จารุวณฺโณภิกฺขุ

จารุวณฺโณภิกฺขุ
สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

บุญประเพณี

การทำบุญตามกาล
การประกอบพิธีสามีจิกรรม
เป็นธรรมเนียมของพระภิกษุสามเณรพึงทำความเคารพต่อกันเพื่อความสามัคคีแห่งหมู่สงฆ์  หมายถึงการแสดงความเคารพ  การขอขมาโทษ  และการให้อภัยซึ่งกันและกันทำได้ในโอกาสต่าง ๆ  คือ  ในวันเข้าพรรษา,ในวันก่อนและหลังเข้าพรรษา    วัน  และในโอกาสที่จะเดินทางไปอยู่อยู่พรรษาทีวัดอื่น  ซึ่งนิยมทำกันมีอยู่    แบบ  ดังนี้
          ๑.  แบบขอขมาโทษ
เป็นหน้าที่ของภิกษุสามเณรทุกรูปในวัดนั้น ๆ จะต้องทำตามวินัยนิยมควรทำร่วมกันทั้งวัดให้เสร็จภายในพระอุโบสถในวันเข้าพรรษา ทำเรียงตามลำดับอาวุโส     มีระเบียบพึงปฏิบัติดังนี้
๑)  ผู้รับขมาโทษ นั่งพับเพียบหันหน้ามาทางผู้ขอขมา เมื่อผู้ขอขมากราบเริ่มประนมมือรับ   
๒)  ผู้ขอขมาโทษคุกเข่ากราบสามครั้ง เฉพาะรูปที่เป็นพระสังฆาเถระและเจ้าอาวาส
  ๓)  กราบแล้วยกพานเครื่องสักการะขึ้นประคองแค่อกน้อมกายลงเล็กน้อย กล่าวคำขอขมา
  ๔)  เมื่อผู้รับขมากล่าวคำอภัยโทษตามแบบแล้ว ผู้ขอขมาทั้งหมดรับคำให้อภัยตามแบบพร้อมกัน ด้วยอาการยกพานเครื่องสักการะขึ้นในท่าจบเล็กน้อย
 ๕)  เสร็จจากรูปหนึ่งแล้วทำกับอีกรูปหนึ่ง ต่อเนื่องกันไปจนถึงสามเณรรูปสุดท้ายเป็นอันเสร็จพิธี
๒.  แบบถวายสักการะ
๑)  จัดเตรียมเครื่องสักการะให้พร้อม
๒)  แบบนี้ทำได้ทั้งผู้อาวุโสกว่าหรืออ่อนกว่าตน
          ๓)  ครองผ้าให้เรียบร้อยประครองเครื่องสักการะเข้าไปประเคน
ความเป็นมาการประกอบพิธีสามีจิกรรม
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาสยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรมสามีจิกรรม การอาสนะมาให้การนำที่นอนมาให้การนำน้ำล้างเท้ามาให้การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังเมื่ออาบน้ำของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้ง
หลายผู้อยู่ปริวาส จึงได้ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม
จุดประสงค์/เป้าหมาย
๑)   เพื่อเปิดโอกาสให้พระผู้น้อยได้คารวะพระเถระผู้ใหญ่
๒)  เพื่อเป็นการขอขมาโทษต่อกันและกัน
๓)  เพื่อความสามัคคีในคณะสงฆ์
๔)  สร้างความสัมพันธ์ไมตรีดีต่อกัน
ลำดับขั้นตอนพิธีสามีจิกรรม
จัดเตรียม  ดอกไม้กระทงหรือดอกบัวหนึ่งดอก และวางธูปสามดอกเทียนหนึ่งเล่ม
แล้วพึงปฏิบัติดังนี้
                ๑)  เข้าไปนั่งยังที่ที่จัดเตรียมไว้ พร้อมแล้วเจ้าอาวาสจะมานั่งรับอยู่ข้างหน้า
                ๒)  คุกเข่าขึ้นพร้อมกันกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ สามครั้ง
                ๓)  ใช้สองมือยกเครื่องสักการะถือประคองแค่อก น้อมตัวลงเล็กน้อย แล้วกล่าวคำขอนิสัยต่ออาจารย์ตามแบบในพระวินัย
                ๔)  กล่าวคำปฏิญาณท้ายคำขอนิสัยจบแล้ว พึงประเคนเครื่องสักการะต่ออาจารย์ แล้วถอยกลับมาคุกเข่าอยู่ที่เดิม แล้วกราบอาจารย์สามครั้ง แล้วนั่งพับเพียบประนมมือ ฟังโอวาทของอาจารย์ จบโอวาทแล้วเป็นอันเสร็จพิธี


ไม่มีความคิดเห็น: