จารุวณฺโณภิกฺขุ

จารุวณฺโณภิกฺขุ
สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วัดท่าสว่าง


ประวัติวัดท่าสว่างโดยสังเขป
           วัดท่าสว่าง ตั้งอยู่ที่บ้านหนองผือ หมู่ที่ ๑ ตำบลหนองผือ อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินทั้งวัดมีเนื้อที่ ๖ ไร่ มีอาณาเขตทางทิศเหนือประมาณ ๒ เส้น ๑๒ วา จดที่ดินของชาวบ้าน ทางทิศใต้ประมาณ ๒ เส้น ๑๒ วา จดอนามัย ประจำตำบลหนองผือ ทางทิศตะวันออก ประมาณ ๒ เส้น ๒ วา จดถนนรอบวัด ทางทิศตะตกประมาณ ๒ เส้น ๒ วา ๑ ศอก จดทางหลวงแผ่นดิน อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วยอุโบสถ กว้าง ๓ เมตร ยาว ๗ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๑ เมตร เป็นอาคารไม้ ( หลังเดิม ) สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ กุฏิสงฆ์ จำนวน ๔ หลัง เป็นอาคารไม้ ๑ หลัง เป็นอาคารปูน ๓ หลังและศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน ๑ หลัง เป็นอาคารไม้
วัดท่าสว่าง ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓ โดยการนำของผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ชาวบ้านได้ย้ายมาจากบ้านเมืองสรวงใหญ่ เพื่อมาอาศัยอยู่ที่นาของตนเอง และมีความเห็นร่วมกันว่าให้ตั้งวัดขึ้น เดิมวัดชื่อว่า วัดหนองผือเพราะตั้งตามชื่อของหมู่บ้าน ต่อมาเมื่อทางราชการตัดถนนผ่าน จึงได้เปลี่ยนนามวัดใหม่ว่า วัดท่าสว่างได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวัดที่ ๒๕ เดือน สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๔ เขตวิสุงคามสีมา โดยความกว้าง ๕๘ เมตร ยาว ๑๐๔ เมตร
ปัจจุบันกำลังสร้างศาลาการเปรียญขึ้น ๑ หลังแทนหลังเดิมที่ทรุดโทรม โดยมีความกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๕ เมตร เป็นศาลาทรงไทย
การบริหารการปกครองโดยมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบ คือ
รูปที่ ๑ คือ พระสิงห์ พ.ศ. ๒๔๖๖ ๒๔๗๐
รูปที่ ๒ คือ พระมัน พ.ศ. ๒๔๗๐ ๒๔๗๒
รูปที่ ๓ คือ พระทองหนา พ.ศ. ๒๔๗๒ ๒๔๗๓
รูปที่ ๔ คือ พระครูสุปัญญาจารย์ ( เคน ) พ.ศ. ๒๔๗๓ ๒๔๗๕
รูปที่ ๕ คือ พระครูประโชติสมณวัตร พ.ศ. ๒๕๒๕ จนถึงปัจจุบัน
พระครูประโชติสมณวัตร ตำแหน่ง รองเจ้าคณะอำเภอเมืองสรวง/เจ้าอาวาส
พระสมุห์ปัญญา ฉนฺนจิตโต ตำแหน่ง รองเจ้าอาวาส

พระมหาหนูพร จารุวณฺโณ ตำแหน่ง เลขานุการเจ้าคณะอำเภอเมืองสรวง/ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
การศึกษาโดยมีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมโดยทำการเปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐
จนถึงปัจจุบัน
สถิติจำนวนพระภิกษุ/สามเณร/แม่ชี และศิษย์วัด ดังนี้
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓
- พระภิกษุ           จำนวน               ๗ รูป
- สามเณร            จำนวน               ๘ รูป
- แม่ชี                 จำนวน               - คน
- ศิษย์วัด             จำนวน               - คน
รวมทั้งสิ้น           จำนวน               ๑๕ รูป
สถิติจำนวนแผนกนักธรรม และ แผนกธรรมศึกษาที่ส่งเข้าสอบ
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓
ที่ แผนกธรรม จำนวนรูป/คน หมายเหตุ
๑ แผนกนักธรรมชั้นตรี                   จำนวน -  รูป
๒ แผนกนักธรรมชั้นโท                  จำนวน ๓  รูป
๓ แผนกนักธรรมชั้นเอก     จำนวน ๓ รูป
๔ แผนกธรรมศึกษาชั้นตรี   จำนวน ๑๖  คน
๕ แผนกธรรมศึกษาชั้นโท   จำนวน ๒๐  คน
๖ แผนกธรรมศึกษาชั้นเอก   จำนวน ๒๕  คน
รวมทั้งสิ้น                     จำนวน   ๖๗  รูป/คน
ประวัติวัดโดยสังเขป
              วัดบ้านผำใหญ่  ตั้งอยู่เลขที่  ๑๕๖  หมู่ที่    ตำบลเมืองสรวง   อำเภอเมืองสรวง 
จังหวัดร้อยเอ็ด  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัด มีเนื้อที่ ๘ ไร่ ๑ งาน ๗๐ ตารางวา โฉนด ที่ดิน เลขที่ ๑๕๐๗ อาณาเขตทิศเหนือ ยาว ๓ เส้น ๓ วา  ๒ ศอก จดถนน ทิศใต้ ยาว ๒ เส้น ๓วา ๑ ศอก จดถนน ทิศตะวันออก ยาว ๒ เส้น ๑๔ วา ๒ ศอก จดถนน ทิศตะวันตก ยาว ๓ เส้น ๓ วา ๑ ศอก จดถนนและที่นายเครื่อง ไชยเสนา มีที่ธรณสงฆ์ จำนวน ๒ แปลง เนื้อที่ ๗ ไร่ ๑ งาน ๖๖ ตารางวา โฉนดที่ดิน เลขที่ ๑๕๑๘ และ ๑๕๑๔ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง ๖ เมตรยาว ๑๓.๕๐ เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖ ศาลาการเปรียญ กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๒๔ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ กุฎีสงฆ์ จำนวน ๕ ห้อง เป็นอาคารไม้ ๑ หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ ๒ หลัง และเป็นตึก ๒ หลัง ปูชนียสถาน คือ เจดีย์ ๑ องค์ กว้าง ๖ เมตร ยาว ๖ เมตร รูปทรง ๖ เหลี่ยม สูง ๒๒ เมตร
              วัดบ้านผำใหญ่ ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๒ โดยได้รับบริจาคที่ดิน จากนายวิเชียร และ นายทองจันทร์ มี พระหลวงปู่พรม มหพฺพโล เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ มีนายบุญมา เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ตั้งอยู่ได้ ๔ ปี ก็ย้ายวัดไปตั้งที่ใหม่ห่างจากที่เดิม ประมาณ ๖ เส้น ตั้งอยู่ที่แห่งใหม่ได้ ๘ ปี ก็ย้ายกลับมาที่เดิมจนถึงปัจจุบัน ชาวบ้านนิยมเรียกวัดเก่านี้ว่า วัดสหาบัณฑิต บ้านผำใหญ่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ครั้งหลังสุด อันดับที่ ๔๒ งวดที่ ๖ พ.ศ.๒๕๒๕ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๒๕ การลริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาส รวม ๔๔ รูป รูปแรก คือ พระหลวงปู่พรม มหพฺพโล รูอปัจจุบัน คือ พระครูวรธรรโมภาส ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นต้นมา การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒ ยกเลิกเมื่อพ.ศ. ๒๕๔๘
              พ.ศ. ๒๕๒๙ กรมการศาสนา ยกฐานะขึ้นเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
              พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้เป็นวัดพัฒนาตัวที่มีผลงานดีเด่น
              พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้รับรางวัลวัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่นระดับเขต
เจ้าอาวาสรูปแรก คือ พระพรม   มหพฺพโล  พ.ศ.  ๒๓๒๗๒๓๗๖
รูปปัจจุบัน พระครูวรธรรโมภาส  พ.ศ. ๒๕๑๘  จนถึงปัจจุบัน
(ได้รับข้อมูลจาก พระครูวรธรรโมภาส   ๒๐  สิงหาคม 52 )
ประวัติเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
อุปสมบท  เมื่อวันที่   ๑๕    เดือน เมษายน     พ.ศ.  ๒๕๑๐
ณ อุโบสถวัด บ้านผำใหญ่  ตำบลเมืองสรวง   อำเภอเมืองสรวง   จังหวัดร้อยเอ็ด 
วิทยะฐานะทางโลก    การศึกษาผู้ใหญ่ ระดับ ๔ (ม.๓)
วิทยฐานะทางธรรม    น.ธ.เอก    ป.ธ. ๔
งานด้านการปกครอง
ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่  วันที่        เดือน พฤษภาคม     พ.ศ.  ๒๕๒๓
ปัจจุบันมีพระภิกษุจำพรรษาจำนวน     รูป   สามเณร  -  รูป
งานด้านการศึกษา
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑  ได้ส่งนักธรรมเข้าสอบจำนวน   ๑๓   รูป  สอบได้   ๑๑  รูป
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑  ได้ส่งธรรมศึกษาเข้าสอบจำนวน   ๑๖๑    คน  สอบได้   ๙๕   คน
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒  ได้ส่งนักธรรมเข้าสอบจำนวน   ๒๐    รูป 
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒  ได้ส่งธรรมศึกษาเข้าสอบจำนวน    ๑๔๔  คน 
ปัจจุบันมีนักธรรมตรี จำนวน      รูป
ปัจจุบันมีนักธรรมโท จำนวน      รูป
ปัจจุบันมีนักธรรมเอก จำนวน      รูป
เปรียญธรรม         ประโยค  จำนวน      รูป
งานด้านเผยแผ่
มีบุคลากรเผยแผ่พระพุทธศาสนาจำนวน      รูป
พระครูวรธรรโมภาส    พระบรรจง    จิตฺตกโร   พระณัฐพล    ฐิตธมฺโม
งานด้านสาธารณูปการ
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้มีการก่อสร้าง  ดังนี้   
              สร้างประปาใช้ในวัด  สิ้นเงิน  ๕๑,๐๘๐  บาท
              สร้างกำแพงวัด ยาว ๓๓๐  เมตร สูง  ๒.๓๐ เมตร     สิ้นเงิน  ๙๖๐,๐๐๐  บาท
              สร้างซุ้มประตูเล็ก  กว้าง  ๓.๕ เมตร  สูง  ๗.๕  เมตร   สิ้นเงิน   ๑๒๐,๐๐๐ บาท
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้มีการก่อสร้าง  ดังนี้ 
              ๑.  สร้างกำแพงกั้นดิน  ยาว  ๓๐๐ เมตร  สูง    เมตร สิ้นเงิน  ๔๒๐,๐๐๐ บาท
              ๒. สร้างห้องน้ำส้วม  ๒ ที่ รวม    ห้อ   สิ้นเงิน  ๙๑,๓๙๘  บาท
              ๓.  เทพื้นภายในกำแพงอุโบสถ ปูนสำเร็จ  ๑๘  คิว  สิ้นเงิน  ๓๙,๔๖๘  บาท 

ข้อมูลวัดเมืองสรวงใหญ่
ประวัติวัดโดยสังเขป
              วัดเมืองสรวงใหญ่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๐  โดยพระครูเฒ่า  เป็นผู้นำชาวบ้านในการก่อตั้ง  ถือว่าเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่  ณ บ้านเมืองสรวงใหญ่ หมู่ ๕  ตำบลเมืองสรวง  อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด  มีพื้นที่  ๑๒  ไร่ เศษ  ที่ธรณีสงฆ์    แปลง
              ปัจจุบันได้พัฒนามาโดยลำดับ  จนได้รับประกาศเกียรติคุณจากกระทรวงสาธารณสุข ว่าเป็นวัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่น  และได้ใบประกาศเกียรติคุณจากอนามัย เป็นวัดสะอาดฆราวาสสุขใจ
ได้รับยกย่องว่าเป็นวัดพัฒนาต้นแบบ และเป็นสำนักปฏิบัติธรรม
              สิ่งที่ถือว่าสำคัญในวัดอีกอย่างหนึ่งคือ  พระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย  ได้ประดิษฐานไว้ใน พระธาตุเจดีย์ศรีเมืองสรวง  เมื่อวันที่  ๑๔  เดือนเมษายน  พ.ศ. ๒๕๕๑
เจ้าอาวาสตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  มีจำนวน    รูป
              ๑.  พระครูเฒ่า   ประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๐
              ๒.  พระครูเหมสถานธรรมจารี
              ๓.  พระอธิการเบ้า
              ๔.  พระอธิการรัน
              ๕.  พระอธิการลุน              วุฑฺฒิโก  พ.ศ. ๒๕๐๑
              ๖.  พระอธิการสิงห์             อายุวฑฺฒโก         พ.ศ.  ๒๕๐๑๒๕๑๘
              ๗.  พระครูสุเทพธรรมาภิบาล                        พ.ศ. ๒๕๑๘๒๕๔๔
              ๘.  พระอธิการประจักษ์       สิริทตฺโต            พ.ศ. ๒๕๔๔ -  ๒๕๔๘
              ๙.  พระมหาวชิระ              ชุติปญฺโญ   พ.ศ. ๒๕๔๘ปัจจุบัน
 (ได้รับข้อมูลจาก พระมหาวชิระ   ชุติปญฺโญ  ๒๐  สิงหาคม 52 ) 
ประวัติเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
อุปสมบท  เมื่อวันที่   ๑๔    เดือน พฤษภาคม     พ.ศ.  ๒๕๔๕
ณ อุโบสถวัด เมืองสรวงใหญ่  ตำบลเมืองสรวง  อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด 
วิทยะฐานะทางโลก    ม.๖  วิทยฐานะทางธรรม    น.ธ.เอก    ป.ธ. ๕
 งานด้านการปกครอง
ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่  วันที่    ๑๔    เดือน ธันวาคม    พ.ศ.  ๒๕๔๙
ปัจจุบันมีพระภิกษุจำพรรษาจำนวน     รูป   สามเณร    รูป
งานด้านการศึกษา
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑  ได้ส่งนักธรรมเข้าสอบจำนวน     รูป  สอบได้     รูป
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑  ได้ส่งธรรมศึกษาเข้าสอบจำนวน   ๑๐๙    คน  สอบได้   ๘๐  คน
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒  ได้ส่งนักธรรมเข้าสอบจำนวน        รูป 
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒  ได้ส่งธรรมศึกษาเข้าสอบจำนวน    ๑๐๐  คน 
ปัจจุบันมีนักธรรมตรี         จำนวน     รูป
ปัจจุบันมีนักธรรมโท         จำนวน      รูป
ปัจจุบันมีนักธรรมเอก        จำนวน      รูป
เปรียญธรรม     -   ประโยค  จำนวน    -   รูป
งานด้านเผยแผ่
มีบุคลากรเผยแผ่พระพุทธศาสนาจำนวน     รูป
พระมหาวชิระ  ชุติปญฺโญ
งานด้านสาธารณูปการ
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้มีการก่อสร้าง  ดังนี้    สร้างกำแพงวัด
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้มีการก่อสร้าง  ดังนี้  สร้างศาลาพักผู้ปฏิบัติธรรม

ข้อมูลวัดเมืองสรวงน้อย
ประวัติวัดโดยสังเขป
        การก่อตั้งวัดเมืองสรวงน้อยเริ่มแรกเกิดจากความคิดของพระอาจารย์ครูช่วย จนฺทสาโร
สมัยก่อนบ้านเมืองสรวงมีวัดประจำอยู่เพียงวัดเดียวคือ วัดเมืองสรวงใหญ่  ตัวท่านเองเป็นคนคุ้มเมืองสรวงน้อยในพรรษาที่  ในปีนั้นพระเณรวัดเมืองสรวงใหญ่ก็มีมาก ในทุกๆ วันท่านจะมานอนอ่านหนังสือที่สวนพ่อใหญ่โส เนื่องจากบรรยากาศเงียบสงบแลอากาศเย็นสบาย ด้านข้างติดกับทุ่งนาปราศจากเสียงรบกวน
              พ.ศ. ๒๔๗๐  พ่อใหญ่โสเห็นว่ามีพระสงฆ์เห็นว่ามีพระสงฆ์และสามเณรมักมาอ่านหนังสือในช่วงกลางวันเป็นประจำและพ่อใหญ่โสเองก็อยากมีวัดประจำหมู่บ้านเพื่อใช้ประกอบบุญพิธีก็จะสะดวกขึ้น จึงได้มอบที่สวนให้สร้างเป็นที่พักสงฆ์ พระอาจารย์ครูช่วย ได้ชักชวนชาวบ้านมาร่วมแรงร่วมใจสร้างที่พักสงฆ์เป็นการชั่วคราวต่อมาก็ได้ปลูกสร้างกุฏิหลังเล็ก ๆ  มุงด้วยหญ้าคา  และศาลาหนึ่งหลังมุงด้วยหญ้าคา  ต่อมาก็เปลี่ยนจากคุ้มเมืองสรวงน้อยมาเป็นบ้านเมืองสรวงน้อย
              หลังจากเกิดเหตุไฟไหม้กุฏิสงฆ์ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖  วัดเมืองสรวงน้อยได้เจ้าอาวาสองค์ใหม่ คือ พระอาจารย์ครูบุญ  ได้ร่วมกับชาวบ้านจัดหาวัสดุก่อสร้างและไปซื้อกุฏิเก่า มาสร้างขึ้นใหม่ขนาดใหญ่กว่าหลังเดิมขนาด    ห้อง ด้านหน้ามี หอ     หอ   หลังคามุงสังกะสี  ต่อมา
พ.ศ. ๒๕๐๔  กุฏิได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา  พระอธิการชาลี  อุตฺตโม  เป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น  ได้เชิญชวนญาติโยมชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาทำการรื้อถอนกุฏิหลังเก่าลง และสร้างขึ้นใหม่ขนาดยาว  ๒๔  เมตร  กว้าง  ๑๔  เมตร  มี  ๑๑  ห้อง
              วัดเมืองสรวงน้อยร่วมกับพุทธศาสนิกชน สร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดความยาว  ๑๗.๕๐  เมตร  กว้าง  ๑๖  เมตร แทนหลังเดิมที่เป็นไม้  เริ่มสร้างในปี
พ.ศ.๒๕๓๖ แล้วเสร็จในปีพ.ศ.๒๕๔๑    สิ้นงบประมาณในการก่อสร้าง  ,๓๓๑,๒๐๐  บาท
              ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖  พระครูสุจิตธรรมโกศล (หลวงพ่อรุณ)  เป็นเจ้าอาวาส เห็นว่ากุฎิหลังเดิมมีความทรุดโทรงลงมากทางคณะสงฆ์และชาวบ้านจึงพร้อมใจกันสร้างกุฏิหลังใหม่ขึ้น ขนาดความยาว  ๒๐  เมตร  กว้าง   ๑๓.๔๐  เมตร   เป็นกุฏิ    ชั้น    ห้อง  เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างแล้วเสร็จในปีพ.ศ.๒๕๔๙ สิ้นงบประมาณการก่อสร้าง  ,๖๙๙,๙๙๙  บาท
            คณะสงฆ์และชาวบ้าน เล็งเห็นว่าวัดเมืองสรวงน้อยสร้างมาเป็นเวลาหลายสิบปี และควรมีศาสนสถานที่สำคัญไว้ประกอบศาสนพิธีต่างๆ  จึงพร้อมใจกันสร้างอุโบสถขึ้นมาหลังหนึ่งวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่  ๓๑  มีนาคม  พ.ศ.  ๒๕๕๑  ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง
 (ได้รับข้อมูลจาก พระใบฎีกาธงชัย  ภทฺทจิตฺโต  ๒๐  สิงหาคม 52 )
๑.  พระครูช่วย  จนฺทสาโร
๒.  พระอาจารย์ครูบุญ
              ๓.  พระอาจารย์ครูรุณ
              ๔.  พระอาจารย์ครูลา
              ๕.  พระมหาพัฒน์   ธีรธมฺโม
              ๖.  พระอธิการชาลี  อุตฺตโม
              ๗.  พระอธิการชู    กิตฺติภทฺโท
              ๘.  พระอธิการสมัย
              ๙.  พระอธการบุญมา
              ๑๐. พรครูสุจิตฺธรรมโกศล  
ประวัติเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
อุปสมบท  เมื่อวันที่       เดือน มีนาคม     พ.ศ.  ๒๕๓๓
ณ อุโบสถวัด เมืองสรวงใหญ่   ตำบลเมืองสรวง   อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด 
วิทยะฐานะทางโลก    -
วิทยฐานะทางธรรม    น.ธ.เอก  
งานด้านการปกครอง
ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่  วันที่        เดือน มีนาคม     พ.ศ.  ๒๕๓๘
ปัจจุบันมีพระภิกษุจำพรรษาจำนวน     รูป   สามเณร  -  รูป
งานด้านการศึกษา
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑  ได้ส่งนักธรรมเข้าสอบจำนวน      รูป  สอบได้     รูป
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑  ได้ส่งธรรมศึกษาเข้าสอบจำนวน   -    คน  สอบได้  -   คน
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒  ได้ส่งนักธรรมเข้าสอบจำนวน        รูป 
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒  ได้ส่งธรรมศึกษาเข้าสอบจำนวน   -   คน 
ปัจจุบันมีนักธรรมตรี จำนวน   -   รูป
ปัจจุบันมีนักธรรมโท จำนวน      รูป
ปัจจุบันมีนักธรรมเอก จำนวน   -   รูป
เปรียญธรรม      -   ประโยค  จำนวน  -    รูป
งานด้านเผยแผ่
มีบุคลากรเผยแผ่พระพุทธศาสนาจำนวน      รูป
๑.  พระครูสุจิตฺธรรมโกศล
๒.  พระใบฎีกาธงชัย   ภทฺทจิตฺโต
งานด้านสาธารณูปการ
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้มีการก่อสร้าง  ดังนี้    ได้สร้างพระอุโบสถขึ้นมาหนึ่งหลังตอนนี้ยังอยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้าง 
ข้อมูลวัดหนองหมู
ประวัติวัดโดยสังเขป
              วัดหนองหมู ตั้งขึ้นเมื่อวันที่  ๑๐  เดือนกุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๒๘  โดยการจัดสร้างของพระครูปัญญาวุฒิธร (หลวงพ่อดำ) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น  ผู้นำฝ่ายฆราวาส คือ
นายชู  ธุระพันธ์  ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน  สาเหตุที่ต้องสร้างวัดในขณะนั้นเพราะเมื่อก่อนบ้านหนองหมูเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ  ที่แยกตัวออกจากบ้านผำ  และเวลาจะทำบุญก็ต้องเดินทางไปทำบุญที่บ้านผำซึ่งมีระยะทาง ประมาณ     กิโลเมตร เศษ  พอถึงฤดูฝนก็มีความลำบากในการเดินทางเป็นเท่าตัว เป็นเหตุให้ญาติโยมห่างจากวัด ต่อมาหลวงพ่อดำ (พระครูปัญญาวุฒิธร) จึงได้ชักชวนชาวบ้านสร้างวัดขึ้น  ซึ่งที่ตั้งของวัดนั้นเป็นดอนเจ้าปู่ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ดอนปู่ตา  เป็นป่าละเมาะ ป่าไผ่มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม อยู่ติดกับหนองหมู ต่อมาได้มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดินจำนวน    ไร่ ๙๙ ตารางวา    วัดนี้ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่  บ้านหนองเรือ  ตำบลหนองบัว อำเภออาจสามารถ    จังหวัดร้อยเอ็ด  แต่ชาวบ้านหนองหมูเป็นผู้ให้การอุปถัมภ์บำรุงมาโดยตลอด หลังจากขอตั้งวัด จึงได้ขอย้าย มาขึ้นกับการปกครองคณะสงฆ์ตำบลเมืองสรวง และได้ชื่อว่า
วัดหนองหมู  ปัจจุบันมีพระคำสอน   สุธมฺโม  รักษาการเจ้าอาวาส 
(ได้รับข้อมูลจาก พระคำสอน   สุธมฺโม   ๒๐  สิงหาคม 52 )
ประวัติเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน (รักษาการ )
อุปสมบท  เมื่อวันที่   ๒๐    เดือน เมษายน     พ.ศ.  ๒๕๓๙
ณ อุโบสถวัด  บ้านผำใหญ่  ตำบลเมืองสรวง  อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด 
วิทยะฐานะทางโลก    .ป.๔  วิทยฐานะทางธรรม    น.ธ.เอก   
งานด้านการปกครอง
ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่  วันที่    -     เดือน  -     พ.ศ.  -
ปัจจุบันมีพระภิกษุจำพรรษาจำนวน     รูป   สามเณร  -   รูป
งานด้านการศึกษา
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑  ได้ส่งนักธรรมเข้าสอบจำนวน      รูป  สอบได้     รูป
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑  ได้ส่งธรรมศึกษาเข้าสอบจำนวน   -    คน  สอบได้   -   คน
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒  ได้ส่งนักธรรมเข้าสอบจำนวน        รูป 
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒  ได้ส่งธรรมศึกษาเข้าสอบจำนวน    -  คน 
ปัจจุบันมีนักธรรมตรี       จำนวน   -   รูป
ปัจจุบันมีนักธรรมโท       จำนวน   -   รูป
ปัจจุบันมีนักธรรมเอก      จำนวน    รูป
เปรียญธรรมประโยค    จำนวน   -   รูป
งานด้านเผยแผ่
มีบุคลากรเผยแผ่พระพุทธศาสนาจำนวน      รูป
พระคำสอน  ฉายา  สุธมฺโม
 งานด้านสาธารณูปการ
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้มีการก่อสร้าง  ดังนี้   
๑.  ได้มีการก่อสร้างโรงครัวหนึ่งหลัง
๒.  ห้องน้ำ    ห้อง
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้มีการก่อสร้าง  ดังนี้ 
๑. ได้ต่อเติมกุฏิ    หลัง
ข้อมูลคณะสงฆ์ตำบลเมืองสรวงพ.ศ. ๒๕๕๒
......................................
รายงานโดย  พระครูวรธรรโมภาส    เจ้าคณะตำบลเมืองสรวง
๑.  งานการปกครอง
                            พระครูวรธรรโมภาส   จร. วัดบ้านผำใหญ่  เป็นเจ้าคณะตำบลเมืองสรวง
                            พระบรรจง     จิตฺตกโร            เป็นเลขานุการ เจ้าคณะตำบลเมืองสรวง
              ๑.๑  ตำบลเมืองสรวง มีวัดในเขตปกครอง    วัด  โดยแบ่งดังนี้
                            ๑.๑.๑  วัดประเภทวิสุงคามสีมา    มี    วัด
                            ๑.๑.๒  สำนักสงฆ์  มี    วัด
              ๑.๒  พ.ศ. ๒๕๕๒  มีภิกษุ  สามเณร  แม่ชี  และศิษย์วัด  ดังนี้
                            ๑.๒.๑  พระภิกษุ      จำนวน   ๒๙  รูป
                            ๑.๒.๒  สามเณร      จำนวน        รูป
                            ๑.๒.๓  แม่ชี              จำนวน  -      คน
๑.๒.๔  ศิษย์วัด                        จำนวน  -      คน
รวมทั้งสิ้น          จำนวน   ๓๔  รูป / คน
๑.๒.๓  สมณศักดิ์  มี      รูป
๑.๒.๓.๑  พระครูวรธรรโมภาส        จต.เมืองสรวง  ชั้นเอก        พ.ศ. ๒๕๕๒
๑.๒.๓.๒  พระครูสุจิตฺธรรโกศล     จร. วัดเมืองสรวงน้อย        พ.ศ.  ๒๕๓๘
๑.๒.๓.๒  ฐานะพระสังฆาธิการ