จารุวณฺโณภิกฺขุ

จารุวณฺโณภิกฺขุ
สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความเป็นมาของมงคลสูตร

ที่มาของมงคล ๓๘ ประการ
        สังคมเรานี้มีโรคประหลาดอยู่ชนิดหนึ่ง คือ โรคฮือ สงบเป็นพัก ๆ แล้วก็กำเริบเป็นคราว ๆ   ประเดี๋ยวฮือผู้วิเศษพอมีข่าวอาจารย์ท่านโน้นท่านนี้ให้หวยเบอร์แม่น ก็แตกตื่นเป็นกระต่ายตื่นตูมฮือกันไปหา พอคนฮือไปทางไหน ก็มีผู้แสดงตัวว่าเป็นคณาจารย์ในทางนั้นมากมาย    ย้อนหลังไป   ๒๖   ศตวรรษ ประชาชนชาวชมพูทวีปก็มีโรคอย่างนี้เหมือนกันคือ   โรคฮือ    คนสมัยนั้นตื่นตัวในการค้นคว้าปัญหาเกี่ยวกับชีวิตจิตใจ เช่น คนเราเกิดมาจากไหน ตายแล้วจะไปไหน   ทำอย่างไรจึงจะมีความสุขในชีวิต   ทำอย่างไรจึงจะมีความสำเร็จในการทำงาน ฯลฯ  มีการชุมนุมกันตามสวนสาธารณะบ้าง ประตูเมืองบ้าง จัตุรัสต่างๆบ้าง   เพื่ออภิปรายในปัญหาเหล่านี้อย่างกว้างขวาง
            เมื่อมีผู้อภิปรายมากเข้า หลายคนก็หลายความคิด และต่างก็โฆษณาเผยแผ่ความคิดของตัว ใครมีคนเชื่อตามมากก็กลายเป็นอาจารย์  มีลูกศิษย์กันคนละมาก ๆ ขณะที่การชุมนุมสาธารณะกำลังเฟื่อง การอภิปรายกำลังเป็นไปอย่างครึกครื้น ปัญหาต่างๆ ได้ถูกฟาดฟันด้วยวาทะคมคายเรื่องแล้วเรื่องเล่า
 โดยไม่มีใครคาดฝัน   ได้มีผู้เสนอญัตติสำคัญเข้าสู่วงอภิปรายว่า
"อะไรคือมงคลของชีวิต"   ดูรูปปัญหาแล้ว ก็ไม่น่าจะหนักหนาอะไร  แต่เมื่อมีผู้เสนอตัวขึ้นกล่าวแก้ กลับถูกผู้อื่นกล่าววาทะหักล้างอย่างไม่เป็นท่า
        "ท่านทั้งหลาย โปรดฟังทางนี้ ข้าพเจ้าทราบดีว่าอะไรเป็นมงคล"
นักอภิปรายผู้หนึ่งนามว่า ทิฏฐมังคลิกะ เสนอตัวขึ้นในชุมนุม
            "รูปที่ตาเห็นนี้แหละเป็นมงคล ลองสังเกตดูซิ  เมื่อเราตื่นแต่เช้าตรู่ได้เห็นนกบินเป็นฝูง ๆ พระอาทิตย์ขึ้น ต้นไม้เขียว ๆ เด็กเล็ก ๆน่ารัก สิ่งที่เราเห็นนี้แหละเป็นมงคล"
 พอ  ทิฏฐมังคลิกะ  กล่าวจบลง นักอภิปรายอีกคนหนึ่งชื่อ สุตมัคลิกะ ก็กล่าวหักล้างทันทีว่า "ช้าก่อน  ท่านทั้งหลายอย่าเพิ่งเชื่อ ที่นาย ทิฏฐมังคลิกะ กล่าวนั้นเป็นไปไม่ได้ ถ้าสิ่งที่ตาเห็นเป็นมงคลแล้ว เวลาเรามองเห็นอุจจาระ ปัสสาวะ คนเป็นโรค สิ่งเหล่านี้ก็ต้องเป็นมงคลด้วยซิ  มันจะเป็นไปได้อย่างไร
 "ต้องหูซิท่าน เสียงที่หูฟังนี่แหละเป็นมงคล  ตื่นเช้าเราก็ได้ฟังเสียงนกร้องบ้าง เสียงเพลงบ้าง  เสียงแม่หนอกล้อเล่นกับลูกบ้าง เสียงพูดเพราะ ๆบ้าง เสียงลมพัดยอดไม้บ้าง ฯลฯ นี่ต้องเสียงที่หูได้ฟังจึงเป็นมงคล"
   นายสุตมังคลิกะกล่าวไม่ทันขาดคำ ก็มีนักอภิปรายอีกคนหนึ่งชื่อ  มุตมัคลิกะกล่าวแย้งทันทีว่า  "เป็นไปไม่ได้หรอก ถ้าเสียงที่หูได้ยินเป็นมงคล อย่างนั้น เวลาเราได้ยินคนด่ากัน คนขู่ตะคอก คนโกหกมดเท็จ เสียงเหล่านี้จะเป็นมงคลด้วยหรือ
             "ต้องอารมณ์ที่ใจเราทราบซิท่านจึงจะเป็นมงคล พึงสังเกตว่า ตื่นเช้าเราได้ดมกลิ่นดอกไม้หอม ๆ จับต้องสวมใส่เสื้อผ้าสะอาด ๆรับประทานอาหารอร่อย ๆ นี่ต้องอารมณ์ที่ใจเรารับรู้ รับทราบ นี่แหละจึงเป็นมงคล
    ทันควันอีกเหมือนกัน นักอภิปรายอีกคนก็แย้งทันทีว่า "เป็นไปไม่ได้ถ้าอารมณ์ที่ใจเรารับรู้เป็นมงคลแล้ว อย่างนั้นเวลาเราได้กลิ่นเหม็น ๆ จับของสกปรก คิดเรื่องชั่วร้าย อารมณ์ตอนนั้นจะเป็นมงคลไปด้วยหรือ"
         ข้อวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องมงคล ได้แผ่ขยายตัวออกไปกว้างขวางทั่วแคว้น ในบ้าน ในสภา ในสโมสร  ในหมู่คนเดินทาง ฯลฯ ปัญหาเรื่องมงคลได้ถูกนำขึ้นถกเถียงกันอยู่ทั่วไป
 ไม่เฉพาะมนุษย์ แม้พวกเทวดาได้ยินมนุษย์ถกเถียงกันก็นำเรื่องมงคลมาถกเถียงกันบ้าง   ตั้งแต่เทวดารักษามนุษย์ ภุมเทวา อากาศเทวาตลอดจนเทวดาบนสวรรค์ทั้ง ๖ จนถึงชั้นพรหมโลก ต่างก็นำเรื่องมงคลมาถกเถียงกันปัญหามงคลนี้ได้กลายเป็นมงคลโกลาหล  ร่ำลือกันกระฉ่อนไปหมด ทั่วทั้งมนุษย์โลก เทวโลก  พรหมโลก แต่ก็ไม่มีใครชี้ขาดได้ว่าอะไรเป็นมงคลของชีวิต
 แต่มีพรหมอยู่พวกหนึ่ง คือพรหมชั้นสุทธาวาส พวกนี้มนุษย์ได้ปฏิบัติธรรมถึงขั้นพระอนาคามี จึงทราบดีว่าอะไรเป็นมงคล แต่แค่ทราบไม่สามารถพูดอธิบายออกมาได้ได้แต่ป่าวประกาศให้เทวดาทั้งหลายทราบว่าอีก ๑๒ ปี    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะบังเกิดขึ้นในโลกให้คอยถามปัญหามงคลนี้กับพระองค์  เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว คือหนึ่งขณะที่ประทับอยู่ ณ  เชตวันมหาวิหาร ใกล้เมืองสาวัตถี ท้าวสักกเทวราชได้นำหมู่เทวดาเข้าเฝ้าและทูลถามพระองค์ว่า  อะไรคือมงคลของชีวิต
 พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงหลักมงคล ซึ่งมีทั้งหมด ๓๘ ประการ มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ยึดถือวัตถุ แต่ยึดถือการปฏิบัติฝึกฝนตนเอง
                แม้หลักมงคลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง จะประกอบไปด้วยเหตุผลอย่างสมบูรณ์  ไม่มีใครสามารถหักล้างได้ แต่ก็มิได้หมายความว่าคณาจารย์ นักคิด เจ้าลัทธิทั้งหลาย  จะล้มเลิกความคิดเดิม หันมาเชื่อพระองค์ทุกคน  เพราะล้วนแต่หนาแน่นด้วยทิฏฐิกันทั้งนั้น  แม้จะรู้ตัวว่าผิด แต่ยังยืนยันวาทะของตนอยู่ และสานุศิษย์ของแต่ละสำนัก ก็ยังทำการเผยแผ่อยู่อย่างไปไม่หยุดยั้ง ประกอบกับนิสัยของคนเรา  มีความขลาดประจำสันดานอยู่แล้วชอบทำอะไรเผื่อเหนียวไว้ก่อน จึงมีผู้ยอมรับนับถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเกิดเป็นมงคล    สาย พัวพันกันมาจนถึงปัจจุบันคือ
            ๑. มงคลของนักคิด เรียกว่า มงคลมี ยึดถือเอาว่า การมีสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นมงคล ซึ่งแต่ละที่ แต่ละสมัยก็ยึดถือต่าง ๆกันไป ไม่มีอะไรแน่นอนของบางอย่างบางที่ถือเป็นมงคล บางที่อาจถือว่าเป็นอัปมงคลก็ได้
            ๒. มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกว่า มงคลทำ  ยึดถือเอาการปฏิบัติฝึกฝนตนเองเป็นเกณฑ์ เป็นสัจธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ใดปฏิบัติตามแล้ว ย่อมได้ผลแน่นอนมงคลของนักคิดนั้น มีผู้เสนอขึ้นมาแล้ว  ก็มีผู้โต้แย้งลบล้างไป แล้วก็มีผู้เสนอขึ้นมาใหม่อยู่เรื่อย  ๆ จนหาข้อยุติไม่ได้
        แต่มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เมื่อทรงแสดงแล้ว ก็ไม่มีใครสามารถหาเหตุผลลบล้างได้ แม้พระองค์จะทรงเปิดโอกาสให้คัดค้าน วิพากษ์วิจารณ์ ได้ตลอดเวลาดังความในบทสรรเสริญพระธรรมคุณที่ว่า "เอหิปัสสิโก

ไม่มีความคิดเห็น: