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  มีพระมหาสาคร  สาคโร (สุเมฆ)  อายุ ๓๘ พรรษา ๑๘ เป็นเจ้าอาวาส ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๐๐ ไร่  โดยมีอาณาเขตทิศเหนือ ๑๐  เส้น  จดที่สาธารณประโยชน์  ทางทิศใต้  ๑๐  เส้น  จดที่สาธารณประโยชน์  ทางทิศตะวันออก   ๑๐  เส้น  จดที่สาธารณประโยชน์  ทางทิศตะวันตก    ๑๐  เส้น  จดที่สาธารณประโยชน์
ประวัติความเป็นมา
วัดเมืองสรวงเก่า เดิมชาวบ้านเรียกจนติดปากว่าโนนเมืองเพราะเป็นเมืองเก่ามาก่อน ใจกลางเมืองมีซากเจดีย์เก่า ฐานล่างก่อด้วยศิลาแลงข้างบนก่อด้วยอิฐเผาส่วนยอดพังลงมาเหลืออยู่บางส่วนสูงประมาณ ๔ เมตร ภายในบริเวณวัดมีโบราณวัตถุเช่นไห หม้อ กำไรข้อมือฯลฯ บริเวณโดยรอบมีป่าไม้รกทึบสลับป่าไผ่ ต่อมามิจฉาชีพได้ลักลอบขุดเจดีย์ทำให้เจดีย์ได้รับความเสียหาย  คณะสงฆ์และประชาชนอำเภอเมืองสรวงจึงได้  นิมนต์พระมหาสุวิช   อมโร ป.ธ. ๕ มาเป็นผู้นำในการพัฒนาวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระจำพรรษาเป็นการรักษาไว้ซึ่งโบราณสถาน ท่านได้นำพาคณะสงฆ์และประชาชนสร้างเสนาสนะเป็นถาวรวัตถุขึ้นจนได้รับการประกาศยกวัดร้างเป็นวัดมีพระสงฆ์  เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.  ๒๕๓๑
วัตถุประสงค์
๑.  เพื่อรักษาโบราณวัตถุ โบราณสถาน เพื่อเป็นมรดกของอำเภอเมืองสรวง
๒.  เพื่อเป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมต่างๆ  เช่นประชุมพระสังฆาธิการ  ในเขตของคณะสงฆ์อำเภอเมืองสรวง    ตำบล  ๓๐  วัด
๓.  เพื่อเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม แผนกบาลี และแผนกสามัญศึกษา
๔.  เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมเจริญจิตภาวนา
เสนาสนะภายในวัด
๑.  หอสวดมนต์   กว้าง  ๑๒  เมตร  ยาว  ๓๓  เมตร  สร้างเมื่อ  พ.ศ.  ๒๕๓๐
๒.  กุฎีสงฆ์ ๖  หลัง
 ๓.  ศาลาเอนกประสงค์ (ศาลาลาย) กว้าง   เมตร ยาว ๘๐ เมตร  สร้างเมื่อ  พ.ศ.  ๒๕๓๑
๔.  โรงครัว    หลัง   กว้าง    เมตร  ยาว  ๑๖   เมตร  สร้างเมื่อ  พ.ศ.  ๒๕๔๙
๕.  ห้องน้ำห้องสุขา     หลัง  จำนวน  ๑๙  ห้อง
๖.  อาคารเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม บาลี และปริยัติธรรมแผนกสามัญ
๗.  ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด
๘.  สถานีวิทยุชุมชน
ด้านการบริหารการปกครอง  มีเจ้าอาวาส  ดังต่อไปนี้
๑.  พระครูสุเทพนคราภิรักษ์    (สุวิช   อมโร)          พ.ศ.  ๒๕๓๑ ๒๕๓๙
๒.  พระครูสุธรรมจันทคุณ     (จำปี  จนฺทธมฺโม)        พ.ศ.  ๒๕๓๙ ๒๕๔๓
๓.  พระครูประโชติสมณวัตร   (บุญเลิศ  จนฺทโชโต)      พ.ศ.  ๒๕๔๓ ๒๕๔๔
๔.  พระมหาสาคร  สาคโร                               พ.ศ.  ๒๕๔๔ ปัจจุบัน
๕.  พระมหานิพนธ์  ชยากโร           เป็นรองเจ้าอาวาส
๖.  พระปลัดนคร  จนฺทธมฺโม          เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส
        ปัจจุบันมีพระภิกษุสามเณรภายในวัด  ดังนี้
พระภิกษุ       จำนวน               รูป
สามเณร        จำนวน         ๒๑    รูป
ด้านการศึกษา
        การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรม  แผนกธรรมและแผนกบาลี  โดยเปิดทำการสอนเมื่อ         พ.ศ.  ๒๕๒๘  มีพระครูสุเทพนคราภิรักษ์เป็นผู้สอน    โดยมีนักเรียนที่เรียนบาลีประโยค  ๑-๒  จำนวน  ๒๐  รูป  ต่อมาใน  พ.ศ.  ๒๕๓๔  ได้จัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ใช้ชื่อว่า  โรงเรียนสุเทพนครวิช สอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  และได้ขอเปิดทำการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเมื่อ  พ.ศ.  ๒๕๓๙  โรงเรียนสุเทพนครวิช  สังกัดกรมการศาสนา  กระทรวงศึกษาธิการ  ปัจจุบันสังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
        มีคณะครูอาจารย์ / ผู้บริหาร / จัดการ  จำนวน    รูป/คน  ดังมีรายชื่อดังต่อไปนี้
๑.  พระมหานิพนธ์  ชยากโร               ตำแหน่ง         ผู้จัดการ
๒.  พระมหาสาคร  สาคโร                     -            ผู้อำนวยการ
๓.  พระปลัดนคร  จนฺทธมฺโม                  -            ครูประจำ/การเงิน
๔.  พระมหาหนูพร  จารุวณฺโณ                 -                      ฝ่ายทะเบียน
