จารุวณฺโณภิกฺขุ

จารุวณฺโณภิกฺขุ
สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ฮีต 12 คลอง 14

ประเพณีท้องถิ่น






ประเพณี 12 เดือน ฮิตสิบสองคลองสิบสี่
ประเพณีเดือน 12 เดือน
          1.เดือนเจียง (เดือนอ้าย) นิมนต์สังฆเจ้าเข้ากรรมฯ ชาวบ้านเลี้ยงผีแถน และผีต่างๆ (บรรพบุรุษหรือวีรบุรุษผู้ล่วงลับ) การนิมนต์พระสงฆ์เข้ามาปริวาสกรรม หรือเข้ากรรมนั้น เป็นพิธีกรรมเพื่อให้พระภิกษุผู้กระทำความผิดได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์(มิใช้การล้างบาป) เป็นการฝึกความรู้สึกสำนึกวิจัยความผิดบกพร่องของตัว ซึ่งตรงกันข้ามกับสังคมสมัยนี้มีแต่โพนทนาถึงความชั่วความผิดของผู้อื่นข้าง เดียว
         2. เดือน 2 (เดือนยี่) ทำบุญ "คูนข้าว" มีพระสวดมนต์ฉันข้าวเช้า เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ข้าวเปลือก เมื่อพระฉันเช้าแล้วก็ทำพิธีสู่ขวัญข้าว (ทำขวัญหรือสูตรขวัญข้าว) นอกจากนั้นในเดือนนี้ชาวบ้านจะต้องตระเตรียมสะสมเชื้อเพลิงหาฟืนและถ่านมา ไว้ในบ้าน 2
        3.เดือนสาม มื้อเพ็ง ทำบุญข้าว จี่ และบุญมาฆะบูชา เริ่มพิธีทำบุญข้าวจี่ในตอนเช้า โดยใช้ข้าวเหนียวปั้นหุ้มน้ำอ้อยนำไปปิ้งหรือจี่พอเกรียม แล้วชุบด้วยไข่ ลนไฟจนสุกแล้วใส่ภาชนะไปตั้งไว้ในหัวแจก(ศาลาวัด) นิมนต์พระรับศีลแล้วเอาข้าวจี่ใส่บาตร นำถวายแด่พระสงฆ์พร้อมด้วย อาหารอื่น เมื่อพระฉันเสร็จแล้วมีการแสดงพระธรรมเทศนา ข้าวจี่ที่เหลือจากพระฉันแล้วแบ่งกันรับประทานถือว่าจะมีโชคดี
        4.เดือน สี่ บุญพระเวสฟังเทศมหาชาติ มูลเหตุเนื่องมาจากพระคัมภีร์มาลัยหมื่น และมาลัยแสนว่า ถ้าผู้ใดปรารถนาที่จะได้พบพระศรีอริยะเมตไตย์ หรือ เข้าถึงศาสนาพระพุทธองค์แล้ว จงอย่าฆ่าบิดามารดา สมณพราหมณาจารย์ อย่ยุยงให้พระสงฆ์แตกสามัคคีกัน กับให้อุตส่าห์ฟัง พระธรรมเทศนาเรื่องพระมหาเวสสันดรชาดกให้จบสิ้นภายในวันเดียวเป็นต้น ในงานบุญนี้มักจะมีผู้นำของมาถวายพระซึ่งเรียกว่า "กัณฑ์หลอน " หรือถ้าเจาะจงจะถวายเฉพาะพระนักเทศน์ที่ตนนิมนต์มาก็เรียกว่า "กัณฑ์จอบ" เพราะต้องแอบซุ่มดูให้แน่เสียก่อน
      5. เดือน ห้า ทำบุญขึ้นปีใหม่ไทยหรือตรุษ สงกรานต์สรงน้ำพระพุทธรูป ไปเก็บดอกไม้ป่ามาบูชาพระ ในระหว่างบุญนี้ทุกคนจะหยุดงานธุรกิจประจำวัน โดยเฉพาะ มีวันสำคัญดังนี้
            วันสังขารล่วง  เป็นวันแรกของงานจะนำพระพุทธรูปลงมาทำความสะอาดและตั้งไว้ ณ สถานที่อันสมควรแล้วพากันสรงพระด้วยน้ำหอม
           วันสังขารเน่า เป็นวันที่สองของงาน พากันทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บิดามารดา และญาติที่ล่วงลับไปแล้ว
           วันสังขารขึ้น เป็นวันที่สามของงาน ทำบุญตักบาตรถวายภัตตราหารแด่พระ-เณร แล้วทำการคารวะแก่บิดามารดาและคนแก่ ส่งท้ายด้วยมีพิธีบายศรีสู่ขวัญ แล้วใช้น้ำที่เหลือจากการรดน้ำให้ผู้ใหญ่ นำมารดน้ำให้แก่ผู้มาร่วมงานภายหลังจึงแผลงมาเป็นวิ่งไล่สาดน้ำทาแป้ง กลั่นแกล้งกัน
      6.เดือนหก ทำบุญวันวิสาขบูชา มีการเทศน์ตลอดวันตอนกลางคืนมีการเวียนเทียน ในเดือนนี้มีงานบุญสำคัญอีกคือบุญสัจจะก่อน จะลงมือทำนาซึ่งเป็นงานหนักประจำปี นอกจากนี้ก็จะมีการบวชนาคพร้อมกันไปด้วย ตอนกลางคืนมักจะมีการตีกลองเอาเสียงดังแข่งกันเรียกว่า "กลองเส็ง" บางตำราก็ว่าต้องมีพิธีสรงน้ำพระพุทธรูปฝ่ายเหนือ และฝ่ายใต้ ตลอดจนมีการถือน้ำพระพิพัฒน์ต่อพระพุทธเจ้า ตลอดจนมีการถือน้ำพระพิพัฒน์ต่อพระพุทธเจ้า พระพรมเจ้า พระสงฆเจ้า และต่อแผ่นดิน
      7..  เดือนเจ็ด ทำบุญบูชาเทวดาอารักษ์ หลักเมือง(วีรบุรุษ) ทำการเซ่นสรวงหลักเมือง หลักบ้าน ผีพ่อแม่ ผีปู่ตา ผีเมือง(บรรพบุรุษ) ผี ตาแฮก(เทวดารักษาไร่นา)ทำนองเดียวกับแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีกรรมก่อนจะมีกิจกรรมทำนา สรุปแล้วคือให้รู้จักคุณของผู้มีคุณ และสิ่งที่มีคุณจึงเจริญ
     8. เดือนแปด ทำบุญเข้าพรรษา ทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารเช้าและเพลแก่พระสงฆ์ บ่ายมีการฟังพระธรรมเทศนา กับมีการป่าวร้องให้ชาวบ้านนำขี้ผึ่งมาหล่อเทียนใหญ่น้อย สำหรับจุดไว้ในโบสถ์เป็นพุทธบูชาตลอดฤดูกาลเข้าพรรษา ในเมืองหลวงมีการถวาย "เทียนจำ" แก่อารามสำคัญ
