จารุวณฺโณภิกฺขุ

จารุวณฺโณภิกฺขุ
สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

ประเพณีบุญชาวเมือง 2553

ประเพณีงานบุญชาวเมือง  2553
           เทพนครเรืองนาม  เขตคามธูปหอม  งามพร้อมวัฒนธรรม  ค่าล้ำไหมชั้นดี  
มากมีเกลือสินเธาว์  ตำนานเก่าหมาสรวงงูซวง  ทุ่งกว้างวังอีผุย
      ประวัติการตั้งอำเภอเมือสรวง 
   ท้องที่อำเภอเมืองสรวงเป็นเมืองเก่าในจังหวัดร้อยเอ็ด มีอายุประมาณ 2,000 ปี มาแล้ว ตามที่ปรากฏในตำนาน อุรังคธาตุ ว่า เมืองสรวงเป็นเมืองหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับเมืองร้อยเอ็ด ซึ่งในสมัยนั้น เรียกเมืองร้อยเอ็ดว่า "สาเกตุนคร" และเป็นเมืองหลวงอาณาจักร กุลุนทะ ซึ่งมีเมืองหน้าด่านอยู่ถึง 11 เมือง คือ
1.เมืองเชียงขวาง - เชียงดี (บ้านจาน - ย้านหัวโนน อำเภอธวัชบุรี)
2.เมืองไพร (บ้านเมืองไพร อำเภอเสลภูมิ)
3.เมืองฟ้าแดด (บ้านฟ้าแดดสูงยาง อำเภอกมลาไสล จังหวัดกาฬสินธุ์)
4.เมืองสีแก้ว (บ้านสีแก้ว อำเภอเมืองสร้อยเอ็ด)
5.เมืองเชียงเหียน (บ้านเชียงเหียน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม)
6.เมืองเปือย (บ้านเมืองเปือย อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด)
7.เมืองจำปาศรี (อยู่ในอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม)
8.เมืองทอง (บ้านเมืองทอง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด)
9.เมืองหงษ์ (บ้านเมืองหงษ์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด)
10.เมืองบัว (บ้านเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด)
11.เมืองสรวง (วัดเมืองสรวงเก่า อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด)
   แต่ในประวัติของมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดร้อยเอ็ด (พ.ศ.2527)กล่าวถึง เมืองทองว่าอยู่บริเวณอำเภอเมืองสรวงเมื่อสืบค้นดูปรากฎว่า ในอำเภอเมืองสรวง มีเมืองคอย อยู่ที่บ้านข่อย ตำบลหนองหิน อำเภอเมืองสรวง และเมืองคอง อยู่ที่บ้านเมืองคอง ตำบลหนองขาม อำเภออาสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ดบริเวณเมืองสรวงเก่า เป็นป่าไม้มีไผ่ป่าขึ้นอยู่เต็ม มีคูเมืองล้อมรอบทั้ง 4 ทิศ มีเนินดินอยู่กลาง ลักษณะคล้ายหมู่บ้านดงละคอน ในอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก คือสีสระอยู่ทางทิศใต้ ซากปรักหักพัง ที่เหลือให้เห็นอยู่คือ "ปรางค์กู่" อยู่บริเวณในกลางมีฐานก่อสร้างตัวอิฐเดิมทีเดียวอำเภอเมืองสรวง เป็นพื้นที่ 2 ตำบล ของอำเภอสุวรรณภูมิ คือ ตำบลหนองผือ และตำบลสูงยาง เมื่อจะเสนอของตั้งชื่อกิ่งอำเภอ ได้แยกตำบลน้ำคำและตำบลหนองผือออกตั้งเป็นตำบลหนองหิน กับแยกตำบลหนองผือและตำบลสูงยาง ตั้งเป็นตำบลหนองผือ และตำบลคูเมือง  ทั้งนี้ ได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทย เมื่อ ปี พ.ศ. 2509 พ.ศ. 2510
               เมื่อวันที่  28  กุมภาพันธ์  2516  กระทรวงมหาดไทย(โดยนายพ่วง  สุวรรณรัฐ)  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย  ได้ประกาศจัดตั้งกิ่งอำเภอเมืองสรวง และได้รับอนุมัติเมื่อวันที่  15  มีนาคม  2516  โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เล่มที่  90  ตอนที่ 26 หน้าที่  817  ลงวันที่  20  มีนาคม  2516  ประกอบด้วย  3  ตำบล  คือ ตำบลหนองผือ  ตำบลหนองหิน  ตำบลคูเมือง  ส่วนราชการต่าง  จัดส่งเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2516
                ต่อมาได้มีพระชากฏษฎีกาตั้งอำเภอเมืองสรวง  โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(ฉบับพิเศษ) เล่มที่ 96  ตอนที่ 42 หน้าที่ 22   ลงวันที่ 25 มีนาคม 2522 มีผลตั้งแต่วันที่  26  มีนาคม  2522  (โดย ส.โหตระกิตย์) รองนายกรัฐมนตรี และต่อมาในปี  2528   ได้แบ่งแยกตำบลหนองผือ ตำบลคูเมือง และตำบลหนองหิน ขอตั้งเป็นอีกตำบลหนึ่งคือ ตำบลกกกุง ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2528  ต่อมา พ.ศ. 2529 ได้แบ่งแยกตำบลหนองผือ ออกเป็นอีก 2 ตำบล คือ ตำบลหนองผือ และตำบลเมืองสรวง  ได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2529
                ในปี  2544  สุขาภิบาล(เมืองสรวง)ได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลเมืองสรวง  ต่อมา ปี 2537 กรมการปกครองได้ยกฐานะสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล 3 ตำบล คือตำบลกกกุง ตำบลคูเมือง ตำบลหนองหินแบ่งการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 49 หมู่บ้าน   มี อบต. 3 แห่ง เทศบาลตำบล(เมืองสรวง) 1 แห่ง
                 และในปี  2552(วันที่ 27  ตุลาคม  2552)  กระทรวงมหาดไทย  ได้ประกาศจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งสามแห่ง(กกกุง  คูเมือง  หนองหิน) เป็นเทศบาลตำบล   จึงทำให้ปัจจุบันอำเภอเมืองสรวง  ประกอบด้วย 5 ตำบล 49 หมู่บ้าน มีเทศบาลตำบล 4 แห่ง   


   เมืองสรวง เดิมชื่อเมืองขวางขันธะบุรี ขุนบรมเป็นผู้สร้างขึ้นก่อนพุทธกาลประมาณ 203 ปี ขุนบรมมีบุตรีคนหนึ่งชื่อว่า กลองศรี ต่อมาได้มีสัตว์ประหลาดคือ งูซวง มีกำลังมากมายกินคนตามบ้านนอกและในเมืองเป็นประจำจนคนตายเกือบหมด ขุนบรมไม่มีวิชาที่จะสู้กับงูได้เห็นทีจะต้องตายเมื่อคิดว่าตนจะต้องตายจึงคิดหาอุบายทดสอบดูว่าจะมีผู้รอดชีวิตอยู่ได้หรือไม่ จึงเอาลูกสาวไปซ่อนไว้ในกลองเพล แล้วปิดหุ้มไว้อย่างดี หาเสบียงไว้ให้พร้อมครั้นเวลาต่อมาท้าวคันธะนาม ซึ่งเป็นลูกชายหญิงหม้ายชาวนาเมืองศรีษะเกาหรือเมืองสาเกตุ ตามประวัติว่าท้าวคันธะนามได้ติดตามหาบิดาผู้บังเกิดเกล้าเพราะพ่อเป็นช้างจึงไม่สามารถให้ลูกชายเข้าพบได้เมื่อท้าวคันธะนามเดินทางไปพบชายคนหนึ่งลากเกวียนได้100 เล่ม และชายอีกคนหนึ่งลากกอไผ่ได้ 100 กอง จึงได้ชักชวนไปเป็นเพื่อนติดตามหาพ่อ พอไปถึงกลางป่าได้พบสัตว์ประหลาดที่มีกำลังมากชื่อว่า กินายโม้ จึงร่วมกันฆ่าสัตว์นั้นสำเร็จ แล้วออกเดินทางไปเรื่อย พบเมืองร้างเมืองหนึ่งไม่มีคนจึงเข้าไปดูความว่าเมืองนั้นถูกพญาอินทรีย์กินตายหมด เหลือแต่ลูกสาว ซึ่งชาวเมืองเอาไปซ่อนไว้ในเสาปราสาท ซึ่งพระยาเมืองนั้นได้สั่งให้ช่างทำไว้เป็นพิเศษ ทั้งสามได้ทราบรายละเอียดว่า นางนั้นชื่อสีไว ท้าวคันธะนามจึงรับไว้เป็นภรรยา ต่อจากนั้นก็ออกติดตามหาพ่อไปเรื่อย  จนถึงเมืองขวางขันธะบุรี (เมืองสรวง) เห็นเมืองเงียบสงัดเพราะชาวเมืองถูกงูซวงมากินตายหมด มิหนำซ้ำหมาสรวงมาคอยกินเนื้อที่เหลือจากงูซวงกินไม่หมดอีกด้วย เมื่อทั้งสามเข้าสู่ตัวเมือง ปรากฏว่าไม่มีคนอยู่เลย คงเห็นแต่กองกระดูกและกองเพลใหญ่น่าประหลาด ครั้นตรอกลองเพลดูจึงรู้ว่ามีคนอยู่ในกลองเพลนั้น ซึ่งเป็นลูกสาวเจ้าเมืองนั้นชื่อว่า กลองศรี ท้าวคันธะนามจึงรับไว้เป็นภรรยาคนที่สอง ต่อจากนั้นติดตามหาพ่อและพบพ่อซึ่งเป็นช้างเผือกในกาลต่อมา นางทั้งสองซึ่งเป็นภรรยาท้าวคันธะนามที่อยู่ทางบ้านต่างก็คลอดบุตรออกมาเป็นชายทั้งคู่ นางสีไวได้บุตร ชื่อคันธะเนตร นางกลองศรีได้บุตรชื่อ คันธะจันทร์ ต่อมาเมื่อท้าวคันธะนาม พร้อมทั้งชายไผ่ร้อยกอและชายเกวียนร้อยเล่มได้กลับสู่เมืองจึงได้แต่งตั้งให้ชายทั้งสองไปรักษาเมืองต่าง  ส่วนบุตรทั้งสองได้เกิดขัดคอกัน จนรบกันเองฝ่ายคันธะจันทร์ เป็นผู้ชนะได้ปกครองเมืองขวางขันธะบุรี ต่อมาเมืองก็ตกเป็นเมืองร้างอีก เพราะเมืองขวาง    ขันธะบุรี เกิดวุ่นวายอยู่เรื่อย  ขาวเมืองจึงได้ปรึกษาหารือกันควรจะตั้งชื่อเมืองใหม่ ให้ชื่อตามงูซวงและหมาสรวง เพราะรุ่นหลังถือว่าสัตว์ทั้งสองนี้มาจาก "สวรรค์" จึงได้ตั้งชื่อเมืองใหม่ว่า "เมืองสรวง" มาจนถึงทุกวันนี้ดังนั้น คนเมืองสรวงยุคต่อมาในระหว่างที่พระพุทธศานาเผยแพร่เข้ามา คนที่มีความเชื่อถือเรื่อง ผีสางนางไม้ จึงเชื่อว่า สัตว์ทั้งสองนี้มาจาก สวรรค์  พะยาแถน ส่งมาเพื่อล้างผลาญคนที่เป็น "อธรรม" จะเห็นจากตอนงูซวงลงมากินคน ต้องพ่นพิษมีละอองเป็นฝนตกตลอด 7 วัน 7 คืน คนสมัยนั้นจึงเชื่อกันว่า ถ้าปีใดให้ฝนแล้ง เพราะพระยาแถน ไม่ส่งงูซวงลงมาพ่นพิษ คนชาวเมืองจึงเก็บดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระยาแถนเพื่อขอฝน แต่การที่เอาดอกไม้ธูปเทียนบูชานั้น กลิ่นธูปควันเทียนคงไปไม่ถึงพระยาแถนแน่ จึงได้คิดทำบั้งไฟบูชาพระยาแถนจนเป็นประเพณีมาตราบทุกวันนี้ เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนห้า หมู่บ้านชาวอำเภอเมืองสรวง โดยเฉพาะตำบลในเขตอำเภอเมืองสรวง จะต้องจัดทำบั้งไฟและนำไปจุดบูชาเป็นประเพณีทุกปี นี้คำตำนานความเป็นมาของอำเภอเมืองสรวงโดยสังเขป