๕.  พระไพรทูล  จกฺกวโร                      -                       ครูประจำ
๖.  นายมงคล  พรมเสน                       -                      ครูประจำ
๗.  นายไชยรัตน์  นาเมือง                     -                       ครูประจำ/ฝ่ายวิชาการ
๘.  นายประวิทย์  ตะริดโน                     -                       ครูประจำ/ฝ่ายธุรการ
๙.  นายสันติพงษ์  ยมรัตน์                    -                       ครูพิเศษ
นักเรียนแผนกสามัญทั้งหมด  จำนวน  รูป  จำนวน    ห้อง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่                    จำนวน    ๑๘  รูป
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่                    จำนวน    ๒๖  รูป
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่                          จำนวน    ๑๔  รูป
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่                                 จำนวน    ๑๕  รูป
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่                    จำนวน        รูป
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่                    จำนวน        รูป
รวมทั้งสิ้น                      จำนวน    ๘๖   รูป     
นักเรียนแผนกธรรม    จำนวน         ๒๕     รูป
        -  นักธรรมชั้นตรี       จำนวน         ๑๑     รูป
        -  นักธรรมชั้นโท       จำนวน               รูป
        -  นักธรรมชั้นเอก      จำนวน                รูป
ครูที่สอนแผนกธรรม  จำนวน    รูป  ดังนี้
๑.  พระมหาสาคร  สาคโร
๒.  พระไพรทูล  จกฺกวโร
๓.  พระใบฎีกาสมชวน  เมธิโก
๔.  พระประพันธุ์  ฐานวโร
นักเรียนแผนกบาลี      จำนวน         ๕๓     รูป
        -  ประโยค  ป.ธ.                จำนวน         ๓๕     รูป
            -  ประโยค  ป.ธ.                     จำนวน         ๑๑     รูป
        -  ประโยค  ป.ธ.                     จำนวน               รูป
        -  ประโยค  ป.ธ.                     จำนวน               รูป
        -  ประโยค  ป.ธ.                     จำนวน               รูป
ครูสอนแผนกบาลี  จำนวน    รูป/คน  ดังนี้
        ๑.  พระมหาสาคร  สาคโร
        ๒.  นายมงคล  พรมเสน
        ๓.  นายไชยรัตน์  นาเมือง
ด้านการศึกษาสงเคราะห์
วัดเมืองสรวงเก่า   ได้ตั้งศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์ในวัดขึ้น     เมื่อ    พ.ศ.  ๒๕๓๖    โดยมีพระครูสุเทพนคราภิรักษ์  (สุวิช  อมโร)  เป็นประธานศูนย์  นางสาววรรณพิศ  สิงห์พันธ์  เป็นครูพี่เลี้ยง ใช้งบประมาณจากทางวัดเป็นทุนในการก่อสร้างอาคาร และค่าใช้จ่ายในการอบรม  ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดเมืองสรวงเก่าได้รับเด็กในเขตตำบลหนองผือ  และตำบลใกล้เคียงเข้าอบรม  อายุตั้งแต่  ๒ -    ขวบ  ปัจจุบันเทศบาลตำบลเมืองสรวงได้เข้ามาดูแลและสนับสนุนงบประมาณในด้านต่างๆ  ซึ่งมีพระมหาสาคร  สาคโร  เป็นประธานศูนย์  มีครูพี่เลี้ยง    คน  คือ  นายประวิทย์  ตะริดโน  และนางวรรณพิศ  ตะริดโน  มีจำนวนเด็กก่อนเกณฑ์  จำนวน  ๒๐  คน
วัตถุประสงค์
๑.  เพื่อปลูกฝังศีลธรรมจริยธรรมสู่เด็กให้เป็นนิสัย
๒.  เพื่อแบ่งเบาภาระผู้ปกครองเด็กซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพการเกษตรไม่ให้เป็นกังวลกับลูกหลาน
๓.  เพื่อพัฒนาการเด็กในด้านจิตใจ  ด้านอารมณ์  ด้านสังคม  ด้านร่างกาย
๔. เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าเรียนในชั้นต่อไป

กิจกรรมประจำปีของวัด
ที่
วัน/เดือน/ปี
กิจกรรม
หมายเหตุ
๗ มกราคม  ของทุกปี
งานเข้าปริวาสกรรม
คณะสงฆ์อำเภอเมืองสรวง
กุมภาพันธ์
กิจกรรมวันมาฆบูชา

เมษายน
บุญชาวเมือง / บุญผะเหวด
งานประจำอำเภอเมืองสรวง
พฤษภาคม
กิจกรรมวันวิสาขบูชา

พฤษภาคม
เปิดเรียน

กรกฎาคม
สามีจิกรรม (เข้าพรรษา)
คณะสงฆ์อำเภอเมืองสรวง
สิงหาคม
กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ

ตุลาคม
กิจกรรรมวันออกพรรษา

ตุลาคม
สอบนักธรรมชั้นตรี

๑๐
ตุลาคม
บุญกฐิน

๑๑
พฤศจิกายน
สอบนักธรรม/ธรรมศึกษา

๑๒
ธันวาคม
กิจกรรมวันพ่อแห่งชาติ