จารุวณฺโณภิกฺขุ

จารุวณฺโณภิกฺขุ
สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บำเพ็ญกุศล 2554

อานิสงส์การทำความสะอาดวัด
               การมาวัดช่วยกันทำความสะอาดเสนาสนะ จะได้อานิสงส์คือ ต่อไปผิวพรรณวรรณะจะผ่องใส สวยงาม พวกกระ จุดด่างดำ  ไฝฝ้า หรืออะไรต่าง ๆ ไม่มีสิทธิ์ขึ้นเลยเมื่อจะไปอยู่ที่แห่งหนตำบลใดจะเจอแต่ที่ที่น่ารื่นรมย์สวยงาม ทำให้สบายใจ ทั้งที่ในมนุษย์โลก และที่ในเทวโลก



ขั้นตอนการทำความสะอาด
1. มอบหมายความเป็นเจ้าของพื้นที่
ก่อนที่จะเริ่มต้นทำความสะอาด สิ่งที่สำคัญอันดับแรกก็คือการแบ่งความรับผิดชอบในการทำความสะอาดให้ชัดเจน พื้นที่ต่าง ๆ จะต้องมีผู้รับผิดชอบหากการแบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบคลุมเครืออาจทำให้ไม่มีผู้ใดเข้าไปทำความสะอาดได้


2. ศึกษาวิธีการใช้งานอุปกรณ์
ในการทำความสะอาดอุปกรณ์ผู้ทำความสะอาดจะต้องรู้และเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดของอุปกรณ์เป็นอย่างดี เนื่องจากอุปกรณ์บางประเภทอาจมีกลไกหรือมีชิ้นส่วนที่เป็นอีเล็กทรอนิกส์อยู่หากทำความสะอาดโดยไม่มีความรู้ในสิ่งที่กล่าวมา อาจทำให้เกิดความเสียหายได้


3. กำหนดเวลาทำความสะอาด
ควรกำหนดเวลาในการทำความสะอาดให้เหมาะสมกับองค์กร เนื่องจากสภาพการทำงานของแต่ละองค์กรแตกต่างกัน การกำหนดเวลาทำความสะอาดไม่เหมาะสมอาจทำให้บุคลากรรู้สึกว่าการทำความสะอาดเป็นภาระ และกระทบต่องานปกติที่ทำอยู่ ซึ่งจะทำให้รู้สึกต่อต้านการทำความสะอาดได้ การกำหนดเวลาในการทำความสะอาดส่วนใหญ่มีหลายแบบ ดังนี้
http://www.edu.nu.ac.th/5seiri/picture/images/arrow_right.gif ก่อนและหลังการใช้งาน
http://www.edu.nu.ac.th/5seiri/picture/images/arrow_right.gif ก่อนทำงานและหลังเลิกงาน
http://www.edu.nu.ac.th/5seiri/picture/images/arrow_right.gif 5 นาที 5
http://www.edu.nu.ac.th/5seiri/picture/images/arrow_right.gif ชั่วโมง 5ส ประจำวัน ประจำสัปดาห์ ประจำเดือน
http://www.edu.nu.ac.th/5seiri/picture/images/arrow_right.gif วัน 5ส ประจำสัปดาห์ เช่น ศุกร์ 5
http://www.edu.nu.ac.th/5seiri/picture/images/arrow_right.gif วันทำความสะอาดใหญ่ประจำปี
การกำหนดวันทำความสะอาดใหญ่ประจำปี จุดมุ่งหมายให้พนักงานได้ทำความสะอาดในส่วนที่เวลาปกติ ไม่สามารถทำความสะอาด ได้และอาจต้องใช้เวลามาก คณะกรรมการ 5ส จะต้องสื่อสารให้บุคลากรเข้าใจวัตถุประสงค์ ของการทำความสะอาดใหญ่ประจำปี ไม่เช่นนั้น บุคลากรอาจจะคิดไปว่าการทำความสะอาดจะต้องทำแค่ในวันทำความ สะอาดใหญ่เท่านั้น


4. กำหนดรายละเอียดของการทำความสะอาด
ในการทำความสะอาด ไม่ควรปล่อยให้บุคลากรทำกันเองโดยไม่มีการแนะนำเนื่องจากบุคลากรอาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์และ ทำให้ อุปกรณ์ เสียหายได้ จุดต่าง ๆ ที่ต้องทำความสะอาดจะต้องระบุไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้บุคลากรทำความสะอาดได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง


5. ใช้อุปกรณ์และวิธีการทำความสะอาดที่ถูกต้อง 
หัวหน้างาน หรือหัวหน้าพื้นที่ จะต้องสอนให้บุคลากรใช้อุปกรณ์ในการทำความสะอาดอย่างถูกต้อง เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้มีความ แตกต่างกัน ทั้งโครงสร้างกลไก ระบบไฟฟ้า บุคลากรจะต้องทราบสิ่งเหล่านี้เพื่อจะได้ทำความสะอาดได้อย่างถูกต้อง ระมัดระวังไม่ให้ถูกน้ำ เพราะอาจจะทำให้เกิดการช๊อตได้ หรือการห้ามใช้น้ำยาทำความสะอาดในบริเวณที่ใช้ไม่ได้ เช่น ห้ามใช้ทินเนอร์ลบกระดานไวท์บอร์ด เป็นต้น


6. ทำความสะอาดทุกวันจนเป็นนิสัย 
หากบุคลากรทำความสะอาดอยู่ทุกวัน แม้ว่าในช่วงเริ่มต้นอาจทำเพราะได้รับคำสั่งจากหัวหน้างาน แต่หากมีการทำความสะอาด อยู่ทุกวันแล้ว บุคลากรก็จะเคยชินกับการทำความสะอาด จนในที่สุดบุคลากรก็จะทำความสะอาดาจนเป็นนิสัย


สิ่งที่จะได้รับจากการทำ (ส) สะอาด มีดังนี้
http://www.edu.nu.ac.th/5seiri/picture/images/arrow_right.gif ทำให้สภาพแวดล้อมในการทำงานดี บรรยากาศในการทำงานดี บุคลากรมีความกระตือรือร้นในการทำงานมากขึ้น
http://www.edu.nu.ac.th/5seiri/picture/images/arrow_right.gif หากเริ่มมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ก็จะสามารถทราบได้อย่างรวดเร็ว
http://www.edu.nu.ac.th/5seiri/picture/images/arrow_right.gif อายุการใช้งานของครุภัณฑ์ยาวนานขึ้น เนื่องจากเมื่อพบสิ่งผิดปกติเพียงเล็กน้อย จะแก้ไขได้ก่อนที่จะลุกลามบานปลาย
http://www.edu.nu.ac.th/5seiri/picture/images/arrow_right.gif ประสิทธิภาพของครุภัณฑ์ดีขึ้น
http://www.edu.nu.ac.th/5seiri/picture/images/arrow_right.gif บุคลากรรู้สึกเป็นเจ้าของหน่วยงาน
http://www.edu.nu.ac.th/5seiri/picture/images/arrow_right.gif ผู้มารับบริการที่มาเยี่ยมชม มีความเชื่อถือต่อองค์กรเพิ่มมากขึ้น



หัวใจของ ส สะอาด
การทำความสะอาดเป็นการตรวจสอบ

หัวใจของ ส สะอาด
การทำความสะอาดเป็นการตรวจสอบ





































ไม่มีความคิดเห็น: