จารุวณฺโณภิกฺขุ

จารุวณฺโณภิกฺขุ
สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

หน้าที่ชาวพุทธควรรู้

       หน้าที่ชาวพุทธ
ชาวพุทธ คือ ผู้ที่เคารพเลื่อมใสในพระรัตนตรัย สนใจศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา มีความเคารพยำเกรงในพระสงฆ์ ทำนุบำรุงวัดวาอาราม ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการคณะสงฆ์ และปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา เมื่อมีภัยหรือวิกฤตการณ์เกิดขึ้น
หน้าที่ชาวพุทธโดยทั่วไป

   . หน้าที่ที่จะต้องศึกษาและปฏิบัติธรรม
            ชาวพุทธที่ดีจะต้องมีความสนใจในการศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและน้อมนำหลักธรรมนั้น ๆ มาประพฤติปฏิบัติให้เหมาะแก่ตนและในขณะเดียวกันก็แสดงตนเป็นชาวพุทธที่ดีในการบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ เช่น ทำบุญตักบาตร รักษาศีล ไปวัดฟังธรรม เป็นต้น นอกจากนี้ต้องแสดงความมีน้ำใจในกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมของพระพุทธศาสนา หรือเทศกาลสำคัญต่าง ๆ เช่น เข้าร่วมพิธีในวันสำคัญของพระพุทธศาสนา การทอดกฐิน  การทอดผ้าป่า หรือการทำบุญอื่น ๆ
                              ๒. หน้าที่ในการอุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสามเณร             . หน้าที่ในการทำนุบำรุงวัดวาอาราม
            พระภิกษุสงฆ์มีหน้าที่ทำวัตรสวดมนต์ ปฏิบัติศาสนกิจ ต้องศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ซึ่งเรียกว่า คันถธุระ นอกจากนี้ ยังต้องบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งเรียกว่า วิปัสสนาธุระ เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาเล่าเรียนและการปฏิบัติมาให้เป็นคนดีมีคุณธรรม เพราะฉะนั้น ชาวพุทธที่ดีจึงต้องบำรุงส่งเสริมพระสงฆ์เพื่อมีกำลังในการปฏิบัติศาสนกิจ และส่งเสริมพระพุทธศาสนา
            วัดเป็นสถาบันทางศาสนา เป็นที่อยู่อาศัยและที่เล่าเรียนของภิกษุสามเณร เป็นที่บำเพ็ญกุศลและปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป และยังเป็นแหล่งสำคัญทางศิลปวัฒนธรรมของชาติอีกด้วย เพราะฉะนั้น เป็นหน้าที่ของชาวพุทธ ที่จะช่วยกันทำนุบำรุงวัดวาอาราม และพุทธสถานโดยทั่วไปให้เจริญรุ่งเรือง เพื่อเป็นมรดกของชาติสืบต่อไป
. หน้าที่ในการทำนุบำรุงวัดวาอาราม
            วัดเป็นสถาบันทางศาสนา เป็นที่อยู่อาศัยและที่เล่าเรียนของภิกษุสามเณร เป็นที่บำเพ็ญกุศลและปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป และยังเป็นแหล่งสำคัญทางศิลปวัฒนธรรมของชาติอีกด้วย เพราะฉะนั้น เป็นหน้าที่ของชาวพุทธ ที่จะช่วยกันทำนุบำรุงวัดวาอาราม และพุทธสถานโดยทั่วไปให้เจริญรุ่งเรือง เพื่อเป็นมรดกของชาติสืบต่อไป
            ๔ การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม
            ชาวพุทธที่ดีต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งโดยฐานะเป็นพลเมืองของชาติ คือ รู้จักสิทธิและหน้าที่ อยู่ในกรอบของกฎหมายบ้านเมือง และในขณะเดียวกัน ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของชาวพุทธทั้งในการดำเนินชีวิตส่วนตัว และการบำเพ็ญประโยชน์ส่วนรวมอีกด้วย
            . หน้าที่ในการปกป้องและคุ้มครองพระพุทธศาสนา
            เมื่อมีวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนา ชาวพุทธไม่ควรดูดายโดยปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์แต่ฝ่ายเดียว ชาวพุทธโดยทั่วไปจะต้องแสดงบทบาทโดยการวิเคราะห์ให้ทราบปัญหา ช่วยกันคิดอ่านแก้ไข เพื่อระงับเหตุมิให้ลุกลามไปใหญ่โต ทั้งนี้นอกจากจะเป็นการปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นการทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นต่อไปด้วย
มรรยาทชาวพุทธ
            การอยู่ร่วมกันในสังคมจะต้องวางตนให้เหมาะสมตามแบบอย่างมรรยาทในสังคม และในฐานะชาวพุทธที่ดียังต้องอบรมและใส่ใจในการปฏิบัติตนตามแบบแผนของมรรยาทชาวพุทธด้วย
การไปวัด : วัดเป็นสถานที่ศึกษาปฏิบัติธรรมของพุทธบริษัท เป็นสถานที่สืบทอดพระพุทธศาสนา เป็นสถานที่ให้ชาวพุทธได้มีโอกาสสร้างบุญกุศล ช่วยขัดเกลากิเลส ทำให้เกิดความสงบเย็นทางจิตใจ ให้คนตระหนักถึงการทำความดี ละเว้นความชั่ว เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วัดจึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวพุทธทุกคนควรให้ความเคารพและปฏิบัติตนให้ถูกต้องเหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดความเสื่อมเสียแก่พระพุทธศาสนา เมื่อพุทธศาสนิกชนไปวัดจึงควรปฏิบัติให้ถูกต้อง เหมาะสมกับสถานที่ กาลเวลา และบุคคล

            การแต่งกายไปวัด : การแต่งกายไปวัดควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สุภาพ เรียบร้อย ตามแบบสากลนิยมหรือตามแบบประเพณีไทย ควรใช้เสื้อผ้าสีอ่อน ๆ ลายเรียบ ไม่ใช้สีฉูดฉาด เนื้อผ้าไม่บางเกินไป แบบเสื้อต้องไม่หรูหราจนเกินไป ควรสวมเสื้อผ้าพอดีตัวหรือค่อนข้างหลวม เพื่อความสะดวกในการกราบไหว้นั่งลุก สตรีไม่ควรนุ่งกระโปรงสั้นเกินไป ควรให้มีความยาวปิดเข่าพอดีเมื่อนั่งพับเพียบ การแต่งหน้าแต่งผมและเครื่องประดับให้พอดีไม่ควรให้ดูหรูหราจนเกินไป โดยเฉพาะเครื่องประดับที่มีค่าไม่ควรจะสวมใส่ไปวัด ให้ใส่เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
            การนำเด็กไปวัด : พ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ หรือครูบาอาจารย์ พึงนำลูกหลาน หรือเด็กนักเรียนไปร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ทางวัดหรือชุมชนจัดขึ้น การนำเด็กไปเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กับผู้ใหญ่จะทำให้เด็กได้ซึมซับเอาวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไว้ เด็กจะได้มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของวัดและของกิจกรรมนั้น ๆ อันจะทำให้จิตใจของเด็กอ่อนโยน และปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม รู้จักเข้าสังคมกับชุมชนของตน และจะได้มีโอกาสช่วยงานกิจกรรมต่าง ๆ ของวัดและชุมชน การนำเด็กไปวัด ไม่ควรนำเด็กที่เล็กเกินไปไปวัด เพราะอาจจะรบกวนผู้อื่น ควรอบรมสั่งสอนบุตรหลานในการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเหมาะสมในการไปวัด ถ้ามีความจำเป็นต้องนำเด็กเล็กไปด้วยต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ควรปล่อยให้ซุกซน ทำลายของหรือก่อความรำคาญให้ผู้อื่น
            การปฏิบัติตนในเขตวัด : บุคคลที่เข้าไปในเขตวัด ควรสำรวมกาย วาจา ใจ ไม่พูดคำหยาบ ไม่คุยเสียงดัง หรือเอะอะโวยวาย ไม่ทิ้งขยะหรือทำความสกปรกในบริเวณวัด ไม่ดื่มสุราและสิ่งเสพติดอื่น ๆ ไม่ร้องรำทำเพลง และควรปฏิบัติตามกฎระเบียบของวัด
การเข้าพบพระสงฆ์ : การเข้าพบพระสงฆ์ควรปฏิบัติดังนี้
            . ข้อปฏิบัติขณะถึงที่อยู่ของพระสงฆ์ : ควรติดต่อสอบถามพระภิกษุสามเณรหรือศิษย์ที่อยู่ใกล้เคียงว่าสมควรจะเข้าพบท่านได้หรือไม่ และควรแจ้งความจำนงขออนุญาตเข้าพบท่านก่อนทุกครั้งไป เมื่อท่านอนุญาตให้เข้าพบได้แล้ว ผู้ไปหาควรคุกเข่ากราบเบญจางคประดิษฐ์ เมื่อกราบเสร็จแล้วให้นั่งพับเพียบแบบเก็บปลายเท้า ไม่นั่งบนอาสนะเสมอพระสงฆ์ เช่น นั่งบนพรมหรือเสื่อผืนเดียวกัน หรือนั่งเก้าอี้เสมอพระสงฆ์ เป็นต้น
            . ข้อปฏิบัติขณะสนทนากับพระสงฆ์ : ถ้าพระสงฆ์รูปนั้นเป็นพระเถระผู้ใหญ่ควรประนมมือพูดกับท่านทุกครั้งที่กราบเรียนท่านและรับคำพูดของท่าน ขณะสนทนาอยู่ไม่ควรพูดเรื่องที่ไม่เหมาะแก่สมณะสารูป สุภาพสตรีไม่ควรสนทนากับพระภิกษุสองต่อสองทั้งภายในและภายนอกห้อง หรือในที่ลับหูลับตาเพราะผิดพระวินัยบัญญัติ
การแสดงความเคารพ โดยการ
                        . การประนมมือ มาจากคำว่า อัญชลีกรรม คือ การกระพุ่มมือทั้งสองประนม โดยใช้ฝ่ามือทั้งสองประกบกัน ใช้แสดงความเคารพพระรัตนตรัยในเวลาฟังพระเจริญพระพุทธมนต์ ฟังพระสวดพระอภิธรรม และฟังพระธรรมเทศนา เป็นต้น
                        . การไหว้ มาจากคำว่า นมัสการ คือ การยกกระพุ่มมือที่ประนมขึ้นจรดหน้าผากพร้อมกับก้มศีรษะเล็กน้อย เป็นกิริยาอาการแสดงความเคารพอย่างอ่อนน้อม โดยมีหลักปฏิบัติดังนี้
                        .  การไหว้พระรัตนตรัย คือการไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในขณะที่ผู้นั้นนั่งเก้าอี้ หรือยืนอยู่ นิยมแสดงความเคารพด้วยการไหว้ โดยยกมือประนมขึ้นพร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อย ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก ทำเพียงครั้งเดียวแล้วลดมือลงตามเดิม
                        .๒ การไหว้บุคคล การแสดงความเคารพด้วยการไหว้ซึ่งกันและกันเป็นวัฒนธรรมอันดีงามที่ชาวพุทธได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านานจนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทย โดยการไหว้บุคคลนั้นแบ่งออกเป็น ๓ แบบคือ
                        การไหว้บุคคลผู้มีอายุมากกว่า นิยมยกมือกระพุ่มไหว้ให้ปลายนิ้วจรดระหว่างคิ้ว นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่บนดั้งจมูก ก้มศีรษะและน้อมตัวลงพองาม สายตามองดูท่าน มือไม่แบ การไหว้ศพก็เช่นเดียวกัน
                        การไหว้บุคคลผู้มีอายุเสมอกัน กระพุ่มมือไหว้ให้ปลายนิ้วชี้อยู่ที่ดั้งจมูก นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่กลาง ก้มศีรษะเล็กน้อย สายตามมองดูกันและกันการรับไหว้ผู้มีอายุน้อยกว่า สำหรับผู้ใหญ่รับไหว้ผู้น้อยนั้นกระทำโดยยกกระพุ่มมือขึ้นอยู่ระหว่างอกหรือหน้า ให้ปลายนิ้วชี้อยู่ที่ดั้งจมูก ปลายนิ้วหัวแม่มืออยู่ที่คาง สายตามองดูผู้ไหว้ด้วยความเมตตา
            . การกราบ มาจากคำว่า อภิวาท คือ การหมอบลงกับพื้นพร้อมกับกระพุ่มมือหรือประนมมืออันเป็นกิริยาอาการแสดงความเคารพอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างสูงสุดในบรรดากิริยาอาการแสดงความเคารพทั้งหลาย ทั้งในทางโลกและในทางธรรม โดยมีหลักในการปฏิบัติดังนี้
                        .๑ การกราบพระรัตนตรัย คือการกราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และปูชนียวัตถุ ปูชนียสถานที่เนื่องด้วยพระรัตนตรัย นิยมกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ คือการกราบด้วยการตั้งไว้เฉพาะซึ่งองค์ ๕ คือ หัวเข่า ๒ ฝ่ามือ ๒ และหน้าผาก ๑ ให้จรดลงแนบกับพื้น
                        .๒ กราบบุคคลผู้เป็นที่เคารพ นิยมกราบโดยนั่งพับเพียบ หมอบกราบราบลงกับพื้นโดยไม่แบมือ ๑ ครั้ง
การไหว้
การประนมมือไหว้นั้น ฝ่ามือทั้งสองข้างจะต้องทาบทับกัน ปลายนิ้วทาบสนิทกัน ทำหลังมือให้โป่งออกเล็กน้อย ไม่ต้องมากเป็นดอกบัวตูมและไม่แบนราบเป็นใบไม้นะครับ และในการยกมือขึ้นมาไว้ จะมีด้วยกัน ๓ ระดับขึ้นอยู่กับว่าไหว้ใครคือ
           ๑. ไหว้พระ   ประนมมือขึ้น ก้มศีรษะ จรดหัวแม่มือที่กลาง หว่างคิ้ว นิ้วชี้แตะที่เหนือหน้าผาก ก้มหัวให้หน้าขนานกับพื้น ค้อมหลังพอประมาณ
          ๒. ไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส    เช่นเดียวกับการไหว้พระ    แต่นิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก    นิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว
๓. ไหว้บุคคลทั่วไปและผู้เสมอกัน ประนมมือขึ้น ก้มศีรษะเล็กน้อย หัวแม่มือจรดที่ปลายคาง นิ้วชี้แตะที่จมูก ค้อมหลังพอประมาณ
การกราบพระ แบบ เบญจางคประดิษฐ์
             การกราบพระแบบเบญจางคประดิษฐ์ เป็นการกราบที่แสดงความเคารพอย่างสูงสุด ต่อบุคคลที่ควรเคารพนับถือสูงสุด ซึ่งก็คือพระนั่นเอง เบญจางคประดิษฐ์ แปลว่า ตั้งไว้เฉพาะซึ่งองค์ห้า โดย เบญจ ซึ่งแปลว่า ๕ นั้น หมายถึง อวัยวะทั้ง ๕ อันได้แก่ หน้าผาก มือทั้งสอง และเข่าทั้งสอง โดยอวัยวะที่ว่านั้น เวลากราบจะต้องจรดลงให้ติดกับพื้น ซึ่งท่านี้จะปฏิบัติแตกต่างกันใน หญิง และ ชาย
 สำหรับชายนั้น ให้ปฏิบัติ ดังนี้
ท่าเตรียม ท่าเตรียมของชายนั้น จะเรียกว่า ท่าเทพบุตร
ท่าเทพบุตร นั่ง คุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่งบนส้นเท้า ไม่นั่งบนเท้า แบบนั่งญี่ปุ่นนะครับ มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้งสองข้าง นิ้วมือแนบชิดติดกัน ส้นเท้าไม่แบะออก
จังหวะที่ ๑ อัญชลี     ยกมือขึ้นประนมมือระหว่างอก ปลายนิ้วชิด เบนออกจากตัวพอประมาณไม่กางศอก
จังหวะที่ ๒ วันทา  ยกมือขึ้น นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดกลางหน้าผาก พร้อมกับค้อมศีรษะลง
จังหวะที่ ๓  อภิวาท   ทอดมือลงกราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน ห่างกันเล็กน้อยพอให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือได้ โดยศอกทั้งสองข้างต่อเข่า ขนานไปกับพื้น หลังไม่โก่ง หรือ ก้นไม่โด่งจนเกินงาม
ารกราบจะกราบ ๓ ครั้ง เมื่อครบสามครั้ง ยกมือขึ้นจบ โดยให้นิ้วหัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก แล้วปล่อยมือลง
สำหรับหญิงนั้น ให้ปฏิบัติ ดังนี้
            ท่าเตรียม ท่าเตรียมของหญิงนั้น จะเรียกว่า ท่าเทพธิดา
ท่าเทพธิดา นั่งคุกเข่าปลายเท้าราบ นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้งสองข้าง นิ้วมือแนบชิดติดกัน ปลายเท้าไม่แบะออก
จังหวะที่ ๑: อัญชลี ยกมือขึ้นประนมมือระหว่างอก ปลายนิ้วชิด เบนออกจากตัวพอประมาณไม่กางศอก
จังหวะที่ ๒ : วันทา ยกมือขึ้น นิ้วหัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดกลางหน้าผาก พร้อมกับค้อมศีรษะลง
จังหวะที่ ๓ : อภิวาท ทอดมือลงกราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน ห่างกันเล็กน้อย พอให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือได้ โดยศอกทั้งสองข้างคร่อมเข่าเล็กน้อย
การกราบจะกราบ ๓ ครั้ง เมื่อครบสามครั้ง ยกมือขึ้นจบ โดยให้นิ้วหัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก แล้วปล่อยมือลง
การไหว้พระ
ประนมมือ นิ้วหัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดส่วนบนของหน้าผาก
ชาย   ยืนตรง ค้อมตัวลงต่ำ พร้อมกับประนมมือขึ้นไหว้
หญิง  ยืนตรง ย่อเข่าลงให้ต่ำ โดยถอยเท้าข้างที่ถนัดไปข้างหลัง พร้อมกับประนมมือขึ้นไหว้
การประเคนของแด่พระสงฆ์
ชาย    ใช้ สองมือถือของเดินเข่า เข้าไปในระยะหัตถบาส (ระยะที่มือพระท่านเอื้อมมือถึง) ยกของขึ้นประเคนในลักษณะมือต่อมือได้เลย (คือยกให้ท่านรับได้เลย) เมื่อประเคนเสร็จ จะไหว้หรือกราบก็ได้ แล้วแต่กาลเทศะ เสร็จแล้วถอยออกโดยวิธีเดินเข่า (ถอยออกนะครับ ไม่ใช่กันหลังขวับ แล้วเปิดแน่บ)
หญิง ใช้ สองมือถือของเดินเข่า เข้าไปในเช่นเดียวกับผู้ชาย ยกของขึ้นประเคนโดยวางบนผ้าที่พระสงฆ์ทอดออกมา เมื่อประเคนเสร็จ ปฏิบัติเช่นเดียวกับชาย     
การถวายความเคารพแบบสากล
ชาย ใช้ วิธีถวายคำนับ โดยค้อมลำตัวตั้งแต่ศีรษะถึงเอวลงให้ต่ำพอสมควร (ไม่ต้องก้มลงไปจนมองเห็นเข็มขัดตัวเองนะครับ แบบนั้นไม่สง่า) เสร็จแล้วยืนตัวตรงลักษณะเดิม
หญิง ใช้ วิธีถวายความเคารพด้วยการถอนสายบัว แบบสากลนิยม ยืนตัวตรง หันหน้าไปทางพระองค์ท่าน วาดเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามถนัดไปข้างหลัง พร้อมกับย่อตัวลง ลำตัวตรง หน้าตรง ปล่อยแขนตรงแนบลำตัว สายตาทอดลง เสร็จแล้วยืนตัวตรงลักษณะเดิม
การหมอบกราบ
              ใช้แสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ลงมาถึงพระ บรมวงศ์ในโอกาสเข้าเผ้าฯ ทั้งชายและหญิง ให้นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้า แล้วหมอบลงให้ศอกทั้งสองข้างถึงพื้น คร่อมเข่า ที่อยู่ด้านล่างเพียงเข่าเดียว มือประสาน เรียกว่า   
หมอบเฝ้า เวลากราบให้ประนมมือ ก้มศีรษะลง หน้าผากแตะส่วนบนของมือ ถ้าท่านทรงพระราชทานสิ่งของให้ ให้ยกมือขวาขึ้น  เอางาน ในลักษณะเดียวกับการรับปริญญาบัตร คือยกมือขวาขึ้น ฝ่ามือตั้งฉากกับพื้น กระดกข้อมือขึ้นเล็กน้อย แล้วตวัดมือมาอยู่ในท่าเตรียมรับสิ่งของ โดยทำมือเป็นอุ้งเล็กน้อย เมื่อรบสิ่งของมาแล้ว ให้ประคองสิ่งของนั้นไว้ แล้วกราบอีกครั้งหนึ่ง แล้วกลับมานั่งในท่าหมอบเฝ้า แล้วทรงตัวนั่งในท่าพับเพียบ หรือคลานถอยหลังออกไปจนพ้นที่ประทับ
การทูลเกล้าฯถวายของ
                ของที่จะทูลเกล้าฯถวายนั้น ต้องเป็นของเบา และมีพานรองรับ โดยผู้ถวายใช้มือทั้งสองจับคอพาน ในกรณีของผู้ชาย ให้ถือพานถวายคำนับ เดินเข้าไปห่างจากที่ประทับพอควร ลดพานลง ถวายคำนับ ย่อตัวก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า เข่าซ้ายจรดพื้น แล้วยกพานขึ้นทูลเกล้าฯถวาย เมื่อพระองค์ทรงหยิบของออกจากพานแล้ว ให้ลุกขึ้น ดึงเท้าขวากลับมาชิดเท้าซ้าย ถวายคำนับ แล้วเดินถอยหลังจนพ้นที่ประทับ
สำหรับฝ่ายหญิง ให้ถือพานเช่นเดียวกัน แต่ในการถวายความเคารพ ให้ใช้การถอนสายบัวแบบสากลนิยม นอกนั้นปฏิบัติเหมือนฝ่ายชายทั้งหมด
การกราบผู้ใหญ่     
  ใช้กราบผู้อาวุโส หรือผู้มีพระคุณ ทั้งหญิงและชาย ให้นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้า ทอดมือทั้งสองลงพร้อมกัน ให้แขนค่อมเข่าที่อยู่ด้านล่างเพียงเข่าเดียว มือประนม ค้อมตัวลง หน้าผากแตะส่วนบนของมือ กราบเพียงครั้งเดียว โดยไม่แบมือ เมื่อกราบเสร็จ ประสานมือดันตัวลุกขึ้นนั่งในท่าพับเพียบ
การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส
    ประนมมือไหว้ ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ที่ปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว
     ชาย ยืนตรง ค้อมตัวลงน้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระ พร้อมประนมมือขึ้นไหว้
     หญิง ยืนตรง ถอยเท้าข้างที่ถนัดไปข้างหลัง ย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้พระ พร้อมประนมมือขึ้นไหว้
การไหว้บุคคลทั่วไป
ประนมมือไหว้ ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ที่ปลายคาง ปลายนิ้วชี้จรดปลายจมูก
ชาย ยืนตรง ค้อมตัวลงน้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมประนมมือขึ้นไหว้
หญิง ยืนตรง ถอยเท้าข้างที่ถนัด ไปข้างหลัง ย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมประนมมือขึ้นไหว้
การไหว้ผู้ที่เสมอกัน
ยืนตัวตรง ประนมมือ ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ที่ปลายคาง ปลายนิ้วชี้จรดปลายจมูก ทั้งชายและหญิง การไหว้จะไหว้พร้อม ๆ กัน

ไม่มีความคิดเห็น: