จารุวณฺโณภิกฺขุ

จารุวณฺโณภิกฺขุ
สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ตักบาตรเทโววัดท่าสว่าง 2554

 ประเพณีตักบาตรเทโว

ประเพณีตักบาตรเทโว
ประเพณีตักบาตรเทโว เป็นคำย่อมาจาก "เทโวโรหณะ" หมายถึง การเสด็จลงจากเทวโลกของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามตำนานเล่าว่าเมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้เสด็จไปประกาศพระศาสนาในแคว้นทั่วชมพูทวีป เริ่มตั้งแต่เมืองราชคฤท์, พาราณสี, เมืองสาวัตถี 
ตลอดถึงเมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นราชปิตุภูมิของพระองค์ ทรงเทศนาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ, พระพุทธบิดา, พระนางมหาปชาบดีโคตมี, พระนางยโสธราพิมพา และราหุลราชกุมาร ตลอดถึงพระประยูรญาติทั้งหลาย ให้บรรลุ

มรรคผลตามสมควรแก่อุปนิสัยของตนแล้ว พระองค์ทรงรำลึกถึงพระนางสิริมหามายา ซึ่งได้สิ้นพระชนม์หลังจากพระองค์ประสูติได้ 7 วัน ทรงดำริที่จะสนองคุณพระพุทธมารดา ซึ่งมีพระคุณมากมายยิ่งนัก จะหาอะไรเปรียบปานมิได้ ทรงวินิจฉัยโดยรอบคอบแล้ว เห็นว่ามีสิ่งเดียวเท่านั้นที่

จะสนองคุณพระพุทธมารดา เป็นการใช้หนี้ค่าน้ำนมให้คู่ควรกันได้ นั่นคือ พระอภิธรรม ฉะนั้นในพรรษาที่ 7 นับแต่ปีที่ตรัสรู้ พระพุทธองค์จึงได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดาอยู่หนึ่งพรรษา ครั้นออกพรรษาแล้ววันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 พระพุทธเจ้าจึงเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาประทับที่เมืองสังกัสสะ มี
ประชาชนไปเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อทำบุญตักบาตรอย่างหนาแน่น ด้วยเหตุนี้ชาวพุทธจึงถือว่า วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากเทวโลกลงมาสู่เมืองมนุษย์ จึงนิยมตักบาตรกันเป็นพิเศษ เป็น
ประเพณีสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ เรียกว่า "ตักบาตรเทโว"การตักบาตรเทโวนี้ เป็นประเพณีใหม่ที่เข้ามาในล้านนาไทย เริ่มตั้งแต่พุทธศักราช 2500 เป็นต้นมา พระสงฆ์และประชาชนได้ลัทธิประเพณีมาจากไทยภาคกลาง นำมาจัดทำกันในล้านนา ที่จัดประเพณีอย่างยิ่งใหญ่ มีผู้คนมาร่วมงานกันมาก 
 นิมนต์พระสงฆ์เป็นจำนวนถึง 500 รูป มารับบิณฑบาต คือ ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งจัดขึ้นที่วัดฝายหินทุกปีในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ใต้ คือ เดือนเกี๋ยง แรม 1 ค่ำ ของล้านนาไทยการจัดงานตักบาตรเทโวโรหณะ ซึ่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้ดำเนินการร่วมกับวัดฝายหิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 มีประวัติที่น่าสนใจและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์

คุณธรรมและวัฒนธรรมหลายด้าน ดังต่อไปนี้
1. เป็นการฟื้นฟูและอนุรักษ์หลักฐานในพระไตรปิฎก ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี กล่าวคือ สถานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 คือ วันออกพรรษาและวันตักบาตรเทโวโรหณะ หลังจากพระพุทธองค์ทรงแสดงความกตัญญูกตเวทีเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาในเทวโลกนั้น ยังมีหลักฐานปรากฎที่สังกัสสะนคร ประเทศอินเดีย และสถานที่ทรงแสดงยมกปาฏิหารย์ก่อนเสด็จขึ้นไปยังดาวดึงส์ ก็มีหลักฐานชัดเจนที่เขตกรุงสาวัตถี อินเดีย การจัดประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะจึงเป็นการฟื้นฟู และอนุรักษ์วันที่พระพุทธองค์ เสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลก
2. เป็นการส่งเสริมสามัคคีธรรม คือ การทำบุญร่วมกันระหว่างคณาจารย์ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับประชาชนทั่วไป
 3. ก่อให้เกิดการสร้างพระพุทธรูปไม้สักแกะสลัก คือ พระพุทธเทโวโรหณะศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นปูชนียวัตถุอันล้ำค่า และมีคุณค่าทางศิลปกรรมยิ่งนัก เนื่องจากสร้างจากไม้สักทั้งต้น และลงรักปิดทองเหลืองอร่าม ตั้งแต่พระเมาลีจนถึงพระแท่นบัวคว่ำบัวหงาย ตลอดจนพระหัตถ์และบาตรเป็นไม้สักท่อนเดียวกัน เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร โดยจำลองพระพักตร์จากพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย  อาจารย์พีระพงษ์ ดวงแก้ว ซึ่งจบการศึกษาทางประติมากรรมจากมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ถวายการแกะสลัก และพระศรีธรรมบัณฑิต อดีต
เจ้าอาวาสวัดฝายหินเป็นผู้ถวายพระนาม พระครูศิริธรรมจารี อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีโสดา เป็นผู้ถวายนิลจากพม่าเพื่อเป็นพระเนตร เมื่อเสร็จเรียบร้อยก็ได้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระวิหารวัดฝายหิน


4. ก่อให้เกิดการเผยแพร่เกียรติคุณของวัดฝายหิน วัดประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งนี้ วัดฝายหินเป็นวัดเก่าแก่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เคยเป็นวัดที่มีชื่อเสียง
เคร่งครัดในทางวิปัสสนาธุระ และการที่เป็นวัดประจำมหาวิทยาลัย ก็เป็นเรื่องที่เป็นเอกลักษณ์น่าภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. ก่อให้เกิดการเผยแพร่เกียรติคุณของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยิ่งขึ้น จำนวนศรัทธาสาธุชน ผู้มีใจบุญมาร่วมทำบุญใส่บาตรนับหมื่นนับแสน เป็นประจักษ์พยานว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่สนใจที่จะอนุรักษ์และเผยแพร่ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ

อานิสงส์แจกธรรมทาน
อานิสงส์จากการพิมพ์หนังสือธรรมะแจกเป็นวิทยาทาน
ได้กุศล 10 ประการคือ


1. ทำบาปไว้ชาติก่อน จะผ่อนผัน
ได้ช่วยกันพิมพ์หนังสือ สื่อความหมาย 

2. สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง ไม่หมองกาย
ทั้งโรคร้ายอุบัติภัย ไม่พบพาน 

3.แม้ศัตรูคู่แค้น แต่ปางบรรพ์
มาร่วมกันรับกุศล ไม่ล้างผลาญ 

4.ทั้งปีศาจภูติผี และหมู่มาร
ไม่ระรานสิงเร้น ให้ห่างไกล 

5.ปราศจากสิ่งร้าย สบายจิต
ชั่วชีวิตฝันดี ดวงแจ่มใส
ทั้งราศีมีมงคล ผลถูกใจ
สิ่งเลวไซร้ไม่เข้าฝัน นิรันดร์กาล 

6. ตั้งปณิธานแน่วแน่ แผ่ความดี
ครอบครัวมีความสุข สนุกสนาน
มีอายุยั่งยืน ทุกคืนวัน
ไม่โลภโมโทสัน สุขสมบูรณ์ 

7.การพูดการกระทำ แต่กรรมดี
จะเป็นที่ลือไกล ไม่สิ้นสูญ
ผู้คนเคารพทั่ง และเทิดทูน
บริบูรณ์โชคลาภ รุ่งเรืองแรง 

8.มีบริบูรณ์เลิศล้ำ ในทางโลก
ไม่ทุกข์โศกป่วยหาย กายเข้มแข็ง
ยามอำลาโลกไซร้ ได้เปลี่ยนแปลง
เป็นบุรุษกล้าแกร่ง เก่งการงาน 

9.เกิดมาดีมีปัญญา สง่างาม
รูปไม่ทรามสมทรง สมคำขาน
บุญกุศลมากมาย เพราะให้ทาน
ไม่พบพานสิ่งชั่ว กลัวบาปกรรม 

10.ให้ทุกชีวิตคิดวาง รากฐานไว้
ด้วยดวงใจใฝ่ธรรม นำลูกหลาน
ได้ไปเกิดเป็นคน มีผลงาน
กุศลทานได้พบปะ เทวะเอย 

1. ผู้ใดจัดพิมพ์หนังสือธรรมะ 1 เรื่อง แจกจ่ายทั่วไปกุศลผลบุญนั้นจักสามารถแก้บาปกรรมของชาติก่อนทั้งหมด

2. ผู้ใดจัดพิมพ์หนังสือธรรมะตั้งแต่ 2 เรื่องขึ้นไป แจกจ่ายอย่างกว้างขวาง กุศลผลบุญนั้นจักส่งผลให้ผู้นั้นเจริญด้วย ลาภ ยศ อายุ สุขะ พละ ได้บุตรหลานที่ดี เมื่อละสังขารจักได้จุติเป็นเจ้า (เจ้าพ่อหรือเทวดาชั้นต่ำ) ในโลกมนุษย์

3. ผู้ใดจัดพิมพ์หนังสือธรรมะอย่างต่อเนื่องตลอดไปและแจกจ่ายอย่างกว้างขวาง กุศลผลบุญนั้นจักส่งผลให้ผู้นั้นเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม เพียบพร้อมด้วยลาภ ยศ อายุ สุขะ พละ มีจิตผ่องใส และยังส่งผลถึงบุตรหลานอีก 3 รุ่น ให้เจริญรุ่งเรือง เมื่อละสังขารจักได้จุติเป็นเทพบุตร เทพธิดา ณ แดนสวรรค์


        


              ในวันออกพรรษาเป็นวันปวารณาของสงฆ์โดยตรง ส่วนพุทธศาสนิกชนก็ให้ความสำคัญโดยถือเป็นวันพระ และมักที่จะไปทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล ฟังเทศน์ และในการทำบุญตักบาตร จะเรียกว่า ตักบาตรเทโว
         ตักบาตรเทโว  มาจากคำว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ
         เทโวโรหณะ     แปลว่า  หยั่งลงมาจากเทวโลก                     



         ประเพณีการตักบาตรเทโวโรหณะ ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นการตักบาตรเนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงสู่มนุษย์โลก หลังจากที่ได้แสดงธรรมเทศนาโปรดพระมารดาเป็นการต้อนรับเสด็จพระพุทธองค์