     9. เดือนเก้า ทำบุญข้าวประดับดิน โดยนำข้าวและอาหารคาวหวาน พร้อมทั้งหมากพลูบุหรี่ห่อด้วยใบตองกล้วยแล้วนำไปไว้ตามต้นไม้และพื้นหญ้า เพื่ออุทิศให้แก่บรรดาญาติผู้ล่วงลับไปแล้วโดยกำหนดทำในวันแรมสิบสี่ค่ำเดือนเก้าต่อมาภายหลังนิยมถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์สามเณร แล้วอุทิศให้แก่ผู้ตายด้วยการหยาดน้ำ(ตรวจน้ำ) ทั้งนี้ เกิดจากความเชื่อตามนิทานชาดก และเป็นที่มาของการทำบุญ "แจกข้าว" ด้วย
   10.เดือนสิบ ทำบุญข้าวสากหรือข้าวสลาก(สลากภัตร) ในวันเพ็ญ เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายเช่นเดียวกับบุญข้าวประดับดิน โดยมีเวลาห่างกัน 15 วัน เป็นระยะเวลาที่พวกเปรตจะต้องกลับไปเมืองนรก(ตามนิทานชาดก) โดยผู้ที่จะถวายทานเขียนชื่อของตนไว้ที่ภาชนะ ที่ใส่ของทานไว้ แล้วเขียนชื่อของตนใส่กระดาษอีกนำไปใส่ลงในบาตร เมื่อภิกษุสามเณรรูปใดจับ ได้สลากของผู้ใดก็จะเรียกให้เจ้าของสลากนำเอาของถวาย ครั้นพระเณรฉันแล้วก็ประชุมกันฟังเทศน์ บรรยายนิทานวัตถุและภาษิตต่างๆ ทั้งอานิสงส์สลากภัตรด้วย ชั่ววันกับคืนหนึ่งจึงเลิก
   11.เดือนสิบเอ็ด ทำบุญออกพรรษา หรือสังฆเจ้าออกวัสสาปวารณาฯ มีการตามประทีปโคมไฟเรียกว่าทำบุญจุดประทีป ถ้าไม่ใช้โคมแก้วโคมกระดาษก็มักขูดเปลือกลูกตูมกาให้ใส่ หรือขูดเปลือกลูกฟักทองให้ใสบางใช้น้ำมันมะเยาหรือมะพร้าวมีไส้ลอยอยู่หรือมะพร้าวมีไส้ลอยอยู่มีหูหิ้วแล้วนำไปแขวนไว้ตามต้นไม้เต็มวัด     นอกจากนั้นบางหมู่ก็ทำรั้วลดเลี้ยวไปเรียกว่าคิรีวงกฏ และมีการทำปราสาทผึ้งถวายพระด้วย
   12.เดือนสิบสอง เป็นเดือนส่งท้ายปีเก่าตามคติเดิม มีการทำบุญกองกฐิน ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันแรมหนึ่งค่ำเดือนสิบเอ็ดถึงกลางเดือนสิบส่งแต่ ชาวอิสานครั้งก่อนนิยมเริ่มทำตั้งแต่ข้างขึ้นเดือนสิบสอง จึงมักจะเรียกบุญกฐินว่าเป็นบุญเดือนสิบสอง มีทั้งมหากฐิน(กองใหญ่) และบุญจุลกฐิน(กองเล็ก)ซึ่งทำกันโดยรีบด่วน อัฎฐะบริขารที่จำเป็นต้องทอดเป็นองค์กฐินจะขาดมิได้คือบาตร สังฆาฏิจีวร สะบง มีดโกนหรือมีออตัดเล็บ สายรัดประคตผ้ากรองน้ำ และเข็ม นอกจากนั้นเพียงเป็นองค์ประกอบ
            หลังจากวันเพ็งเดือนสิบสองแล้ว จะถอดกฐินอีกไม่ได้ จึงต้องทำบุญกองบัง(บังสุกุลหรือทอดผ้าป่า) และ ทำบุญกองอัฎฐะ คือการถวายอัฎฐฐะบริขารแปดอย่างแก่พระสงฆ์   บุญเดือนสิบสองที่สำคัญสำหรับชาวชุมชน ที่อยู่ริมแม่น้ำคือการ"ซ่วงเฮือ"(แข่งเรือ)เพื่อบูชาอุชุพญานาค15 ตระกูล รำลึกถึงพระยาฟ้างุ่มที่นำพระไตรปีฎกขึ้นมาแต่เมืองอินทปัดถะนคร(เขมร)
    คลอง 14
 คลอง สิบสี่ คองหรือคลอง ครรลองได้แก่แนวทางหรือกรอบกติกาที่พึงใช้เป็นหลักปฎิบัติ มี 2 ตำราคือ แบบหนึ่ง สำหรับบุคคลธรรมดาประพฤติปฎิบัติเป็นกิจวัตร ในระหว่างครอบครัวผัวเมีย บ้านเรือนหรือต่อพระศาสนา แบบสอง สำหรับท้าวพระยาผู้ครองบ้านเมือง ต้องประพฤติปฎิบัติเป็นกิจวัตรด้วย (ยกตัวอย่างที่ใช้ทั่วคือสำหรับบุคคลธรรมดา)
คลอง 1 เมื่อข้าวกล้าเป็นรวง เป็นหมากแล้ว อย่ากินก่อน ให้นำไปทำบุญ ทำทานแก่ ผู้มีศิลกินก่อน แล้วจึงกินภายหลัง
คลอง 2 ื่อย่าโลภล่าย ตายอย ถอยต่ชั่ง อย่าจ่ายเงินแดง แปลเงินคว้าง และอย่ากล่าวคำอยาบช้ากล้าแข็งต่อกัน
คลอง 3 ให้พร้อมกันเฮ็ดฮั้ว กำแพง รอบวัดและบ้านเรือนแห่งตน แล้วปลูกหอบูชาไว้สี่แจบ้าน และเฮือน
คลอง 4 เมื่อจะขึ้นเฮือน เข้าบ้าน ให้ล้างตีน เช็ดท้าว ก่อนขึ้นเรือน
คลอง 5 เมื่อถึงวันศิล ให้ขอขมาก้อนเส้า แม่คีไฟ หัวขั้นใด และประตู ที่ตนอาศัยอยู่
คลอง 6 เมื่อจะนอนให้เอาน้ำล้างท้าวก่อนนอน
คลอง 7 เมื่อถึงวันศิล ให้เอาดอกไม้ ธูปเทียน ขอขมา ผัวแห่งตน และเมื่อไปวัดให้แต่งดอกไม้ ธูปเทียนถวายพระสังฆะเจ้า
คลอง 8 ถึงวันศิลดับ เพ็ง ให้นิมนต์พระสังฆะเจ้า มาสูตร มุงคุลเฮือน และทำบุญใส่บาตรถวายท่าน
คลอง 9 เมื่อภิกขุมาบินฑบาตรนั้น อย่าให้ ท่านรอนาน เวลาใส่บาตร อย่าถูกบาตร และไม่สวมรองท้าว ไม่เอาผ้าปกหัว ไม่อุ้มหลาน ไม่พกอาวุธ
คลอง 10 เมื่อภิกขุเข้าปริวาสกรรม ชำฮะเบื่องต้นแล้ว ให้แต่งขันดอกไม้ธูปเทียน และเครื่องอัฎบริขารไปถวายท่าน
คลอง 11 เมื่อเห็นพระภิกขุสังฆะเจ้ามา ให้นั้งลงยกมือไหว้ก่อนแล้วจึงค่อยเจรจา
คลอง 12 อย่าเหยียบย่ำเงา พระภิกขุ คนมีศิลบริสุทธิ์
คลอง 13 อย่าเอาอาหารที่ตนกินแล้ว ไปทาน ให้พระสังฆะเจ้าและอย่าเอาไว้ให้ผัวกิน จะกลายเป็นบาป ได้ในชาติหน้ามีแต่แนวบ่อดี
คลอง 14 อย่าเสพเมถุน กามคุณ ในวันศีล วันเข้าพรรษา ออกพรรษา วันสงกรานต์ ถ้าดื้อเฮ็ด ได้ลูกมาจะบอกสอนยาก

ไม่มีความคิดเห็น: