จารุวณฺโณภิกฺขุ

จารุวณฺโณภิกฺขุ
สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

จริยวัตร



คำแนะนำเกี่ยวกับอาจาระของพระภิกษุสามเณร
  1. อย่าสะพายย่ามขึ้นบ่า
  2. อย่าแบกร่ม
  3. อย่าเลิกชายจีวรพาดไหล่
  4. อย่าคาบบุหรี่หรือเดินสูบบุหรี่ตามถนน หรือในที่สาธารณะ
  5. ออกนอกกุฎีหรือคณะ/นอกเขตวัด/ให้ห่มจีวร แม้มีอังสะก็ไม่ควร
  6. การนุ่งห่มมิใช่เพื่อความสวยงาม ควรระมัดระวัง อย่าให้สกปรก
  7. ไปในงานพิธีควรใช้สบง/จีวรสีเดียวกัน หรือใช้สีที่ใกล้เคียงกันที่สุด
  8. เวลานุ่งห่มในวัดหรือนอกวัด ควรหาที่กำบัง ไม่ควรนุ่งห่มในที่เปิดเผย
  9. ถึงวันโกนถ้าจะไปในงานพิธีตอนเช้าไม่ควรโกนศีรษะเพื่อความพร้อมเพรียง
  10. เวลาไปในที่ประชุมหรือไปงานพิธีควรไปถึงสถานที่ก่อนพระเถระผู้ใหญ่
  11. เวลาไปในงานพิธี ไม่ควรเดินไปถึงอาสนะแล้วนั่งเลยที่เดียว
  12. เมื่อไปในงานพิธีถึงอาสนะ ควรคุกเข่าหน้าอาสนะแล้วเดินเข่าเข้าไปนั่ง
  13. ในงานพิธีถ้างานไหนปูผ้าขาว ก็ไม่ควรเหยียบควรเดินเข่าถึงแล้วจึงนั่ง
  14. ในงานพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ให้วางพัดข้างขวา วางย่ามข้างซ้ายเราเสมอ
  15. เมื่อไปในงานพิธีควรมีผ้ากราบติดย่ามไปด้วยทุกครั้งเพื่อรับประเคน /หญิง
  16. การจับพัดในงานพิธีทั่วไปควรจับด้วยมือขวา ถ้าชักผ้าบังสุกุลใช้มือซ้าย
  17. การจับพัดไม่ควรให้โย้หน้าโย้หลัง ต้องตั้งพัดให้ตรงเสมอ และตั้งถูกทาง
  18. การถือพัดต้องถือในท่าที่สำรวม อย่าถือต่ำหรือแกว่งไปมาไม่ควร
  19. ไม่ควรเข้าไปนั่งเบียดเสียดพระเถระผู้ใหญ่ หรือใกล้จนเกินไป
  20. ไม่ควรนั่งเสมอแถวเดียวกับพระเถระผู้ใหญ่ถ้าแถวเดียวกันควรนั่งทางซ้าย
  21. ไม่ควรพูดข้ามศีรษะพระเถระผู้ใหญ่ ในเมื่อพระเถระนั่งอยู่ตรงกลาง
  22. ไม่ควรพูดทะลุกลางปล้อง คือผู้ใหญ่พูดยังไม่จบ แล้วพูดแทรกขึ้น
  23. ไม่ควรพูดคัดค้านผู้ใหญ่ตรง ๆ โดยอาการลักษณะไม่เคารพพระเถระผู้ใหญ่
  24. การเดินสวนทางพระเถระควรเดินหลีกทางขวา หรือควรหยุดยืนสงบนิ่ง
  25. เดินตามพระเถระผู้ใหญ่ไม่ควรเดินใกล้นัก ห่างนัก ควรเดินอยู่ทางซ้าย
  26. ไม่ควรเดินแซงหน้าพระเถระผู้ใหญ่ หรือเดินนำหน้าพระเถระผู้ใหญ่
  27. ถ้าเราเดินอยู่ รู้ว่าผู้ใหญ่เดินมา ควรหยุดหลีกให้ท่านเดินผ่านไปก่อน
  28. ผู้ถือคัมภีร์พระธรรม ควรถือออกหน้าพระผู้เทศน์เสมอ เพื่อความเคารพ
  29. ไม่ควรแบกคัมภีร์โดยอาการไม่สำรวม หรืออาการไม่เคารพในพระธรรม
  30. การนั่งพาหนะกับผู้ใหญ่ ถ้ารถควรนั่งข้างหน้า/ถ้าเป็นเรือควรนั่งข้างหลัง
  31. ถ้าจำเป็นต้องนั่งเคียงกับพระเถระผู้ใหญ่ควรนั่งข้างซ้ายและควรไหว้ก่อนนั่ง
  32. ผู้ใหญ่ไม่กั้นร่ม เราไม่ควรกั้นร่ม ผู้ใหญ่ไม่สวมรองเท้า เราก็ไม่ควรสวม
  33. ไม่ควรนั่งโดยอาการไม่เคารพ เช่น นั่งสมาธิ หรือนั่งชันเข่าเมื่อพูดกับผู้ใหญ่
  34. อยู่ในบ้าน หรือมิใช่วัดไม่ควรกราบไหว้ เพียงแต่ทำความสำรวมต่อผู้เคารพ
  35. ผู้ใหญ่นั่ง ถ้าจะเปิด ปิดหน้าต่าง หรือหยิบของที่สูง ควรยกมือไหว้ก่อน
  36. ไม่ควรยืนฉันอาหาร หรือดื่มน้ำ เป็นต้น ควรนั่งก่อนแล้วจึงดื่ม หรือฉัน
  37. เวลาฉันอาหารควรห่มผ้า และควรนั่งฉันให้เรียบร้อยทุก ๆ ครั้ง
  38. อย่านุ่งผ้าเหน็บกระเตียว หรือนั่งผ้าแบบลอยชาย เป็นอาจาระไม่ควร
  39. อย่าเอาผ้าอาบ อังสะ จีวร คล้องคอ หรือพาดไหล่เดินไปมา ไม่ควร
  40. อย่าเอาผ้าอาบน้ำพันเอว อันเป็นกิริยาไม่ควรแก่สมณะสารูป
  41. เวลาเข้าในที่ประชุม หรือต่อหน้าผู้ใหญ่ญาติโยม อย่านั่งท้าวแขน
  42. เวลาจะเปลี่ยนถ้าพับเพียบ ควรคุกเข่าปล่อยเท้าทั้งสองไปข้างหลัง
  43. อย่าเล่นหรือออกกำลังกายแบบคฤหัสถ์ เช่น หมากรุก ไพ่ เตะตะกร้อ
  44. ถ้าจำเป็นต้องออกกำลังกายควรหาวิธีอันควรแก่สมณะสารูป
  45. อย่าสวมเครื่องนุ่งห่มของคฤหัสถ์ เช่น เสื้อ ผ้า กางเกง เป็นต้นไม่ควร
  46. อย่าใช้เครื่องประดับอย่างคฤหัสถ์ เช่น นาฬิกาข้อมือ หมวก เป็นต้น
  47. เวลาเข้า - ออก ห้องประชุมควรยกมือไหว้ก่อนเข้าออกทุกครั้ง
  48. เวลาเข้าหรือเลิกประชุม ไม่ควรแย่งกันเข้าหรือออกควรให้ผู้ใหญ่ออกก่อน
  49. เวลาลุกจากอาสนะ ควรให้ประธาน หรือหัวหน้าลุกก่อน/ออกตามลำดับ
  50. ดอกไม้ธูปเทียนที่ทายกทายิกาถวายไม่ควรทิ้งขว้าง/หรือวางในที่ไม่ควร
  51. อย่าทิ้งเศษกระดาษ หรือสิ่งของลงหน้าต่างในบริเวณวัด/ในที่สาธารณะ
  52. อย่าส่งเสียงดัง /หรือเปิดวิทยุเสียงดังจนผู้อยู่ใกล้เคียงเกิดความรำคราญ
  53. ช่วยดูแลรักษาความสะอาด ภายในกุฎี และในบริเวณวัด อย่าดูดาย
  54. ไม่ควรเข้าไปในสถานที่อโคจร เช่น ร้านสุรา เป็นต้น
  55. ไปในงานพิธีไม่ควรนำตำราไปท่องหรืออ่านเล่น เป็นกิริยาไม่งาม
  56. เวลาฉันอาหารบิณฑบาต ต้องรอให้อิ่มหมดทุกรูปก่อนจึงอนุโมทนา
  57. ให้ช่วยสอดส่องปฏิบัติผู้ปกครองของตน ตลอดถึงผู้ที่มาพักอาศัย
  58. ไปลา มาบอก โดยวาจา หรือด้วยลายลักษณ์อักษรเป็นคุณสมบัติของผู้ดี
  59. อย่าสะพายกล้องถ่ายรูป ในที่สาธารณะ เป็นกิริยาไม่ควร
  60. อย่ารับหน้าที่เป็นมัคคุเทศน์พาคฤหัสถ์ต่างชาติออกนำเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ
  61. ไม่ควรพูดคุยกันในเวลาฉันภัตตาหาร/หรือฉันให้มีเสียงดังเป็นกิริยาไม่ควร
  62. ไม่ควรพูดคุยกันในเวลาออกรับบิณฑบาต เป็นกิริยาไม่ควร
  63. ไม่ควรเดินพูดโทรศัพท์ตามถนนหรือในที่สาธารณะไม่ควรแก่สมณะสารูป
    สมภารเก่ง
1.  สมภารต้อง เก่งปฏิบัติ
2.  สมภารต้อง เก่งปฏิปทา
3.  สมภารต้อง เก่งปฏิรูป
4.  สมภารต้อง เก่งปฏิวัติ /ปฏิวัติคน
5.  สมภารต้อง เก่งปฏิสันถาร
6.  สมภารต้อง เก่งปฏิคม
7.  สมภารต้อง เก่งปฏิสังขรณ์
8.  สมภารต้อง เก่งปฏิภาณ
9.  สมภารต้อง เก่งปฏิการ
10.สมภารต้อง เก่งปฏิทิน /จำได้แม่นยำ

นโยบายของวัด

การส่งเสริมการศึกษา   ศึกษา นักธรรม  - ธรรมศึกษา

ศึกษา พระอภิธรรม  ศึกษา เปรียญธรรม  ศึกษาสายสามัญศึกษา  ศึกษา พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์  ศึกษา ยาสมุนไพร

การส่งเสริมการปฏิบัติ
ส่งเสริม การฝึกนักเผยแผ่ เพื่อออกทำงานด้านการเผยแผ่ธรรมะ
ส่งเสริมออกจัดกิจกรรมเผยแผ่ ในรูปแบบต่าง ๆ นอกสถานที่

หลักของการเป็นโฆษก/พิธีกร

การเป็นโฆษก

1.  ฉลาดเลือกใช้คำพูดที่เหมาะสม
2.  พูดให้กะทัดลัดตรงประเด็นไม่อ้อมค้อม
3.  พูดให้ตรงกับงาน รู้จุดประสงค์ของงานนั้น ๆ
4.  งานนี้เป็นงานอะไรใครจัดเริ่มต้น /สุดท้ายเมื่อใดมีจุดประสงค์อะไร
5.  คิดก่อนที่พูดเสมอ
6.  พูดแทนเจ้าของงาน รู้จุดประสงค์ของงานนั้น ๆ
7.  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สง่าผ่าเผย
8.  รู้จังหวะของเสียง ไม่พูดเสียงเบา หรือดังจนเกินไป

การเป็นพิธีกร
การเป็นพิธีกร
1.  ต้องรู้ประวัติและผลงานต่าง ๆ ของวิทยากรนั้น ๆ เป็นอย่างดี
2.  ต้องรู้จักขั้นตอน เวลาไหน ควรทำอย่าไร
3.  กล่าวในนามเจ้าภาพ และกล่าวต้อนรับในนามผู้ฟัง
4.  ต้องระวังสิ่งแวดล้อม มิให้มารบกวนในขณะผู้บรรยาย
5.  ไม่พึงกล่าวคำหยาบโลน ใช้ภาษาสุภาพชน
6.  ต้องพูดภาษาไทยให้ชัดเจน
7.  ถ้าจะใช้คำราชาศัพท์ ต้องใช้ให้ถูกต้อง
8.  ชื่อ นามสกุล ยศ ตำแหน่ง ที่อยู่ของวิทยากรต้องระบุให้ชัดเจน
9.  ต้องระบุให้วิทยากรทราบว่า ใช้เวลาพูดกี่นาที
10.ถ้าเป็นงานศพ ต้องจดจำชื่อผู้ตาย เจ้าภาพ ให้แก่ผู้เป็นวิทยากรด้วย
11.กล่าวยกย่องให้เกียรติวิทยากรและผู้ฟัง

หลักการวิเคราะห์กลุ่มผู้ฟัง
1.  คนที่อยู่ในวัยหนุ่มวัยสาว วัยที่ยังจะต้องทำงานต่อสู้กับชีวิต
2.  คนที่อยู่ในวัยเด็ก วัยเริ่มต้น ที่ยังต้องศึกษาเรียนรู้
3.  บุคคลที่อยู่ในฐานะเป็นผู้นำหมู่ นำคณะในการทำงาน
4.  บุคคลที่อยู่ในฐานะเป็นผู้นำหมู่คณะ หรือผู้นำครอบครัว
5.  บุคคลที่อยู่ในฐานะผู้นำหมู่คณะ คือราชการ
6.  บุคคลที่อยู่ในฐานะเป็นผู้นำหมู่คณะ คือครู อาจารย์
7.  บุคคลที่อยู่ในฐานผู้ตาม คือประชาชน ศิษย์ บุตร ธิดา
8.  กลุ่มผู้สูงอายุ หรือผู้สมาทานศีลอุโบสถ หรือชราภาพแล้ว
9.  คำนึงถึงวัย อาชีพ การศึกษา ฐานะ ท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม
10.นักบวชอาชีพ หรือบวชชั่วคราว
11.กรรกร หรือชาวนา ที่มีอาชีพในการทำงานหนักอยู่ตลอดเวลา
12.เยาวชน ที่ออกบวชชั่วคราว บรรพชา เป็นสามเณร
13.กลุ่มบุคคลที่มีอาชีพคลุกคลีอยู่กับการทำบาป
14.กลุ่มบุคคลที่อาศัยอยู่ในชนบท ที่ห่างไกล และกันดาร
15.ความสนใจของท่านผู้ฟังในเรื่องที่กำลังพูดอยู่
16.ข้าราชการขั้นผู้ใหญ่ที่มาร่วมในงาน
17.พระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่มาร่วมในพิธี
18.บุคคล/ผู้ฟังมีอยู่หลายระดับต่างหน้าที่การงาน
19.เกณฑ์อายุของผู้ฟัง/เวลา/สถานที่/ความเหมาะสม
20.ขั้นตอน/พิธีการ/นำเสนอ/สรุปลงท้าย

ประเด็นวิเคราะห์ในการฝึกพูด

1.  สายตาเหลียวมองดูผู้ฟังได้โดยรอบ
2.  น้ำเสียง เร่งเร้า ชวนติดตามฟัง ของผู้ฟังทั้งหลาย
3.  อากัปกิริยาท่าทาง การใช้มือประกอบการพูดที่น่าติดตามฟัง
4.  การแต่งกาย การปรากฏตัวในที่ประชุม อย่างน่าเลื่อมใส
5.  การลำดับเรื่องราว พูดไปตามลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความหมาย
6.  คุณค่าของเรื่อง เป็นประโยชน์ต่อผู้ฟังสูงสุด
7.  คำซ้ำ ๆ ที่ควรตัดออก แต่พูดมากเกินไป คำเอ้ออ้า ที่ควรตัดออก
8.  การใช้เวลา มากหรือน้อย หรือพูดดี ควรเรียนรู้เรื่องของเวลา
9.  การใช้ไมค์ การปรับระดับของไมค์ ความใกล้ ไกล หรือพอดี
10.การทักทายในที่ประชุม ที่เป็นกันเองเป็นไปตามลำดับของผู้ฟัง
11.การใช้ภาษาไทย ก ค ร ล ป พ การออกเสียง
12.การขึ้นต้น ดำเนินเรื่อง สรุปความ ใช้เวลาพอดี และได้สาระใจความ
13.การใช้อุปกรณ์ประกอบการพูด เล็กหรือใหญ่ ตามความเหมาะสม
14.การควบคุมอารมณ์ และการพัฒนาตนเอง
15.อิริยาบถ การยืน เดิน และนั่ง ที่ถูกต้อง น่าเลื่อมใส
16.การเลือกใช้คำพูด ใช้สำนวน สรรพนามใช้แทนตัวที่ถูกต้อง

เห็นตัวแก่ ดีกว่าเห็นแก่ตัว
จุดยืนของคน
พ่อค้าแม่ค้า คือลูกค้าทั้งหลาย
ครูอาจารย์ คือนักเรียน หรือลูกศิษย์ทั้งหลาย
หมอ พยาบาล ผู้ป่วยทั้งหลาย
นักพูดนักบรรยาย ผู้ฟังทั้งหลาย
นักเขียน ผู้อ่านทั้งหลาย
นักแสดง ผู้ชมทั้งหลาย
ตำรวจ โจรทั้งหลาย
ผู้คุม นักโทษทั้งหลาย
พ่อแม่ ลูกทั้งหลาย
นักบวช พุทธบริษัททั้งหลาย
นายจ้าง ลูกจ้างทั้งหลาย
ผู้แทน ประชาชนทั้งหลาย
เจ้าของรถ ผู้โดยสารทั้งหลาย
นักกีฬา คู่ต่อสู้
คนกวาดขยะ ขยะทั้งหลาย
ผู้สอนธรรม กิเลิสทั้งหลาย
นักพัฒนา ความยากจน ของประชาชน
ตำรวจจราจร กับการจราจรที่ติดขัด

ทำดีดีกว่าขอพร  ปฏิบัติดีดีกว่าคำสอน
เทคนิคการพูดเชิญชวนคนทำบุญ

1.  ถ้าเป็นในวัด เจ้าอาวาสควรพูดเอง
2.  ถ้าเป็นในวัด การบอกบุญนั้นควรบอกจากรับประทานอาหารอิ่มแล้ว
3.  ถ้าคนอยู่ประจำ มีงานหลายวัน การบอกบุญนั้นควรบอกวันละอย่าง
4.  โดยเพียงแต่ อนุโมทนา รายชื่อที่ทำบุญไปแล้วเท่านั้น
5.  เกริ่น ๆ ว่าจะสร้างอะไร กำลังสร้างอะไร และ อะไรราคาเท่าไหร่
6.  อย่าพึงบอก หรือเชิญชวนตรงๆ บอกเพียงว่าอะไรสร้างไปแล้วราคาเท่าใด
และรายจ่ายของวัดนี้ วันละเท่าไร เดือนละเท่าใด
7.  รับปากเข้าว่าจะจารึกรายชื่อผู้ที่มาทำบุญ ต้องจารึกทันที
8.  พึงแต่งกายสุภาพเรียบร้อย เมื่อเชิญชวนคนให้มีจิตศรัทธาที่มาทำบุญ
9.  มีวัตถุมงคล ไว้สมนาคุณ หรือเทปธรรมะแก่ผู้ทำบุญเป็นเนืองนิตย์
10.บอกหรือปรารถนาให้เขาทราบว่า รายจ่ายต่าง ๆ ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ
ค่าเผยแผ่ธรรม รวมแล้วตกเดือนละเท่าใด
11.ถ้ามีงานหลาย ๆ วัน คนอยู่ประจำ การบอกบุญไม่ควรบอกวันแรก
12.เขียนผู้ที่มาร่วมทำบุญไว้ก่อนในกระดานป้าย เพื่อดึงดูดใจเลื่อมใสของผู้อื่น
13.พูดให้เขาเกิดความศรัทธาก่อน ให้ใจเบิกบานก่อนทำบุญ
14จะสร้างอะไร สร้างตรงไหน พาไปดูสิ่งนั้น ๆ ตรงนั้นก่อนจะบอกบุญ

สัตว์มีโลกพึ่งพาอาศัยอยู่ วัดมีครูคือพระธรรมคำสั่งสอน
โลกกับวัดดัดคนพ้นวานร ควรสังวรเข้าวัดฝึกหัดตน
อยู่คนเดียวระวังความคิด อยู่ร่วมมิตรระวังวาจา
อยู่เรือนพัง ยังดี ไม่มีทุกข์
ดีกว่าคุก หลายเท่า ไม่เศร้าหมอง
จนยังดี มีธรรม ค้ำประคอง
ดีกว่าปอง ทุจริต คิดร่ำรวย

สุดอาลัย
โอ้ร่มโพธิ์ร่มไทรของลูกหลาน อยู่มานานได้พำนักพักอาศัย
มาวันนี้พ่อมาพรากจากลูกไป แสนอาลัยมิวายเว้นเป็นทุกข์ตรม
ขาดร่มแก้วไทรทองต้องขืนขม สักกี่วันจึงจะหายคลายระทม
ต้องตรอมตรมพ่อมาหายตายล่วงลับไม่กลับคืน

คำกลอนสอนใจ
เกิดมาเพียร ก่อสร้าง ความดี
แก่เฒ่า กุศลมี เสาะบ้าง
เจ็บป่วย พยาธิ มั่วทั่วกันนา
ตายแต่กาย ชื่อยัง ชั่วฟ้าดินสลาย
อันวัวควาย ตายเล่า เหลือเขาหนัง
คนเราตาย เหลือไว้ แต่ความดี
บรรดามี ประดับไว้ ในโลกา

ตนเตือนตน ของตน ให้พ้นผิด
ตนเตือนจิต ตนได้ ใครจะเหมือน
ตนเตือนตน ไม่ได้ ใครจะเตือน
อย่าแชเชือน เตือนตน ให้พ้นภัย

ค่าน้ำนม
แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวงแม่ฝ้าหวงห่วงแต่หลังเมื่อยังนอนเปล
แม่เราเฝ้าโอละเห่ กล่อมลูกน้อยนอนเปล ไม่ห่างไปเหไปจนไกล
แต่เล็กจนโตโอ้แม่ถนอม แม่ผายผอมย่อมเกิดจากรักลูกปักดวงใจ
เติบโตโอ้เล็กจนใหญ่ นี่ละหนาอะไร มิใช่ใดหนาเพราะค่าน้ำนม
ควรคิดถึงพินิจให้ดี ค่าน้ำนมแม่นี้จะมีอะไรเหมาะสม
โอ้ว่าแม่จ๋า ลูกคิดถึงค่าน้ำนม เลือดในอกผสมกลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกินค่าน้ำนมครวญชวนให้ลูกฝัง แต่เมื่อหลังเปรียบดังผืนฟ้าหนักกว่าแผ่นดิน บวชเรียนพากเพียรจนสิ้น เพียงหยดหนึ่งน้ำนมกิน
ทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย

การไม่คบคนพาล การคบบัณฑิต
ไม่คบคนพาลสันดานชั่ว 
จะพาตัวอัปลักษณ์เสื่อมศักดิ์ศรี 
ถูกตำหนิตอฉินอย่างสิ้นดี
ทั้งเป็นที่ลบหลู่ของหมู่ชน 
คบบัณฑิตไว้เถิดประเสริฐนัก 
ได้รู้จักลู่ทางสร้างกุศล 
รู้ผิดชอบชั่วดีชูศรีตน
เป็นมงคลอุดมสุขทุกคืนวัน 
คบคนพาลพาลพาไปหาผิด
คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล
สุนทรภู่กล่าวไว้ให้ปวงชน
สำนึกตนจะคบใครใฝ่ใจดู
จะคบคนให้ดูหน้าท่านว่าขาน
จะคบพาลจงรู้สึกนึกอดสู
คบบัณฑิตเถิดหนาค่าเชิดชู
พาตนสู่บัณฑิตด้วยช่วยชูวงศ์
แม่ปราศรัยกับคนพาลสันดานชั่ว
ย่อมพาตัวต่ำค่าลงหาเขา
แต่ถ้าคบบัณฑิตพาจิตเบา
ความโง่เขลาสูญหายมลายไป
ผลที่ได้นั้นไซร้ไม่เหมือนกัน
โปรดเลือกสรรดูเถิดเลิศสิ่งไหน
คบกับพาลหรือบัณฑิตคิดในใจ
คงเลือกได้สมจิตบัณฑิตเอย
คบคนพาลไร้ค่าเสื่อมราศรี
เคยทำดีพาลนำให้ทำชั่ว
ก่อนเคยมีศีลธรรมประจำตัว
พอเกือกกลั้วพาลก็ล่อยหรอไป
คบบัณฑิตดีกว่าค่าล้ำเลิศ
ก่อให้เกิดความสุขทุกสมัย
บัณฑิตนำทำดีมีวินัย
จิตผ่องใสใจห่างทางอบาย
อย่าคบพาลท่านว่าจะพาชั่ว
ทำให้ตัวมัวมองตรองให้เห็น
กิจนานาว่าสุขทุกข์ลำเค็ญ
พาลจะเห็นเป็นชอบประกอบการฯ

ไม่มีความคิดเห็น: